backup og meta

ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ อัตราของ ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ เพิ่มสูงขึ้นสูงมาก นอกเหนือจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างทั้งกรรมพันธุ์ อายุครรภ์ หรือภาวะสุขภาพของมารดา ยังมีเหตุผลเบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ สำหรับความเชื่อที่แพร่หลายว่า ยิ่งทารกมีน้ำหนักแรกคลอดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีมากเท่านั้น ความจริงเป็นอย่างไรกันแน่ ส่งผลต่อสุขภาพดีหรือร้ายมากกว่ากัน

[embed-health-tool-due-date]

ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ดีอย่างไร

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Federation of American Societies for Experimental Biology ที่มีจุดประสงค์เพื่อชี้ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะต่าง ๆ ของครรภ์มารดา กับน้ำหนักของทารกแรกเกิด และความเสี่ยงของการเป็นโรคต่าง ๆ ในอนาคต

นักวิจัยพบว่าทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมาก จะมีรูปแบบดีเอ็นเอที่ต่อสู้กับโรคได้ดีกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย การค้นพบครั้งใหม่นี้ตามที่ ดร.แคลร์ ควิลเตอร์ แห่งภาควิชาพยาธิวิทยาของมหาวิทยาลัย ได้พิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงที่ปฏิเสธไม่ได้ ระหว่างขนาดตัวของเด็กแรกเกิด กับแนวโน้มในการเกิดโรคต่าง ๆ ในอนาคต หรือถ้าพูดให้เฉพาะเจาะจงกว่านั้นก็คือ เด็กที่มีขนาดตัวโตกว่า จะมีโอกาสในการเป็นโรคในช่วงวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่น้อยกว่า

ผลการเรียนดีกว่า

งานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นหนึ่งที่ประเมินชายและหญิงกว่า 3,900 คน ใน 5 ช่วงวัยของชีวิต ได้แก่ ช่วงแรกเกิด อายุ 8 ปี อายุ 11 ปี อายุ 15 ปี และอายุ 26 ปี พบว่า เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่าจะมีความสามารถในการรับรู้มากกว่าเล็กน้อย ส่งผลให้มีคะแนนสอบและผลการเรียนที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับคนรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะมีภูมิหลังทางสังคมอย่างไรก็ตาม

ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มผู้ชายวัยทำงาน ผู้ที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า (ตั้งแต่ 3.9 กิโลกรัมขึ้นไป) มักมีแนวโน้มที่จะมีการศึกษาระดับมัธยมปลายและมีผลการเรียนที่ดี คิดเป็นร้อยละ 45 ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย (ตั้งแต่ 2.49 กิโลกรัมลงไป) มีแนวโน้มในเรื่องดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 31

ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ไม่ดีอย่างไร

เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ก็อาจคลอดยากกว่า และทำให้เสี่ยงเกิดการบาดเจ็บระหว่างคลอดมากขึ้น หากทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม อาจทำให้ช่องคลอดฉีกขาด เสียเลือดมาก และกระดูกก้นกบเสียหายได้ นอกจากนี้ หาก ทารกแรกเกิดตัวใหญ่ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการต้องผ่าคลอด เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่แม่จะคลอดเด็กตัวโตได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เวลาการศึกษานาน 10 ปี และตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Pediatrics and Adolescent Medicine เผยว่า ทารกที่มีน้ำหนักเกินค่าเฉลี่ยที่แนะนำในช่วงสองปีแรก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนตอนอายุ 5-10 ปี รวมถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ด้วย ยิ่งตอนเป็นทารกมีน้ำหนักมากเท่าไร ตอนโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะยิ่งมีโอกาสมีน้ำหนักตัวมากขึ้นเท่านั้น

ผลของงานวิจัยนี้อิงจากข้อมูลของทารกมากกว่า 44,000 คน ในช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 10 ปี โดยคุณเอลซี่ ทาเวราส หัวหน้าคณะวิจัยเตือนว่า พ่อแม่ไม่ควรทึกทักเอาเองว่า เด็กที่น้ำหนักเกินจะ “โตขึ้นแล้วก็ผอมเอง”

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจก็คือ โภชนาการและการรับประทานอาหารของเด็ก ๆ คุณควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ รู้จักปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลาย เป็นเมนูที่มีทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และขนมในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กเบื้องต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Big may be better when it comes to babies http://www.telegraph.co.uk/news/health/news/11202267/Big-may-be-better-when-it-comes-to-babies.html Accessed December 31, 2022.

Worried about having a big baby? Four things to know about birth weight.

https://utswmed.org/medblog/big-baby-birth/. Accessed December 31, 2022.

Bigger Is Better: Healthy Mom, Smart Baby https://www.psychologytoday.com/articles/200105/bigger-is-better-healthy-mom-smart-baby Accessed December 31, 2022.

Starting Solid Foods: What Every Parent Should Know. https://www.webmd.com/parenting/baby/default.htm. Accessed December 31, 2022.

Fetal macrosomia http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fetal-macrosomia/basics/complications/con-20035423 Accessed December 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

หมดปัญหา ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ด้วยวิธีการเหล่านี้

รับลูกกลับบ้านจากโรงพยาบาล วันแรก ควรดูแลลูกอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา