backup og meta

ผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ออกกำลังกาย แบบไหนจึงจะเหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

    ผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ออกกำลังกาย แบบไหนจึงจะเหมาะสม

    การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ควรที่จะออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับโรค แต่การออกกำลังกายก็มีรูปแบบที่มากมาย และแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการเตะฟุตบอล และที่สำคัญเราต้องเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผุ็ที่ป่วยมะเร็งก็สามารถเลือกออกกำลังกายได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ ชวนไปดูว่า ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย อย่างไรดี

    ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไร

    การออกกำลังกาย (Exercise) มีประโยชน์มากมายหลายอย่างที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะได้รับ อย่างแรกสุดก็คือ มันช่วยแก้ไขอาการอ่อนเพลียของคุณให้ดีขึ้นได้ เพราะความจริงแล้ว การออกกำลังกายแบบแอโรบิกสามารถลดความต้องการใช้ยา เพื่อเพิ่มการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เสียหายไป เนื่องจากการทำเคมีบำบัด และนำไปสู่อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างมาก ที่ผู้ป่วยมักรู้สึกในขณะที่รับการบำบัดนี้

    อย่างที่สองก็คือ การออกกำลังกายสามารถช่วยคุณพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ต่อสู้กับการสูญเสียกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก เนื่องจากถ้าคุณต้องทำเคมีบำบัดหรือฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งรังไข่ คุณก็มักเสี่ยงอย่างมากต่อการสูญเสียกล้ามเนื้อและมวลกระดูก

    อย่างสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การออกกำลังกายสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้ มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า ขณะออกกำลังกาย คุณจะรู้สึกดีขึ้น คุณอาจไม่รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอีกต่อไป และอาจรู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ด้วย คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกกลัว หรือความรู้สึกเหมือนสติแตก ยามที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ แต่การออกกำลังกายจะสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกสงบขึ้น และสามารถรับมือกับความกลัวเหล่านั้นได้

    เคล็ดลับสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย อย่างไรดี

    เคล็ดลับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีดังนี้

    • ปรับปรุงแผนการออกกำลังกาย

    ไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก หากคุณจะออกกำลังกายแบบเดิมซ้ำกันไปเรื่อย ๆ แทนที่จะทำเช่นนั้น ลองวางแผนการออกกำลังกายที่สามารถทำให้อาการของคุณดีขึ้นได้ และสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ในกรณีที่คุณต้องรับการบำบัดมะเร็งด้วยวิธีการบางอย่าง ที่ทำให้กระดูกของคุณเปราะบางขึ้น ก็ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่เพิ่มแรงกดให้แก่กระดูก ของคุณมากนักจะเหมาะกว่า

    • ฟังเสียงของร่างกาย

    คุณไม่สามารถได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายได้ ถ้าคุณไม่เข้าใจความต้องการของร่างกาย ไม่ว่าภาวะสุขภาพปัจจุบันของคุณจะเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นความจริงไม่เคยเปลี่ยนแปลง คุณไม่สามารถบีบบังคับร่างกายให้ออกกำลังกายในเวลาที่มันไม่สามารถจะออกกำลังกายได้ หากยังฝืนทำ ก็มีแต่จะทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือทำให้อาการแย่ลง

    ต้องดูให้แน่ใจว่า คุณไม่ออกกำลังกายหนักเกินกว่าขีดจำกัดของร่างกายในปัจจุบัน ในตอนเริ่มแรกควรออกกำลังกายเพียงวันละไม่กี่นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับขึ้นไป เมื่อร่างกายของคุณเริ่มแข็งแรงมากขึ้น ก็จะสามารถออกกำลังกายได้มากเท่าที่ร่างกายของคุณสามารถทำได้ เพื่อที่จะยกระดับสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าคุณรู้สึกเหมือนว่าร่างกายต้องการหยุดพักก็ควรหยุดก่อนแล้วค่อยกลับมาเริ่มใหม่

    • ปรึกษาคุณหมอ

    ในการออกกำลังกาย เป็นไปได้ว่าคุณอาจพบกับความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บได้แบบเดียวกับคนปกติทั่วไป ถ้าคุณไม่ระมัดระวัง อาจเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เมื่อยตึง ไปจนถึงเคล็ดขัดยอก หรือกล้ามเนื้อฉีกได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคุณมีอาการโรคมะเร็งรังไข่อยู่ในตัว คุณก็อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นเล็กน้อยที่จะมีปัญหาหัวใจ เพราะฉะนั้นเพื่อให้คุณออกกำลังกายอย่างปลอดภัย คุณควรตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วนก่อน และได้รับคำอนุญาตจากแพทย์ที่รักษามะเร็งให้คุณ ก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกายแบบปานกลางไปจนถึงการออกกำลังกายแบบหนักใด ๆ ก็ตาม

  • พิจารณาอาการของคุณ
  • กิจวัตรการออกกำลังกายของคุณควรสร้างขึ้นมาโดยพิจารณาถึงสถานการณ์ส่วนตัวของคุณ รวมถึงระดับความแข็งแรงของร่างกาย และสุขภาพในปัจจุบัน คุณอาจแข็งแรงพอที่จะออกกำลังกายตามแผนปกติทั่วไปได้ ซึ่งมักจะมีการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ ทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) แบบแอนแอโรบิค (Anaerobic exercise) การบริหารแกนกลางลำตัว การสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และการยืดเหยียดร่างกาย ในบางกรณี การออกกำลังแบบเบา ๆ ในช่วงสั้น ๆ อาจเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับคุณ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายประเภทใดก็ตาม แม้เพียงไม่กี่นาทีต่อวัน ก็ยังดีกว่าไม่ได้ออกกำลังกายเลย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา