backup og meta

ปลุกใจวัยใส ทำอย่างไรเมื่อ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

ปลุกใจวัยใส ทำอย่างไรเมื่อ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

เมื่อถึงช่วงเวลาของการต้องไปโรงเรียน ดูเหมือนว่าผู้ปกครองหลายท่านคงจะหนักใจกับเด็กๆ ไม่น้อย เพราะเด็กบางคนมีอาการวิตกกังวล เด็กไม่อยากไปโรงเรียน รวมถึงมีภาวะเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น Hello คุณหมอ ขอนำบทความที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก พร้อมทั้งวิธีสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้พวกเขาอยากไปโรงเรียนมาฝากกัน

เหตุผลที่ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

การไม่อยากไปโรงเรียนของเด็ก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การปฏิเสธโรงเรียน” โดยสาเหตุที่ทำให้มีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากเด็กอาจรู้สึกอารมณ์เสีย เมื่อนึกถึงการต้องไปโรงเรียน หรืออาจจะคิดถึงวันหยุดจนทำให้เกิดความทุกข์ นอกจากนั้นปัญหาในการไปโรงเรียน หรือปัญหาในการออกจากบ้าน ก็ทำให้เด็กเกิดการปฏิเสธโรงเรียน จนถึงขั้นไม่ยอมไปโรงเรียนเลยก็เป็นได้ ซึ่งเด็กเหล่านี้มักใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองตลอดทั้งวัน แต่การปฏิเสธโรงเรียนนั้น ไม่ใช่การวินิจฉัยทางจิตเวชอย่างเป็นทางการ มันเป็นเพียงปัญหาทางอารมณ์ หรือพฤติกรรมเท่านั้น

สัญญาณเตือนให้รู้ว่าเด็กกังวลกับการไปโรงเรียน

การไปโรงเรียนสำหรับเด็กบางคน เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างมาก อาการเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดภาวะเครียด จนแสดงพฤติกรรมออกมาให้ผู้ปกครองได้เห็น ซึ่งสัญญาณเตือนต่างๆ สามารถสังเกตได้ดังนี้

  • การพยายามค้นหาความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง หรือมีคำถามซ้ำๆ แม้จะได้รับคำตอบแล้วก็ตาม
  • การเรียกร้องทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง แม้จะไม่ได้ป่วยจริง
  • ปกติแล้วเด็กส่วนใหญ่มักจะเข้านอนเร็ว แต่เมื่อเกิดความกังวลจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องการนอน โดยอาจจะใช้เวลาในการเข้านอนนานขึ้น หรืออาจตื่นในช่วงกลางดึก ซึ่งการนอนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • เด็กจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ต้องเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น การเยี่ยมชมโรงเรียน การพบปะกับอาจารย์ผู้สอน หรือเลี่ยงการเข้าชั้นเรียน เป็นต้น

วิธีทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในโรงเรียน

ผู้ปกครองหลายท่าน คงเกิดความวิตกกังวล เมื่อเริ่มสังเกตเห็นเด็กมีการปฏิเสธโรงเรียน ตามพฤติกรรมตามที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นวิธีที่ผู้ปกครองจะสามารถ ช่วยให้เด็กอยากไปโรงเรียนก็คือ การทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในโรงเรียน ซึ่งวิธีสร้างแรงบันดาลใจ มีดังนี้

  • ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำการบ้าน เพราะนั่นเป็นการแสดงให้เด็กเห็นว่า ผู้ปกครองพร้อมที่จะตอบคำถามเสมอ
  • พยายามพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในแต่ละวัน ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน แนะนำให้ใช้วิธีการพูดคุยมากกว่าการซักถาม  เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่าผู้ปกครองกำลังตั้งคำถามมากเกินไป
  • ปล่อยให้เด็กทำผิดบ้าง เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ว่าการพ่ายแพ้นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีใครสามารถสอบได้คะแนนที่ดีตลอดเวลา ดังนั้นการสอบไม่ได้คะแนนเต็ม จะทำให้เขามีแรงผลักดันเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเด็กยังจะค้นหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาไม่ได้เตรียมตัว ทั้งยังได้เรียนรู้วิธีการเตรียมตัวอย่างถูกต้องอีกด้วย
  • การให้รางวัลเมื่อเด็กทำดีในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวของกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการให้สิ่งของ การพาออกไปข้างนอก การสัมผัสต่างๆ เช่น การกอด การชมเชย หรือแม้แต่การแบ่งเวลาพัก ให้พวกเขาเป็นรางวัลก็ได้
  • การหาศิษย์เก่าในโรงเรียนมาช่วยเด็กทำการบ้าน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทำ เพราะนั่นจะเป็นการช่วยลดความตึงเครียดออกไปจากความสัมพันธ์ของผู้ปกครองและเด็ก นอกจากนั้นการที่เด็กได้อยู่กับคนที่อยู่ใกล้เคียงกันจะทำให้เขารู้สึกว่ามีคนรับฟังมากขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

School refusal: children 5-8 years. https://raisingchildren.net.au/school-age/school-learning/school-refusal/school-refusal. Accessed on September 2 2019.

Back to school anxiety. https://www.health.harvard.edu/blog/back-to-school-anxiety-2018082314617. Accessed on September 2 2019.

How to Help Your Child Get Motivated in School. https://childmind.org/article/how-to-help-your-child-get-motivated-in-school/. Accessed on September 2 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/09/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก เป็นอย่างไร

วิตกกังวล (Anxiety)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 17/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา