backup og meta

เลือกเพศลูก ทำได้จริงหรือไม่ และมีวิธีใดบ้าง

เลือกเพศลูก ทำได้จริงหรือไม่ และมีวิธีใดบ้าง

เลือกเพศลูก เป็นความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป บางรายอาจมีเหตุผลด้านประเพณีวัฒนธรรม ความต้องการสร้างความสมดุลให้สมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงเหตุผลทางการแพทย์ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้น บางรายมีบุตรยาก ปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีทางเลือกในการเลือกเพศให้กับลูกของตัวเองมากขึ้น

[embed-health-tool-ovulation]

เลือกเพศลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ

ในบางคู่อาจลองพยายามด้วยวิธีตามธรรมชาติซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาโดยที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันแน่ชัด 100% ว่าการเลือกเพศลูกตามวิธีธรรมชาติเหล่านี้ จะทำให้ได้ลูกตามเพศที่ต้องการ

1. การมีเพศสัมพันธ์ตามช่วงเวลาที่ไข่ตก

เนื่องจากสันนิษฐานกันว่า สเปิร์มเพศผู้นั้นจะมีขนาดเล็กว่า เร็วกว่า และมีอายุที่สั้นกว่าสเปิร์มเพศเมีย หากต้องการมีลูกชายควรมีเพศสัมพันธ์ใกล้กับช่วงเวลาที่ร่างกายเพศหญิงตกไข่ สเปิร์มเพศผู้จึงมีโอกาสเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในร่างกายเพศหญิงได้เร็วกว่า จึงอาจส่งผลให้ได้ลูกชายมากกว่านั้นเอง แต่ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงการคาดการณ์ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะให้ผลได้ตามที่ต้องการจริง ๆ

2. การมีเพศสัมพันธ์โดยเลือกท่าทางที่ถูกต้อง

เชื่อกันว่า หากต้องการลูกชายควรมีเพศสัมพันธ์กันจากทางด้านหลัง หรือในท่าที่เรียกว่า ท่าสุนัข หรือ Doggy Style เพราะเป็นท่าที่อสุจิอยู่ใกล้กับปากมดลูกมากที่สุดและเปิดโอกาสให้สเปิร์มเพศผู้ หรือสเปิร์มวายสามารถเข้าปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิงได้เร็วกว่าสเปิร์มเพศเมีย

เลือกเพศลูก ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

ปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การเลือกเพศลูกเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องการใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุผลและปัจจัยส่วนตัวของแต่ละครอบครัว ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีเลือกเพศลูก

1. เลือกเพศลูกด้วยการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว 

เทคนิคที่ได้รับการรับรองและอนุมัติให้ใช้ เพื่อการเลือกเพศลูกเป็นอันดับต้น ๆ เรียกว่า เทคนิคการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Pre-implantation genetic diagnosis หรือ PGD) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทคนิคการปฏิสนธินอกร่างกาย (In-Vitro Fertilization-IVF)

โดยวิธีการ คือ คุณหมอจะแยกไข่ของฝ่ายหญิงออกมา แล้วนำไปผสมกับน้ำเชื้อของฝ่ายชายในห้องแล็บเพื่อสร้างตัวอ่อน หลังจากนั้น 3 วัน เอ็มบริโอจะแบ่งตัวออกเป็น 8 เซลล์ ซึ่งจะถูกนำมาประเมินภายหลังว่า เอ็มบริโอได้เพศตามที่ต้องการหรือไม่ หลังจากประเมินแล้ว คุณหมอจะนำตัวอ่อนที่ได้เพศตามที่ต้องการ ใส่กลับเข้าไปในครรภ์ของมารดา เพื่อให้เติบโตในครรภ์ตามธรรมชาติต่อไป

2. เลือกเพศลูกด้วยเทคนิคไมโครซอร์ต

เทคนิคไมโครซอร์ต (MicroSort) คือ การแยกไมโครโซมในน้ำเชื้อของฝ่ายชาย โดยใช้แสงเลเซอร์ สีย้อม และเครื่องวิเคราะห์เซลล์อัตโนมัติ เมื่อแยกน้ำเชื้อได้โครโมโซมตามที่ต้องการแล้ว คุณหมอจะใส่น้ำเชื้อที่ต้องการกลับไปในรังไข่ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เนื่องจากโครโมโซม X จะมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y ทำให้โครโมโซม X ดูดซับสีได้มากกว่า และเห็นชัดกว่า ภายใต้การใช้แสงเลเซอร์ ด้วยวิธีนี้ นักวิจัยจะระบุไว้ว่า โครโมโซม X จะเป็นผลลบ และโครโมโซม Y จะเป็นผลบวก เพราะ โครโมโซม Y ดูดซับสีได้น้อยกว่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Choosing sex of your child. http://www.webmd.com/baby/features/choosing-sex-of-your-child#2. Accessed June 21, 2022.

The science behind sex selection. http://www.babycentre.co.uk/a1014303/the-science-behind-sex-selection. Accessed June 21, 2022.

Boy or Girl — Can You Choose Your Baby’s Sex?. https://health.clevelandclinic.org/boy-or-girl-can-you-choose-your-babys-sex/. Accessed June 21, 2022.

Gender Selection. https://www.fertility-docs.com/programs-and-services/gender-selection/select-the-gender-of-your-baby-using-pgd.php. Accessed June 21, 2022.

Choosing the Sex of Your Baby. https://www.verywellfamily.com/choosing-the-sex-of-your-baby-4163803. Accessed June 21, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

ลูกแฝด จะรู้ได้อย่างไรว่ามีทารกอยู่ในครรภ์มากกว่าหนึ่งคน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา