backup og meta

ขั้นตอนการอยู่ไฟหลังคลอด และข้อควรระวัง

ขั้นตอนการอยู่ไฟหลังคลอด และข้อควรระวัง

อยู่ไฟหลังคลอด เป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยโบราณ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่หลังจากคลอดลูก โดยในปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างออกไปจากสมัยก่อน และสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรอยู่ไฟหลังคลอดขณะมีไข้สูงหรืออ่อนเพลียมาก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งควรทำการอยู่ไฟภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

[embed-health-tool-due-date]

อยู่ไฟหลังคลอด คืออะไร

อยู่ไฟหลังคลอด คือ การช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าของคุณแม่ตั้งครรภ์หลังคลอดบุตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้ความร้อนและสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อยจากการตั้งครรภ์มาเป็นระยะเวลา 9 เดือน  ในสมัยก่อน ผู้หญิงหลังคลอดต้องนอนบนกระดาน เอากองถ่านร้อน ๆ มาวางไว้ข้างเตียงในห้องปิดมิดชิดไม่มีที่ระบายอากาศ ซึ่งในปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องอยู่ภายในกระโจมหรือกระท่อมเพื่ออยู่ไฟ แต่อาจนำสมุนไพรไทยไปต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอความร้อน และตั้งสมุนไพรที่ต้มแล้วไว้ใกล้ตัวในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางไว้บริเวณหน้าท้อง อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟหลังคลอดอาจให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายคุณแม่หลังคลอดในระยะยาวด้วย เช่น อาจช่วยลดความรู้สึกหนาวสั่นในกระดูก และระบายของเสียที่สะสมอยู่ในร่างกาย

ระยะเวลาการอยู่ไฟหลังคลอด

หากผู้ที่คลอดตามธรรมชาติควรอยู่ไฟหลังคลอดไปแล้วประมาณ  7 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือน แต่สำหรับผู้ที่ผ่าคลอดควรทำในช่วงหลังคลอดประมาณ 1 เดือน โดยควรทำหลังจากที่แผลผ่าตัดหายดีแล้ว เนื่องจากหากแผลยังไม่หายดีอาจเกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ แต่ไม่เกิน 3 เดือนเช่นกัน และควรอยู่ไฟทุกวันติดต่อกันประมาณ 5-10 วัน 

วิธีการทำอยู่ไฟหลังคลอด 

โดยการอยู่ไฟหลังคลอดนั้น อาจทำด้วยวิธีดังนี้ 

  • การนวดและประคบสมุนไพร ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจช่วยประคบรอบ ๆ เต้านม เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านม และลดอาการคัดตึงเต้านม
  • การทับหม้อเกลือ โดยนำเกลือมาใส่หม้อดินขนาดเล็กตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำไปประคบบริเวณหน้าท้อง หลังส่วนล่าง และขา ซึ่งเพื่ออาจช่วยให้หน้าท้องกระชับขึ้น ขับน้ำคาวปลา และอาจทำให้มดลูกเข้าอู่ไวขึ้น 
  • การอบไอน้ำสมุนไพร โดยใช้ประโยชน์ของไอน้ำจากการต้มสมุนไพร และกลิ่นของสมุนไพร ซึ่งอาจช่วยทำให้หายใจสะดวก ผ่อนคลาย และสดชื่นขึ้น รวมถึงกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

ซึ่งมีความเชื่อกันว่า การอยู่ไฟนั้นช่วยขับเหงือและขับน้ำคาวปลา และยังอาจช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ทั้งนี้ ผู้หญิงหลังคลอดควรดูแลสุขอนามัยเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ช่องคลอดได้ง่ายกว่าปกติ 

ประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด  

การอยู่ไฟหลังคลอดอาจมีประโยชน์มากมายต่อคุณแม่หลังคลอดลูก ดังนี้ 

  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดอาการอ่อนเพลีย 
  • ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 
  • ช่วยบรรเทาอาการหนาวสั่นในกระดูก 
  • ช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี 
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น 
  • ช่วยบำรุงผิว เนื่องจากอาจมีสมุนไพรที่ดีต่อผิว 

ทั้งนี้ การอยู่ไฟหลังคลอดอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาการครั่นเนื้อครั่นตัว ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตได้ 

ข้อควรระวังการอยู่ไฟหลังคลอด

แม้การอยู่ไฟหลังคลอดนั้นมีประโยชน์แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้ 

  • ไม่ควรอยู่ไฟหากมีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียล
  • ไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อผิวหนัง ทั้งยังอาจส่งผลทำให้ร่างกายเสียน้ำมากจนเกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้น ควรดื่มน้ำเพื่อทดแทนของเหลวที่เสียไป
  • หากมีปัญหาสุขภาพร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด การอยู่ไฟอาจส่งผลกระทบต่อการหายใจไม่ทันได้ 
  • การอยู่ไฟอาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี แต่ก็อาจส่งผลทำให้เลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 
  • ไม่ควรหลับขณะอยู่ไฟ เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

การอยู่ไฟคืออะไร. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1488.  Accessed July 27, 2023.

การอยู่ไฟหญิงหลังคลอด. https://ttcmh.dtam.moph.go.th/index.php/knowledge/research/36-basic.html. Accessed July 27, 2023.

Warming the postpartum body as a form of postnatal care: An ethnographic study of medical injections and traditional health practices in Cambodia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7004345/. Accessed July 27, 2023.

Traditional postpartum practices among Thai women. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12581101/. Accessed July 27, 2023.

Postpartum care in Thailand: Experience, practice and policy. https://www.researchgate.net/publication/297280158_Postpartum_care_in_Thailand_Experience_practice_and_policy?fbclid=IwAR1JFWj2pDApmfVp9MZQhOoNteBKpOhcEV2HHBoKYjqsVPFtivIAMqPk6N4. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เต้านมคัด อาการที่คุณแม่หลังคลอดต้องเผชิญ

อาหารหลังคลอด ที่เหมาะสมต่อสุขภาพคุณแม่มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา