backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 เป็นสัปดาห์ที่ทารกในครรภ์พร้อมออกมาลืมตาดูโลกในวินาทีใดก็ได้ แต่ในบางราย ทารกอาจอยู่ในครรภ์นานกว่านั้นแต่มักไม่เกิน 42 สัปดาห์ คุณหมอจะหาวิธีดูแลครรภ์และบุตรให้ปลอดภัย ทั้งนี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ น้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

[embed-health-tool-bmi]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

ลูกจะเติบโตอย่างไร

สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 นี้ ทารกมักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม ประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

หลังจากรอคอยจะได้เห็นหน้าลูกน้อยมานานหลายสิบสัปดาห์ ทารกในสัปดาห์ที่ 40 นี้อาจคลอดได้ทุกเมื่อ มีผู้หญิงเพียง 5% เท่านั้นที่คลอดในช่วงที่ประมาณการณ์เอาไว้ และหากเป็นท้องแรก ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่อาจต้องรออีกประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่านพ้นวันครบกำหนดคลอดไปแล้ว ลูกน้อยจึงจะลืมตาดูโลก

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มักจะมีศีรษะแหลม หรือดูผิดรูปทรง ไม่ได้กลมสวยอย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องการ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม ส่วนปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด เช่น สีผิวดูไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้งเป็นหย่อม ๆ มีผื่น ก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ

เนื่องจากมีฮอร์โมนเกิดขึ้นในร่างกายทารกแล้ว อวัยวะเพศของลูกน้อย ได้แก่ ถุงอัณฑะในเด็กผู้ชาย และแคมในเด็กผู้หญิงจึงมีขนาดใหญ่ขึ้น ลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง อาจมีน้ำนมไหลออกมาจากหัวนมของพวกเขาได้ แต่จะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 วันเท่านั้น และถือเป็นอาการปกติ ไม่ใช่ปัญหาสุขภาพแต่อย่างใด

แพทย์จะทำการดูดเมือกออกจากปากและจมูกของทารกน้อยทันทีที่คลอดออกมา เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง และป้องกันการสำลักน้ำคร่ำ จะทำให้ทารกหายใจได้ดีขึ้น คุณหมอจะนำลูกน้อยไปวางไว้บนตัก แล้วทำการตัดสายสะดือ ซึ่งหากคุณพ่ออยู่ให้กำลังใจในห้องทำคลอดด้วย ก็อาจจะได้รับโอกาสในการลงมือตัดสายสะดือให้ลูกน้อยด้วยตัวเอง

จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองอย่างรวดเร็ว เช่น การประเมินสภาวะเด็กทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด เพื่อตรวจสอบสัญญาณของการมีชีวิตรวมทั้งการโต้ตอบต่าง ๆ แล้วจึงทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของทารก ถ้าการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูง หรือจำเป็นต้องผ่าคลอด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กแรกเกิด ก็จะมาช่วยดูแลลูกหลังคลอดทันที

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

หากยังไม่มีวี่แววการคลอด หรือสุขภาพของคุณแม่หรือลูกน้อยไม่ค่อยแข็งแรง คุณหมออาจต้องกระตุ้นการคลอด ด้วยการใช้ฮอร์โมนออกซิโทซินหรือยาชนิดอื่น ๆ เพื่อทำให้ปากมดลูกพร้อม และทำให้มดลูกบีบตัว

คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนก็รู้ตัวล่วงหน้าว่าต้องใช้วิธีผ่าท้องคลอด และสามารถเลือก “วันเกิด” ให้ลูกน้อยได้ คุณแม่เองควรเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมสำหรับการคลอดได้ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด หรือความวิตกกังวล ซึ่งคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติหลายคนอาจรู้สึก

แต่ถึงแม้ต้องผ่าคลอดแบบไม่ได้วางแผนมาก่อน ไม่ต้องเป็นกังวลแต่อย่างใด เพราะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะดูแลอย่างดีที่สุด

ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่กลุ้มใจก็คือ เรื่องรูปร่างหรือสรีระหลังคลอด ซึ่งคุณแม่สามารถปรึกษาวิธีดูแลตัวเองหลังคลอดกับคุณหมอได้เลย

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ในสัปดาห์นี้อาจได้รับประสบการณ์ที่รอคอยมาเนิ่นนาน ลูกน้อยจะลืมตามาดูโลกแล้ว แต่ก่อนที่จะได้พบกับลูกน้อย ควรทำความเข้าใจอาการเจ็บท้องก่อนคลอดให้ดีเสียก่อน การเจ็บท้องคลอดนั้นมีด้วยกันสามระยะ ได้แก่

  1. ระยะแรก มดลูกจะบีบรัดหรือหดตัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ปากมดลูกค่อย ๆ เปิดออกจนครบ 10 เซนติเมตร
  2. ระยะที่สอง อาการเจ็บท้องเวลาที่คุณเบ่งให้ลูกน้อยออกมาตามช่องคลอด
  3. ระยะที่สาม ตอนที่มีลูกน้อยและรกออกมาจากช่องคลอด

ถ้าอาการเจ็บท้องก่อนคลอดไม่ได้เกิดขึ้นตามปกติ คุณหมออาจใช้วิธีการบางอย่างในการช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลอดบุตร โดยอาจใช้ยาเพื่อทำให้ปากมดลูกนิ่มและเปิดกว้าง และอาจใช้อุปกรณ์เจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก ซึ่งจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกถึงน้ำอุ่น ๆ เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และจะมีอาการเจ็บท้องคลอดตามมา

การพบคุณหมอ

การทดสอบที่ควรรู้

หากถึงวันครบกำหนดคลอดแล้วยังไม่เจ็บท้องคลอด คุณหมออาจแนะนำให้ทำการตรวจครรภ์ เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของทารกน้อย จะได้แน่ใจว่าทารกได้รับออกซิเจนอย่างพอเพียง และระบบประสาทมีการตอบสนองตามปกติ

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

การขึ้นเครื่องบินในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งที่ปลอดภัย แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนการเดินทาง เพราะในช่วงนี้ มีแนวโน้มที่จะคลอดได้ตลอดเวลา หากการตั้งครรภ์มีความเสี่ยง หรือมีสภาวะดังต่อไปนี้ คุณหมออาจแนะนำให้งดเดินทาง หรือให้เลื่อนกำหนดการเดินทางไปก่อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed May 31, 2022.

Pregnancy calendar week 40. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week40.html. Accessed May 31, 2022.

Your pregnancy: 40 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-40-weeks_1101.bc. Accessed May 31, 2022.

Pregnancy at week 40. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/pregnancy-at-week-40. Accessed May 31, 2022.

Week-by-week guide to pregnancy. https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/3rd-trimester/week-40/.  Accessed May 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

คลอดลูกง่าย เป็นไปได้จริงหรือ มีเคล็ดลับอะไรที่คุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา