backup og meta

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก (Child Abuse and Neglect) เป็นการทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย สถานการทางเพศ ทั้งยังทำให้รู้สึกไร้ค่าอีกด้วย การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กที่เกิดขึ้นไม่มีการคำนึงถึงประเภทของการละเมิด ผลที่เกิดคือ อันตรายต่ออารมณ์ของเด็ก เพราะการทารุณกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ที่รุนแรง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก (Child Abuse and Neglect) เป็นการทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย สถานการทางเพศ ทั้งยังทำให้รู้สึกไร้ค่าอีกด้วย การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กที่เกิดขึ้นไม่มีการคำนึงถึงประเภทของการละเมิด ผลที่เกิดคือ อันตรายต่ออารมณ์ของเด็ก เพราะการทารุณกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ที่รุนแรง ดังนั้น เรื่องการทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม และทางออกที่ดีที่สุดก็คือต้องจบปัญหานี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้องช่วยเหลือเด็ก และจัดการกับผู้ที่ทำร้ายเด็ก

ปัจจัยเสี่ยงของ การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในครอบครัว โดยผู้ปกครองอาจจะล่วงละเมิดทางเพศเด็กในวัยเด็ก หรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งทำให้เด็กเกิดปัจจัยเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า(Depression) หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กในรูปแบบอื่นนั้นพบได้ทั่วไปในครอบครัวที่มีความยากจน และในหมู่ผู้ปกครองที่เป็นวัยรุ่น ผู้ที่เสพสารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์ เด็กๆ มักจะถูกผู้ดูแลหรือคนที่พวกเขารู้จักทำร้ายมากกว่าคนแปลกหน้านอกบ้าน

การละเลยอาจรวมถึงการถูกทอดทิ้ง ได้แก่ การไม่หาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักพิง หรือสิ่งจำเป็นทางกายภาพอื่นๆ ให้แก่เด็ก นอกจากนี้ ยังมีการละเลยทางอารมณ์ เช่น การไม่ให้ความรัก หรือความสะดวกสบาย  การละเลยทางการแพทย์

การล่วงละเมิดทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นการล่วงละเมิดทางจิตวิทยา ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงกับการล่วงละเมิดทางวาจา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณค่าในตนเองของเด็ก หรือความสุขทางอารมณ์ของเด็ก

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก-การละเลยเด็ก

สัญญาณเตือนและอาการเมื่อเด็กโดนทารุณกรรมและทอดทิ้ง

ส่วนใหญ่แล้วเด็ก ๆ ที่โดนทารุณกรรมมักจะกลัวการบอกคนอื่น เพราะพวกเขามักจะคิดว่าเมื่อบอกแล้วจะถูกตำหนิหรือไม่มีใครเชื่อพวกเขา บางครั้งพวกเขาจึงเลยวิธีการเงียบเพราะคนที่ทำร้ายพวกเขาคือคนที่พวกเขารักมาก หรืออาจจะเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง

ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมองข้ามสัญญาณและอาการของการล่วงละเมิด เพราะพวกเขาไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความจริง ซึ่งนี่ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรง เด็กที่ถูกทารุณกรรมนั้นต้องการความช่วยเหลือและการรักษาเป็นพิเศษและโดยเร็วที่สุด ต่อไปถ้าพวกเขาถูกทำร้ายหรือถูกทิ้งให้จัดการกับสถานการณ์ด้วยตัวเอง มันจะยากต่อการรักษา ทั้งยังส่งผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของพวกเขาอีกด้วย

นี่คือสัญญาณทางกายภายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กที่อาจมีประสบการณ์โดนทารุณกรรมและทอดทิ้ง

สัญญาณทางกายภาพ

  • การบาดเจ็บต่าง ๆ เช่น รอยช้ำ รอยไหม้ การแตกหักในส่วนต่างๆ หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะไม่สามารถอธิบายได้
  • เด็กน้ำหนักน้อย (Failure to gain weight) โดยเฉพาะในเด็กทารก หรือ มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างฉับพลัน
  • ปวดอวัยวะเพศหรือมีเลือดออก
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่น่ากังวล

  • พฤติกรรมที่น่ากลัว เช่น ฝันร้าย ซึมเศร้า หรือมีความกลัวผิดปกติ
  • ปวดท้อง ปัสสาวะรดที่นอน โดยเฉพาะถ้าเด็กได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว
  • พยายามวิ่งหนี
  • พฤติกรรมทางเพศขั้นรุนแรงที่ดูไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในความมั่นใจตนเอง
  • ปวดหัวหรือปวดท้องโดยไม่มีสาเหตุ
  • ความกลัวที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
  • การเรียนล้มเหลว
  • พฤติกรรมรุนแรงมากหรือก้าวร้าว
  • พยายามถอนตัวหรือหนีห่างจากสังคม
  • พฤติกรรมรักใครที่ไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก
  • มีความอยากอาหารมากและมีพฤติกรรมขโมยอาหาร

ผลระยะยาว

ในกรณีส่วนใหญ่เด็กที่ถูกทารุณกรรมและทอดทิ้งมักจะมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าความเสียหายต่อสุขภาพร่างกาย การทารุณกรรมทางอารมณ์ จิตใจ และการปฏิเสธต่าง ๆ จะทำให้เด็กเกิดความสามารถในการรับมือกับความเครียด ทั้งยังเกิดทักษะใหม่ที่จะกลายเป็นความยืดหยุ่น แข็งแรง และประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น เด็กที่ถูกทารุณกรรมและทอดทิ้งอาจมีปฏิกิริยาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์หดหู่ไปจนถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรง

เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นก็อาจจะหันไปพึ่งพายาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ เป็นคนชอบวิ่งหนีปัญหา ปฏิเสธระเบียบวินัย หรือดูถูกผู้อื่น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เขาก็อาจจะมีปัญหาในชีวิตสมรสและเพศ รวมถึงมีภาวะซึมเศร้าหรือพฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้

แต่ไม่ใช่เด็กที่ถูกทารุณกรรมและทอดทิ้งทุกคนจะมีปฏิกิริยาที่รุนแรง โดยปกตอแล้วเด็กที่มีอายุน้อยมักจะได้รับการทารุณกรรมที่ยาวนาน และยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งเด็กกับผู้ที่ร้ายเด็กใกล้ชิดกันมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ให้การสนับสนุนเขา จะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นและลดผลกระทบบางอย่างลงได้

วิธีป้องกันและรับมือกับ การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก

สำหรับการป้องกันการทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กต้องใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • การสนับสนุนผู้ปกครองและผู้ดูแล การให้ข้อมูลและการสร้างทักษะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเลี้ยงดู โดยจะต้องไม่เลี้ยงดูแบบรุนแรง ซึ่งในส่วนนี้พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว จะต้องเข้าไปเยี่ยมบ้านหรือในชุมชนต่างๆ
  • แนวทางการศึกษาและทักษะชีวิต
    • เพิ่มการลงทะเบียนในการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด้กได้รับรู้ทักษะและประสบการณ์ที่สร้างความยืดหยุ่น และลดปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรง
    • โปรแกรมเพื่อป้องกันการทารุณกรรมทางเพศ โดยการสร้างการรับรู้และสอนทักษะ เพื่อช่วยให้เด็กและวัยรุ่นเข้าใจถึงความยินยอม หลีกเลี่ยง และป้องกันการทารุณกรรมทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ รวมถึงเรียนรู้ถึงการขอความช่วยเหลือและสนับสนุน
    • การแทรกแซงเพื่อสร้างบรรยากาศในโรงเรียนที่ดี รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความรุนแรง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้บริหาร
  • บรรทัดฐาน ค่านิยม และวิธีการ ควรเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคมและเรื่องเกี่ยวกับเพศให้เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ เรื่องของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก และความเท่าเทียมกันทางเพศก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งยังควรเสริมบทบาทการเลี้ยงดูลูกของพ่อให้เพิ่มขึ้นด้วย
  • การบังคับใช้กฎหมาย ควรมีกฎหมายที่ห้ามใช้ความรุนแรง เพื่อใช้ปกป้องเด็กๆ จากการถูกล่วงละเมิดทางเพศและการแสวงหาผลประโยชน์
  • บริการการตอบสนองและการสนับสนุน การรับรู้กรณีแรกนั้นรวมถึงการดูแลผู้ป่วย เด็ก และครอบครัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดการกระทำผิดและลดผลที่ตามมา

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มผลของการป้องกันและการดูแลให้มากที่สุด ทาง WHO แนะนำให้มีการแทรกแซงโดยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางสาธารณสุข 4 ขั้นตอน ดังนี้

  • การกำหนดปัญหา
  • การระบุสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
  • การออกแบบและทดสอบการแทรกแซงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
  • การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลขอการแทรกแซงและการเพิ่มขนาดของการแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Child Abuse and Neglect. https://www.helpguide.org/articles/abuse/child-abuse-and-neglect.htm. Accessed July 16, 2020

Child Abuse and Neglect. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/at-home/Pages/What-to-Know-about-Child-Abuse.aspx. Accessed July 16, 2020

Child maltreatment. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/child-maltreatment. Accessed July 16, 2020

Child abuse. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/child-abuse/symptoms-causes/syc-20370864. Accessed January 18, 2023

Child abuse. https://kidshealth.org/en/parents/child-abuse.html. Accessed January 18, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/02/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกเล่นกีฬา พ่อแม่จะป้องกันอย่างไรให้ลูกห่างไกลจากอาการบาดเจ็บ

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 15/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา