backup og meta

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

ขาดอากาศหายใจ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง โดยภาวะขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่มากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีทั่วโลก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้น

ขาดอากาศหายใจ คืออะไร

การขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตของทารก โดยอาจเกิดขึ้นในช่วงปีแรกของเด็กทารก และมักพบได้มากสุดในช่วง 9 -11 เดือน อย่างไรตาม ความเสี่ยงยังอาจเกิดขึ้นได้จนกระทั่งเด็กมีอายุ 6 ปี จนกว่าพัฒนาการของหลอดลม และกลไกการหายใจมีความสมบูรณ์

สาเหตุที่ทำให้ ขาดอากาศหายใจ

โดยส่วนใหญ่แล้วการขาดอากาศหายใจในเด็ก อาจเกิดจากการสำลัก การถูกบีบรัด และการถูกวัสดุต่าง ๆ ปิดคลุมจนหายใจไม่ออก นอกจากนั้น สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการขาดอากาศหายใจในเด็กที่พบได้มากที่สุด ดังนี้

  • เครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่ม อาจสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนหลับที่สบายมากขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถ และยกศีรษะได้อย่างเต็มที่ เมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น วัตถุต่าง ๆ ที่สามารถบดบังใบหน้าของเด้กได้ต้องนำออกไปให้ห่าง เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจในเด็ก
  • สถานที่ปิด เช่น ในตู้เย็นขนาดเล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว กล่อง ที่เก็บของท้ายรถ ตู้เสื้อผ้า เป็นบริเวณที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เด็กเข้าไปใกล้ หรือเข้าไปเล่นในบริเวณที่เป็นสถานที่ปิดสนิท เนื่องจาก มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถออกมาได้ และอาจไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอในการหายใจ
  • ของเล่น เช่น ตุ๊กตาขนาดเล็ก จิ๊กซอว์ ของเล่นที่แยกชิ้นส่วนได้ ที่สามารถนำเข้าปาก อาจหลุดลงคอและทำให้ขาดอากาศหายใจได้ นอกจากนี้ ของเล่นที่มีสายยาวก็อาจบีบรัดหรือทำให้เด็กสำลัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการหายใจไม่ออกได้เช่นกัน
  • วัตถุขนาดเล็ก เช่น ลูกโป่งยาง กระดุม ฝาขวด ตัวต่อ วัตถุที่รับประทานไม่ได้อื่น ๆ อาจทำให้เด็กสำลักเมื่อรับประทานเข้าไป ทั้งยังอาจติดอยู่บริเวณหลอดอาการจนทำให้ขาดอากาศหายใจ
  • อาหารชิ้นเล็ก มีทรงกลม และแข็ง เช่น องุ่น ถั่วต่าง ๆ เมล็ดพืชต่าง ๆ ลูกอมแข็ง เป็นอาหารที่สามารถหลุดลงไปในหลอดอาหารได้ จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้
  • เสื้อผ้าที่มีสาย แถบ หรือเส้น สามารถบีบรัดทารกบริเวณคอของเด็ก จนอาจทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Preventing choking and suffocation in children http://www.cps.ca/documents/position/preventing-choking-suffocation-children Accessed April 7, 2017

Household Safety: Preventing Suffocation. https://kidshealth.org/en/parents/safety-suffocation.html. Accessed April 7, 2017

Suffocation Hazards https://www.familyeducation.com/life/home-safety/suffocation-hazards Accessed April 7, 2017

Preventing strangulation and suffocation. https://raisingchildren.net.au/babies/safety/choking-strangulation/strangulation-suffocation#:~:text=Dummies%2C%20bottles%2C%20prams%2C%20strollers,boxes%2C%20pillows%20or%20plastic%20bags. Accessed May 12, 2022

Safety: Choking, suffocation and strangulation prevention. https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Choking_suffocation_and_strangulation_prevention/. Accessed May 12, 2022

Choking and Suffocation Prevention, Children Ages Birth to 19 Years. https://www.health.ny.gov/prevention/injury_prevention/children/fact_sheets/birth-19_years/choking_and_suffocation_prevention_birth-19_years.htm. Accessed May 12, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2022

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก็สำคัญสำหรับเด็ก ๆ เหมือนกันนะ!

ลูกดูดนิ้ว ไม่ยอมเลิก พ่อแม่จัดการกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 12/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา