backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 12/04/2022

    ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

    ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรค พันธุกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้มีลูกยากได้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีลูกยากได้ อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าอาจมีภาวะมีบุตรยาก และต้องการมีบุตร ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหา และวิธีช่วยในการมีลูกที่เหมาะสมที่สุด

    ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย คืออะไร?

    ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย มักเกิดขึ้นได้น้อย เป็นการที่ผู้ชายไม่สามารถมีบุตรได้แม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งและไม่ป้องกัน โดยภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากร่างกายผลิตน้ำอสุจิได้น้อย อสุจิทำงานผิดปกติ เกิดการอุดตันที่ท่อส่งอสุจิ การเจ็บป่วย บาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง รูปแบบการใช้ชีวิต และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้

    ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

    ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

    หลอดเลือดอัณฑะขอด (Varicocele)

    เป็นความผิดปกติทั่วไปของหลอดเลือดดำในถุงอัณฑะที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน มักไม่แสดงอาการแต่ในบางคนอาจมีอาการปวดลูกอัณฑะ และในบางคนอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในถุงอัณฑะจากการสะสมของเลือดในเส้นเลือด ส่งผลต่อการผลิตอสุจิและจำนวนอสุจิ

    หากคุณเป็นหลอดเลือดอัณฑะขอดอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปวดเมื่อย ปวดเล็กน้อยบริเวณลูกอัณฑะ และคุณอาจเห็นเส้นเลือดที่บวมขึ้นเป็นก้อนเล็ก ๆ บริเวณลูกอัณฑะได้

    ความผิดปกติทางพันธุกรรม

    ความผิดปกติทางพันธุกรรมมีด้วยกันจากหลายสาเหตุ

    • เกิดความผิดปกติในการผลิตอสุจิที่โตเต็มวัย ทำให้อสุจิไม่แข็งแรง การเดินทางของอสุจิไปยังไข่จึงยากลำบาก
    • ผู้ชายมีจำนวนอสุจิต่ำมากหรือไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องทางกายภาพ เช่น ลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก
    • เกิดการกลายพันธุ์ของยีสซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis Gene) ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการไคลเอนเฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) โครโมโซมไมโครดีเลชันของยีน (Chromosome Microdeletions Of Genes) กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) และการสับเปลี่ยนของโครโมโซม (Chromosomal Translocations)

    ความผิดปกติทางพันธุกรรมของภาวะมีบุตรยากในผู้ชายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอีกหลายวิธีที่สามารถทำให้คุณมีบุตรได้ ลองปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำ

    จำนวนอสุจิต่ำหรือฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonadism)

    เมื่อฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้สมองและร่างกายไม่ตื่นตัว มีความต้องการทางเพศต่ำลง หรือบางคนอาจหมดความสนใจทางเพศ และฮอร์โมนเพศชายต่ำยังส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ จำนวนของอสุจิต่ำลงอีกด้วย

    การใช้สเตียรอยด์ในทางที่ผิด

    การรับประทานอาหารเสริมบางชนิดโดยเฉพาะสเตียรอยด์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสมรรถภาพทางกาย สามารถหลอกสมองให้คิดว่าผลิตฮอร์โมนเพศชายเพียงพอ ส่งผลให้สมองลดการสั่งการไปที่อัณฑะเพื่อผลิตอสุจิ ทำให้อสุจิมีจำนวนน้อยลงและลูกอัณฑะเกิดการหดตัวได้

    ปัญหาการหลั่ง

    ภาวะน้ำอสุจิไหลกลับเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแทนที่จะออกมาทางองคชาต เป็นภาวะสุขภาพที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง การใช้ยา และการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ท่อปัสสาวะ เป็นต้น

    มะเร็งลูกอัณฑะ

    มะเร็งลูกอัณฑะและวิธีการรักษาอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย ก่อนเข้ารับการรักษาแพทย์อาจแนะนำให้คุณเก็บสเปิร์มไว้ใช้ในการมีบุตรในอนาคต แต่มะเร็งลูกอัณฑะอาจทำให้จำนวนอสุจิต่ำได้เช่นกัน

    ไม่มีลูกอัณฑะในถุงอัณฑะ (Undescended)

    เกิดจากการเคลื่อนตัวของลูกอัณฑะจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะไม่สมบูรณ์ โดยอาจจะเคลื่อนตัวไปอยู่ในช่องท้อง ขาหนีบ หรือหัวหน่าว สามารถอาจเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง ก็ได้

    การสัมผัสกับความร้อนสูง

    เมื่ออัณฑะสัมผัสกับความร้อนสูงทั้งจากเสื้อผ้า การอาบน้ำร้อน หรือซาวน่าบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้

    การบาดเจ็บ

    หากคุณมีอาการบาดเจ็บที่ถุงอัณฑะหรือลูกอัณฑะ อาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้

    ปัยจัยเสี่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เป็น ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย ซึ่งมักพบได้ในผู้ชายส่วนใหญ่ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตอื่น ๆ เช่น การใช้ยา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ น้ำหนัก ก็อาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำหากคุณมีอาการภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 12/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา