backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38

ลูกจะเติบโตอย่างไร

สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับขนุน โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 45 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

ทารกในครรภ์สัปดาห์นี้จะเติบโตช้าลง ซึ่งคุณแม่อาจสังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลงหรือคงที่

การที่ลูกน้อยมีกล้ามเนื้อสำหรับใช้ในการดูดและกลืนน้ำคร่ำ ทำให้มีของเสียต่าง ๆ สะสมอยู่ในลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ที่ปล่อยออกมาจากลำไส้ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเส้นขนอ่อนในของเสียที่จะกลายเป็นขี้เทา หรืออุจจาระครั้งแรกของทารกในที่สุด

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

การที่ทารกในครรภ์เคลื่อนตัวมาอยู่แถวกระดูกเชิงกราน ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะนี้จึงยิ่งปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทราบเพศของทารกน้อยแล้ว หากลูกเป็นเด็กผู้ชายอาจต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการขลิบ ซึ่งหมายถึง การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กชายออก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังคลอด 2-3 สัปดาห์ การขลิบมีประโยชน์สุขภาพมากมาย เช่น ช่วยให้ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันปัญหาในการปัสสาวะ ป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศชาย

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

คุณหมอจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก เช่น สัญญาณของการคลอดลูก การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด เพื่อให้สามารถเตรียมตัวให้พร้อม อย่างไรก็ตาม สัญญาณการคลอดลูกอาจจะไม่เกิดขึ้นตามปกติ ฉะนั้น หากมีข้อสงสัยอะไร ควรปรึกษาคุณหมอทันที

การทดสอบที่ควรรู้

การดูแลสุขภาพก่อนคลอดจะยังคงดำเนินต่อไป เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอดแล้ว คุณหมออาจทำการตรวจกระดูกเชิงกรานตามปกติ เพื่อดูท่าทางของทารกในครรภ์ว่าตอนนี้อยู่ในท่าเอาหัวลง ที่เรียกว่า ทารกท่าศีรษะ (Vertex or Cephalic Presentation) หรือท่าเอาก้นลง ที่เรียกว่า ทารกท่าก้น (Breech Presentation)

ซึ่งทารกส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าเอาหัวลงเมื่อถึงช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในท่าที่เตรียมพร้อมคลอดนี้ ลูกน้อยจะอยู่ในส่วนโค้งของกระดูกเชิงกรานอย่างพอเหมาะพอดี

ในช่วงการตรวจกระดูกเชิงกรานนั้น คุณหมอจะทำการตรวจสอบปากมดลูกด้วย เพื่อดูว่าปากมดลูกเริ่มบางลง และขยายตัวพร้อมคลอดหรือยัง โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงให้เห็นเป็นตัวเลขและเปอร์เซ็นต์

หากการตั้งครรภ์เลยวันครบกำหนดคลอดไปมากกว่า 1 สัปดาห์ อาจต้องทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกน้อย ด้วยเครื่องวัดอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อสังเกตการเคลื่อนไหวของทารก และวัดปริมาณน้ำคร่ำด้วย

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • แอลกอฮอล์

การใช้ยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรืออันตรายร้ายแรงกับคุณแม่และทารก แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีปัญหาสุขภาพ เช่น พัฒนาการล่าช้า เคลื่อนไหวผิดปกติ

  • การใช้ยา

โดยปกติแล้ว ยาแอสไพรินและยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณและทารกในครรภ์ ก่อนตัดสินใจใช้ยาใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 3, 2015

Pregnancy calendar week 38. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week38.htm. Accessed March 3, 2015

Your pregnancy: 38 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-38-weeks_1101.bc.  Accessed March 3, 2015

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 3, 2015

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังผ่าคลอด ฟื้นฟูร่างกายให้เร็วขึ้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง

5 สาเหตุที่ทำให้ น้ำหนักหลังคลอด ไม่ลดลง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 22/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา