backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ตอนนี้ลูกของคุณมีอายุได้ 37 สัปดาห์แล้ว และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับทุเรียน โดยมีความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 48 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2.85 กิโลกรัม

ตอนนี้ลูกน้อยของคุณมีการพัฒนามากพอจะขยับนิ้วมือได้แล้ว และถึงแม้จะยังอยู่ในมดลูก แต่หากมีแสงจ้า ๆ มาส่องบริเวณหน้าท้องของคุณ ลูกน้อยก็จะหันหน้าตามแสง แต่ทารกน้อยยังต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาให้โตเต็มที่ ถ้าคุณวางแผนจะผ่าคลอด ควรนัดคุณหมอทำการผ่าคลอดในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 39

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

คุณจะเริ่มรู้สึกถึงการบีบรัดตัวของมดลูก หรืออาการเจ็บครรภ์หลอก ซึ่งอาการเช่นนี้ถือเป็นอาการปกติ คุณจึงไม่ต้องกังวลอะไร แค่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด หากมีการบีบรัดตัวมากขึ้นและนานขึ้น อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวได้

ในช่วงเวลานี้คุณอาจนอนหลับได้ยากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหาเวลางีบหลับในตอนกลางวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังงานให้คุณได้ นอกจากนี้ ในช่วงนี้คุณอาจฝันเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นอาการปกติ ชีวิตของคุณกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความวิตกกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นในช่วงคลอดลูกและการเป็นคุณแม่ อาจทำให้คุณเก็บไปฝันได้บ่อย ๆ

ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่ายกายเกิดขึ้นกับคุณนั้น ก็อย่าลืมเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยด้วย โดยคุณสามารถรู้สึกได้ถึงการยืดตัว กลิ้งตัว และการกระดิกตัวของลูกน้อย หากสังเกตเห็นว่าลูกเคลื่อนไหวน้อยลง ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที

พัฒนาการทารกในครรภ์-สัปดาห์ที่-37

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์นั้น หากมีสัญญาณและอาการของการคลอดก่อนกำหนดเหล่านี้ ควรรีบติดต่อคุณหมอทันที

  • คุณมีเลือดออก

หากมีอาการเลือดออกไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนของการตั้งครรภ์ คุณก็ควรไปพบคุณหมอทันที เพราะอาการเช่นนี้อาจเกิดจากการปล่อยเมือกปากมดลูก ซึ่งเป็นเมือกเหนียว ๆ ที่ทำหน้าที่อุดช่องปากมดลูกเอาไว้ นี่อาจเป็น “มูกเลือด’ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า การคลอดบุตรอาจเริ่มขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือภายในไม่กี่สัปดาห์นี้แล้ว

ควรปรึกษาคุณหมอทันที อาการเช่นนี้ไม่ปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด และอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ตกขาว เกิดการติดเชื้อ

  • มดลูกมีอาการบีบรัดตัวหนักขึ้นและบ่อยขึ้น

อาการบีบรัดตัวอาจจะยังคงมีอยู่แม้คุณะจะหยุดพักจากกิจกรรม หรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว ซึ่งนี่มีแนวโน้มที่จะเป็นการบีบรัดตัวที่อาจเป็นการคลอดลูกจริงๆ แล้วก็ได้

  • คุณมีน้ำเดิน

อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นเวลาที่ถุงน้ำคร่ำ ที่โอบอุ้มทารกอยู่เริ่มแตกออก ของเหลวภายในนั้นจึงอาจไหลพรั่งพรูออกมาอย่างรวดเร็ว หรือไหลหยดมาตามขา การบีบรัดตัวอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น ก็ควรรีบติดต่อคุณหมอทันที

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

คุณควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เมื่อมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าจะคลอดก่อนกำหนด หรือคุณรู้สึกวิตกกังวลในการคลอดลูก เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเครียด จนส่งผลให้คลอดได้ยากขึ้น โดยคุณควรแจ้งให้คุณหมอทราบถึงความวิตกกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับการคลอดลูก คุณหมออาจเสนอแนะแนวทาง ในการช่วยคุณจัดการกับความเครียด รวมทั้งวิธีออกกำลังกายคลายเครียด ที่คุณสามารถทำร่วมกับคนรักของคุณได้

การทดสอบที่ควรรู้

คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจครรภ์ทุกสัปดาห์ จนกว่าจะถึงวันคลอด และถือเป็นเรื่องปกติถ้าคุณต้องทำการตรวจเชิงกรานมากกว่าหนึ่งครั้ง การตรวจเหล่านี้ช่วยให้คุณหมอทราบว่าตอนนี้ทารกอยู่ในท่าเอาหัวลง ที่เรียกว่า ทารกท่าศีรษะ (Vertex or Cephalic Presentation) หรือท่าเอาก้นลง ที่เรียกว่า ทารกท่าก้น (Breech Presentation)

ซึ่งทารกส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าเอาหัวลงเมื่อถึงช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในท่าที่เตรียมพร้อมคลอดนี้ ลูกน้อยของคุณจะอยู่ในส่วนโค้งของกระดูกเชิงกรานอย่างพอเหมาะพอดี ซึ่งในช่วงการตรวจเชิงกรานนั้น คุณหมออาจจะทำการตรวจปากมดลูกด้วย เพื่อดูว่าปากมดลูกเริ่มเปิด หรือบางลง หรือนิ่มขึ้นหรือยัง โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงให้เห็นเป็นตัวเลขและเปอร์เซ็นต์

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

ในช่วงสองสามสัปดาห์สุดท้ายนี้ นับมีความสำคัญพอ ๆ กับในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยของคุณต้องการเวลาใน 2-3 สัปดาห์สุดท้ายนี้ ในการพัฒนาให้โตเต็มที่ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า คุณหมอไม่ควรพิจารณาว่าสัปดาห์ที่ 37 นั้นเป็นระยะที่พัฒนาเต็มที่แล้ว แต่ควรพิจารณาว่า เป็นระยะที่ยังพัฒนาอยู่ ซึ่งก็หมายความว่าการผ่าท้องคลอดในช่วงนี้ยังเป็นอะไรที่เร็วเกินไป

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

You and your baby at 37 weeks pregnant. https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/37-weeks-pregnant/. Accessed March 30, 2015

Pregnancy week 37. https://www.parents.com/pregnancy/week-by-week/37/. Accessed March 30, 2015

37 weeks pregnant. https://www.babycenter.com/37-weeks-pregnant. Accessed March 30, 2015

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่เหมาะสม

อยู่ไฟ การดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบไทยๆ คืออะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา