backup og meta

เด็กสมาธิสั้น กับการวางแผนการเรียนสำหรับเด็ก

เด็กสมาธิสั้น กับการวางแผนการเรียนสำหรับเด็ก

เด็กสมาธิสั้น เป็นอาการสมองและระบบประสาท ที่อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและพฤติกรรมผิดปกติ และหากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเรียนได้ อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเรียนและการใช้ชีวิตที่เหมาะสมให้กับเด็กสมาธิสั้น อาจช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้ด้วย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

โรคสมาธิสั้น คืออะไร

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง กล่าวคือ สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้สมาธิ การจดจ่อ เป็นต้น ทำงานผิดปกติ จนอาจส่งผลเด็กสมาธิสั้นมีอาการอยู่นิ่งไม่ได้ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นนาน ๆ ไม่ได้ เหม่อลอย วอกแวกง่าย มีอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น และเด็กสมาธิสั้นมักพบโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคกล้ามเนื้อกระตุก โรคการเรียนรู้บกพร่อง

การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น การปรึกษาคุณหมอหรือนักบำบัด และในบางกรณีอาจต้องรับประทานยาควบคู่ไปด้วย เช่น เมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) โดยระยะเวลาและวิธีในการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

แผนการเรียนสำหรับ เด็กสมาธิสั้น

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกสมาธิสั้นอาจกังวลว่า ทำอย่างไรลูกจึงจะมีผลการเรียนที่ดี เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน และไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นาน ๆ ทั้งยังอาจมีพฤติกรรม เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับหรือแผนการเรียนต่อไปนี้ อาจช่วยให้เด็กสมาธิสั้นสามารถเรียนหนังสือ หรือเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

  • วางแผนสำหรับสิ่งที่ควรทำ โดยอาจวางแผนสิ่งที่ต้องทำ หรือกำหนดการต่าง ๆ ในกระดาษ ปฏิทิน โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้จดจำได้ดีขึ้น และหากลูกลืม คุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวก็สามารถช่วยเตือนความจำเด็กได้ด้วย
  • กำหนดเวลาสำหรับแต่ละกิจกรรม เด็กสมาธิสั้นมักจดจ่อกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้ไม่นาน ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การออกกำลังกาย การพักผ่อน การใช้เวลากับเพื่อน อาจช่วยจัดสรรเวลาให้เป็นระเบียบ ป้องกันการถูกรบกวนขณะทำกิจกรรม และอาจช่วยให้สามารถปรับปรุงเวลาและกิจกรรมให้เหมาะสมสำหรับเด็กมากขึ้นได้
  • พยายามอ่านทบทวนบทเรียนทุกวัน วิธีนี้อาจเหมาะกับเด็กสมาธิสั้นมากกว่าการอ่านทีเดียวตอนใกล้สอบซึ่งอาจทำให้เด็กเครียดและวิตกกังวลมากไปได้ การทบทวนบทเรียนทุกวันพร้อมจดบันทึกย่อหรือโน้ตไปด้วย อาจช่วยกระตุ้นให้เด็กจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น โดยไม่เครียดมาก และไม่เสียสมาธิหรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน
  • หาวิธีหรือเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนของเด็ก เช่น การจดบันทึกย่อ การพูดคุยทบทวนบทเรียนกับเพื่อนคนอื่น ๆ การเปลี่ยนสถานที่ทำการบ้าน อาจช่วยทำให้เด็กสมาธิสั้นมีสมาธิเพิ่มขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวสามารถช่วยกระตุ้นกลีบสมองบริเวณส่วนหน้าได้
  • สร้างแรงจูงใจ ด้วยการกำหนดรางวัลเอาไว้ เมื่อเด็กสามารถทำภารกิจต่าง ๆ ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม อาจไม่ควรใช้วิธีนี้บ่อย ๆ หรือไม่ควรทำให้เด็กเข้าใจผิดว่า ต้องมีรางวัลถึงจะยอมทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กสมาธิสั้น เด็กสมาธิสั้นบางคนอาจเหมาะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ห้องสมุด ในขณะที่เด็กบางคนอาจเหมาะเรียนรู้เป็นกลุ่ม

เคล็ดลับช่วยสร้างความสัมพันธ์ในโรงเรียนให้ เด็กสมาธิสั้น

การสร้างความสัมพันธ์ในโรงเรียนหรือการสร้างมิตรภาพกับเด็กคนอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้การเรียนหนังสือเช่นกัน เนื่องจากการอยู่ร่วมกันในโรงเรียนระหว่างเด็กปกติและเด็กสมาธิสั้นถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจำเป็นต้องปรึกษากับคุณครูที่โรงเรียน เพื่อร่วมกันหาวิธีให้เด็กสมาธิสั้นสามารถใช้ชีวิตในโรงเรียนร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ และบุคลากรในโรงเรียนได้อย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตาม วิธีเหล่านี้อาจช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในโรงเรียนให้กับเด็กสมาธิสั้นได้

  • ให้เด็กนั่งหน้าชั้นเรียน เพื่อลดสิ่งรบกวน
  • หากเด็กพกโทรศัพท์มือถือ ควรแนะนำให้ปิดมือถือขณะทำการบ้าน
  • ให้เด็กสมาธิสั้นฝึกสมาธิเป็นประจำ เพื่อจะได้จดจ่อกับการเรียนได้ดีขึ้น อีกทั้งการฝึกสมาธิยังอาจให้เด็กคลายเครียดได้ด้วย
  • ให้เด็กได้ทำสิ่งที่ชอบ เพราะอาจทำให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้นานขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีฝึกสมาธิที่อาจได้ผลดีเยี่ยมสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • หากมีกิจกรรมของโรงเรียนเยอะเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากับคุณครูเพื่อขอลดกิจกรรมลง เพราะอาจช่วยให้เด็กจดจ่อกับการเรียนและการทำการบ้านได้มากขึ้น
  • พยายามหาเวลาพัฒนาความสามารถและความสนใจให้แก่เด็กอยู่เสมอ
  • ให้เด็กออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง
  • บางครั้งเด็กสมาธิสั้นอาจพูดหรือทำอะไรลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วมารู้สึกเสียใจภายหลัง ซึ่งคุณครูอาจต้องช่วยอธิบายให้เพื่อนร่วมชั้นเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างเด็กสมาธิสั้นกับเด็กคนอื่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Better Study Habits for ADHD Kids. https://www.webmd.com/add-adhd/childhood-adhd/ss/slideshow-adhd-study-habits. Accessed on September 9 2019.

โรคสมาธิสั้น. https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/09042014-1854. Accessed December 6, 2021

Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD). https://www.nhs.uk/conditions/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/symptoms/. Accessed December 6, 2021

Attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) in children. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/symptoms-causes/syc-20350889#:~:text=The%20primary%20features%20of%20ADHD,they%20may%20continue%20into%20adulthood. Accessed December 6, 2021

Tips for Teaching Kids With ADHD. https://www.webmd.com/add-adhd/childhood-adhd/adhd-tips-teacher. Accessed December 6, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรียนหนัก มากเกินไป ส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง

สไตล์การเรียนรู้ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อเด็ก ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 04/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา