backup og meta

คาร์ซีท กับข้อควรรู้ก่อนใช้งาน

คาร์ซีท กับข้อควรรู้ก่อนใช้งาน

คาร์ซีท หรือ เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก เป็นอุปกรณ์ที่อาจช่วยป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเมื่ออยู่บนรถยนต์ เนื่องจากอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา การเลือกคาร์ซีทอาจต้องเลือกน้ำหนัก ขนาด ให้เหมาะสมกับเด็ก รวมถึงยังอาจต้องเลือกให้เหมาะกับอายุ และเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้อยู่ด้วย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

คาร์ซีท คืออะไร

คาร์ซีท หรือ เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก คือ อุปกรณ์ที่อาจช่วยปกป้องเด็กจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเมื่อโดยสารรถยนต์ เช่น รถชน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเลือกคาร์ซีทให้เหมาะสมกับน้ำหนักและขนาดตัว วัยของเด็ก รวมถึงรุ่นรถยนต์ที่ใช้อยู่ด้วย สำหรับเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรก่อนเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูก อาจมีดังนี้

  • เลือกคาร์ซีทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์
  • เรียนรู้วิธีติดตั้งและใช้งานคาร์ซีท เช่น การใช้สายรัด ก่อนจะให้ลูกใช้คาร์ซีทจริง ๆ
  • หากต้องการความช่วยเหลือหรือตรวจสอบว่าติดตั้งคาร์ซีทได้ถูกต้องหรือไม่ อาจต้องไปยังที่สถานที่ที่ซื้อคาร์ซีท เพื่อให้ผู้ขายช่วยตรวจสอบอีกครั้ง
  • ทารกอาจเริ่มต้นการใช้คาร์ซีทด้วยการหันหน้าไปทางด้านหลังของรถยนต์ หรือใช้เบาะแบบที่เปลี่ยนได้ และเมื่อเด็กโตขึ้น อาจเปลี่ยนให้เด็กนั่งหันหน้าไปทางด้านหน้าของรถยนต์

นอกจากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องรู้ก่อนที่จะทำการเลือกซื้อคาร์ซีท ดังนี้

1. ศึกษาให้ดีก่อนซื้อคาร์ซีทมือสองมาใช้งาน

หากกำลังพิจารณาที่จะซื้อคาร์ซีทมือสองมาใช้งาน อาจจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า

  • คาร์ซีทมือสองมาพร้อมกับคำแนะนำ ฉลากแสดงวันที่ผลิต และหมายเลขรุ่น
  • คาร์ซีทนั้น ๆ ปลอดภัย ไม่ถูกเรียกคืน หรือให้งดใช้งาน
  • ไม่หมดอายุ หรืออายุยังไม่เกิน 6 ปี
  • ไม่มีความเสียหายที่มองเห็น หรือไม่มีชิ้นส่วนที่หายไป
  • หากไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนของคาร์ซีท ไม่ควรซื้อมาใช้งาน

2. วางเบาะรถยนต์ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง

สถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดในการวางคาร์ซีท คือ เบาะหลังซึ่งห่างจากถุงลมนิรภัย หากวางคาร์ซีทเอาไว้ที่ด้านหน้า เมื่อถุงลมนิรภัยพองขึ้น อาจกระแทกศีรษะเด็ก และส่งผลให้เด็กบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เด็กที่นั่งอยู่ในคาร์ทซีทที่หันไปทางด้านหน้า อาจได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัยได้

หากจำเป็นต้องเดินทางด้วยยานพาหนะ เช่น รถปิ๊กอัพที่มีที่นั่งแถวเดียว อาจปิดการใช้งานถุงลมนิรภัยด้านหน้า หรือติดตั้งสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงลมนิรภัยทำงานและกระแทกเด็ก และหากต้องวางคาร์ซีทอาจวางเอาไว้ที่เบาะหลัง ในช่วงกึ่งกลางของที่นั่ง แทนการวางคาร์ซีทติดกับประตู ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บระหว่างเกิดอุบัติเหตุ

3. ปรับหรือติดตั้งเบาะรถยนต์ไม่ถูกวิธี

ก่อนที่จะติดตั้งคาร์ซีทกับเบาะรถยนต์ ควรอ่านคำแนะนำของผู้ผลิตและส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ในคู่มือสำหรับเจ้าของรถ และอาจตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่นั่งนั้น ๆ ติดแน่นอยู่กับที่ หรือสามารถเคลื่อนไหวได้ไม่เกิน 1 นิ้ว โดยวัดจากทางด้านข้าง หรือด้านหน้าไปด้านหลัง เมื่อจับพบจุดที่จะติดตั้งแล้ว อาจต้องหันหน้าคาร์ซีทไปในทิศทางที่ถูกต้อง

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องหันคาร์ซีทไปด้านหลังของรถยนต์ แนะนำให้ปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

  • ใช้ช่องใส่สายรัดตามที่คู่มือการใช้งานระบุเอาไว้ โดยเบาะติดสายคาดนิรภัยจะอยู่ที่ด้านล่าง หรือที่ไหล่ของเด็ก วางสายรัดเหนือไหล่ของลูก
  • หัวเข็มขัดของสายรัดและคลิปในการรัดสายควรอยู่บริเวณหน้าอก โดยอาจตรวจสอบให้แน่ใจว่า สายรัดและคลิปในการรัดสายนั้นราบไปกับหน้าอกและสะโพกของเด็กโดยไม่หย่อน อาจต้องวางผ้าห่มเล็ก ๆ ที่ม้วนแน่นไว้ข้างเด็ก เพื่อใช้ในการรองรับศีรษะและคอ

4. คาร์ซีทอยู่ในมุมที่ไม่ถูกต้อง

ความจริงแล้วตำแหน่งที่ถูกต้องของการวางคาร์ซีท คือ ควรปรับเบาะให้หันไปทางด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะของเด็กพลิกไปข้างหน้า อาจต้องรัดเข็มขัดนิรภัย โดยเปิดทางเดินหายใจของเด็กให้สะดวก แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอาจต้องปรับคาร์ซีทให้เหมาะสมอีกครั้ง โดยดูรายละเอียดได้จากคำแนะนำของผู้ผลิต

5. การย้ายตำแหน่งเบาะไปข้างหน้าเร็วเกินไป

การวางคาร์ซีทในตำแหน่งหันไปข้างหน้า ก็เพียงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เห็นเด็ก ๆ ได้จากกระจกมองหลัง แต่การหันหน้าไปทางข้างหลังรถยนต์ให้เป็นเวลานานที่สุด จนกว่าเด็กจะมีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามที่ผู้ผลิตเบาะรถยนต์กำหนด อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การเปลี่ยนตำแหน่งของคาร์ซีทไปทางด้านหน้า อาจต้องทำตามขั้นตอนดังนี้

  • ติดตั้งคาร์ซีทตามคำแนะนำของผู้ผลิต โดยใช้เข็มขัดนิรภัย หรือจุดยึดที่อยู่ด้างล่างของเบาะ
  • ใช้สายรัดเกี่ยวกับด้านบนของเบาะรถยนต์ เพื่อให้คาร์ซีทอยู่กับที่ ไม่ขยับเวลารถเคลื่อนที่
  • ปรับสายรัดให้อยู่ที่ไหล่ หรือสูงกว่าไหล่ของเด็ก อาจปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับเด็กจะเป็นการดีที่สุด

6. ไม่ถอดแจ็คเก็ตหนา ๆ หรือเอาผ้าห่มของเด็กออก

แจ็คเก็ตหนา ๆ หรือผ้าห่ม อาจป้องกันการรัดของเข็มขัดนิรภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น หากนำแจ็คเก็ตหนา ๆ หรือผ้าห่มมาคลุมเอาไว้บนตัวเด็ก อาจช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับเด็กได้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Car Seat Safety. https://kidshealth.org/en/parents/auto-baby-toddler.html. Accessed March 19, 2020

Car Seats: Information for Families. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/on-the-go/Pages/Car-Safety-Seats-Information-for-Families.aspx. Accessed March 19, 2020

Car seat safety: Avoid 9 common mistakes. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/car-seat-safety/art-20043939. Accessed March 19, 2020

Car Seats and Booster Seats. https://www.nhtsa.gov/equipment/car-seats-and-booster-seats. Accessed September 25, 2021

Keep Child Passengers Safe. https://www.cdc.gov/injury/features/child-passenger-safety/index.html. Accessed September 25, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมเยาวชน แนะนำเล่มไหนดีที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ พ่อแม่ควรดูแลลูกอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา