backup og meta

รู้ไหม? เดินหลังกินข้าวเสร็จ ดีต่อสุขภาพ แถมยังอาจช่วยลดน้ำหนักได้

รู้ไหม? เดินหลังกินข้าวเสร็จ ดีต่อสุขภาพ แถมยังอาจช่วยลดน้ำหนักได้

เดินหลังกินข้าวเสร็จ เป็นหนึ่งในกิจกรรมการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักกีฬาโอลิมปิก  หลายคนอาจจะคิดว่าการ เดินหลังกินข้าวเสร็จ นั้นอาจทำให้เกิดอาการจุกเสียดท้องได้ แต่การเดินเล่นแบบช้า ๆ สบาย ๆ หลังอาหารไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด ทั้งยังดีต่อสุขภาพ แถมยังอาจช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง ประโยชน์ของการเดินหลังกินข้าวเสร็จ มาฝากกัน

[embed-health-tool-bmr]

ประโยชน์ของการ เดินหลังกินข้าวเสร็จ

ความจริงแล้วหลังจากกินอาหารเสร็จ คุณอาจจะรู้สึกว่าอยากนอน เพราะอาหารอร่อย ๆ กินอิ่ม ๆ หนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน แต่การนอนหลังกินข้าวนั้นคือสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หลังกินอาหารเสร็จคุณไม่ควรนอน และเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงคุณควรออกไป เดินเล่นหลังกินอาหาร อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เนื่องจากการเกิดจะช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้นและลดไขมันหน้าท้องได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาดู ประโยชน์ของการเดินหลังกินข้าวเสร็จกันดีกว่า

ปรับปรุงการย่อยอาหาร

ประโยชน์หลัก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเดินหลังกินข้าวเสร็จก็คือ การย่อยอาหารที่ดีขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถช่วยย่อยอาหาร โดยการไปกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้การออกกำลังกายในระดับต่ำถึงปานกลางหลังจากกินข้าวเสร็จ ยังอาจช่วยป้องกันการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น แผลในกระเพาะอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน ท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือด

ประโยชน์ที่โดดเด่นอีกอย่างของการเดินหลังกินข้าวเสร็จก็คือ การจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 และ 2 ซึ่งมีเงื่อนไขในการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการออกกำลังกายหลังรับประทานอาหาร อาจช่วยป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงได้ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณอินซูลินลดลง

จากการศึกษาในปีค.ศ. 2016 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 พบว่า การเดินเบา ๆ เป็นเวลา 10 นาทีหลังจากกินอาหารแต่ละมื้อ ดีกว่าการเดิน 30 นาทีต่อครั้ง สำหรับการจัดการน้ำตาลในเลือด แม้การออกกำลังกายหลังกินอาหารในแต่ละมื้อจะมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ในผู้อื่นก็สามารถได้รับประโยชน์จากการที่น้ำตาลในเลือดลดลงได้เช่นกัน

เดินเล่นหลังกินอาหาร ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

การออกกำลังกายมักจะเชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายเป็นประจำ อาจลดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้ด้วย

การศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบเบา ๆ หลายครั้งตลอดทั้งวันอาจจะดีกว่าการออกกำลังกายต่อเนื่อง 1 ครั้ง เพื่อลดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้ทางกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ (United States Department of Health and Human Services ; DHHS) ยังได้แนะนำให้ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และ เดินเล่นหลังกินอาหาร ในแต่ละมื้อ ประมาณ 10 นาที

เดินเล่นหลังกินอาหาร ส่งเสริมการลดน้ำหนัก

เป็นที่ทราบกันดีว่า การออกกำลังกายมีบทบาทสำคัญในการลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารที่เหมาะสม และเพื่อส่งเสริมการลดน้ำหนัก คุณจะต้องทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญแคลอรี่ ดังนั้น การเดินหลังมื้ออาหารอาจช่วยให้ร่างกายของคุณเผาผลาญแคลอรี่ และถ้าได้ทำอย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้

ช่วยควบคุมความดันโลหิต

เดินเล่นหลังกินอาหาร อาจช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ระดับหนึ่ง จากการศึกษาหลายชิ้นมีความเชื่อมโยงกันระหว่าง การเดิน 3-10 นาทีทุกวันกับการลดระดับความดันโลหิต การเดิน 10 นาทีหลาย ๆ ครั้งตลอดทั้งวันดูเหมือนจะมีประโยชน์ต่อการลดความดันโลหิตได้มากกว่าการเดินแบบต่อเนื่อง 1 เซสชั่น

จากการศึกษาในบุคคลที่ชอบนั่งอยู่นิ่ง ๆ เป็นประจำพบว่า เมื่อพวกเขาเริ่มต้นโปรแกรมการเดิน สามารถลดค่าความดันโลหิตสูงที่สุดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ได้มากถึง 13 เปอร์เซ็นต์

บรรเทาอาการปวดท้อง

ในขณะที่ การเดินย่อยอาจมีผลข้างเคียงเชิงลบที่เกี่ยวข้องน้อยมาก บางคนอาจจะมีอาการปวดท้องเมื่อเดินหลังกินข้าวเสร็จ หรืออาจจะมีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ เกิดแก๊สในกระเพาะ และท้องอืด ซึ่งสิ่งนี้สามารถเกินขึ้นได้เมื่ออาหารที่เพิ่งถูกกินเข้าไปในท้อง ทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมสำหรับการย่อย ซึ่งถ้าเกิดอาการดังกล่าวขึ้น ให้ลองรอสัก 10-15 นาทีหลังจากกินข้าวเสร็จ แล้วค่อยเดิน นอกจากนั้นยังควรลดความเข้มงวดในการเดินให้ลดลง

เพิ่มความเร็วในการเผาผลาญ

เดินเล่นหลังกินอาหาร จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ซึ่งจะช่วยในการเผาผลาญแคลอนี่ ยิ่งเมตาบอลิซึมทำงานเร็วขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายก็จะเผาผลาญแคลอรี่ได้เร็วขึ้นเท่านั้น และยิ่งควบคุมน้ำหนักได้มากขึ้นด้วย

ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

มีหลายครั้งที่เราอาจจะหลับไปพร้อมกับความเครียดที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งความเครียดเหล่านั้นอาจเกิดจากการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว การ เดินเล่นหลังกินอาหาร ไม่เพียงแต่จะช่วยลดระดับความเครียด แต่ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนอนหลับที่ดี

ปรับปรุงการไหลเวียนของโลหิต

การใช้เวลาเดินเพียง 15 นาทีหลังจากินมื้อเย็นเสร็จจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนั้นการเดินยังช่วยทำให้เกิดความเหมาะสมของระดับออกซิเจนและยังช่วยทำให้สารอาหารถูกส่งไปยังหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นนั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is Walking After Eating Good for You?. https://www.healthline.com/nutrition/walking-after-eating. Accessed August 10, 2020

How 30 Minutes of Walking After Meals Can Help You Stay Fit. https://food.ndtv.com/health/how-30-minutes-of-walking-after-meals-can-help-you-stay-fit-1662358. Accessed August 10, 2020

Is It Safe to Walk After Eating a Meal?. https://www.livestrong.com/article/437194-is-it-safe-to-walk-after-eating-a-meal/. Accessed August 10, 2020

Benefits Of Going Out For A Family Walk After Dinner. https://www.moms.com/after-dinner-family-walk-benefits/. Accessed August 10, 2020

13 Benefits of Walking After Eating Dinner. http://www.caringpush.com/fitness/benefits-walking-after-eating-dinner/. Accessed August 10, 2020

Why Walking After Eating Might Be the Best Time to Get Those 10,000 Steps. https://www.wellandgood.com/walking-after-eating/. Accessed August 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/08/2024

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพเพียบ

ไม่อยากเข้าฟิตเนส? ลอง เดินวันละหมื่นก้าว ก็ช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มความฟิตได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา