backup og meta

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

โรคออทิสติก สเปกตรัม หรือ Autism spectrum disorder คือ ภาวะที่เกี่ยวกับการพัฒนาของสมอง ที่มีผลต่อการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและมีปัญหาด้านการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดานการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจจะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดในด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและเข้าสังคมได้เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่

[embed-health-tool-vaccination-tool]

Autism spectrum disorder คือ อะไร

ออทิสติก สเปกตรัม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมอง พบตั้งแต่ก่อนอายุ 3 ขวบ บางคนอาจมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 12 เดือน โรคนี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร รวมทั้งส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ทำกิจวัตรเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ชอบอยู่คนเดียว จดจ่อเพียงแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ (ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงต่างกันไป)

อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติก สเปกตรัม ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วไปในการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ เช่น เลือกเสื้อผ้าเอง การสวมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง รับประทานอาหารเอง โดยคุณหมอและนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยวางแผนโปรแกรมการฝึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของคุณหมอ

ปัจจัยเสี่ยงของ Autism spectrum disorder

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เด็กเป็นออทิสติก สเปกตรัมมีดังนี้

  • พันธุกรรม ครอบครัวที่มีประวัติเป็นออทิสติกอาจมีแนวโน้มที่จะมีลูกเป็นออทิสติกได้ นอกจากนี้ หากพ่อแม่เป็นมีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome) ยีนกลายพันธุ์ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็นออทิสติก สเปกตรัมได้เช่นกัน
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การติดเชื้อไวรัส ยาบางชนิด มลพิษ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็นโรคออทิสติกได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าปัจจัยเหล่านี้เชื่อมโยงกันหรือไม่
  • การคลอดก่อนกำหนด ทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ อาจมีความเสี่ยงเป็นออทิสติก สเปกตรัม
  • มีลูกในช่วงอายุมาก ครอบครัวที่มีลูกในช่วงอายุมากอาจมีความเสี่ยงทำให้ลูกเป็นออทิสติก สเปกตรัม แต่ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนี้

อาการของ Autism spectrum disorder ในเด็ก

อาการของออทิสติก สเปกตรัมในเด็กมีดังนี้

การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

  • ชอบเล่นคนเดียว มีโลกส่วนตัวสูง ไม่เข้าสังคม
  • ต่อต้านการโดนกอด การจับมือ ไม่สบตา
  • ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ
  • มีพัฒนาการพูดที่ล่าช้า พูดไม่เป็นคำ หรือไม่สามารถพูดประโยคยาว ๆ ได้
  • ไม่สามารถเริ่มการสนทนาก่อนหรือพูดโต้ตอบ บางคนอาจจะพูดเมื่อต้องการบางอย่างเท่านั้น
  • พูดด้วยน้ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์
  • พูดคำซ้ำ ๆ แต่อาจไม่เข้าใจความหมาย
  • ไม่เข้าใจในคำแนะนำและคำถามต่าง ๆ
  • ไม่สามารถรับรู้และไม่เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่นได้
  • อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน

การแสดงออกทางพฤติกรรม

  • อาจทำร้ายตัวเอง เช่น ตบหัว กัด
  • เคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ ๆ เช่น หมุนตัว สะบัดมือ โยกตัว
  • มีความไวต่อแสง สี และเสียงรอบตัว
  • มีท่าทางและการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น ภาษากายแปลก ๆ แข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ เดินเขย่งด้วยปลายนิ้วเท้า
  • มีความชอบเฉพาะอย่าง เช่น อาหารเดิม ๆ กิจกรรมเดิม ๆ และมักจะปฏิเสธเมื่อถูกสั่งให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
  • เล่นของเล่นได้ แต่ไม่อาจเข้าใจการใช้งานของวัตถุนั้นจริง ๆ เช่น จับรถหงายท้องแล้วหมุนแต่ล้อรถ

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น ไม่ยอมสบตา ไม่ตอบสนองด้วยรอยยิ้มภายใน 6 เดือน ไม่ส่งเสียงร้องหรือพูดคุยเป็นคำเดี่ยวเมื่ออายุได้ 12 เดือนขึ้นไป ไม่มีการแสดงออกด้วยการโบกมือ ชี้นิ้ว ภายใน 14 เดือน ควรพบคุณหมอทันที เพื่อรับการตรวจว่าลูกเสี่ยงเป็นออทิสติก สเปกตรัมหรือไม่

การรักษา Autism spectrum disorder

ไม่มีวิธีการรักษาออทิสติก สเปกตรัมให้หายขาด แต่อาจสามารถบำบัดเพื่อช่วยปรับปรุงพฤติกรรมและการสื่อสาร ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ

วิธีการรักษาออทิสติก สเปกตรัม มีดังนี้

  • ยารักษา ไม่มียาสำหรับรักษาออทิสติก สเปกตรัมโดยเฉพาะ แต่คุณหมออาจให้ยาคลายความวิตกกังวล หรือยารักษาอาการซึมเศร้า เพื่อควบคุมอาการทางจิต สำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมรุนแรงและสมาธิสั้น เพื่อให้เข้าสังคมได้
  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นการบำบัดเพื่อช่วยปรับทัศนคติ ความคิด และพฤติกรรมของเด็ก อาจช่วยบรรเทาพฤติกรรมที่ชอบทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ และช่วยให้เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • การบำบัดด้านการสื่อสาร คือการบำบัดที่มุ่งเน้นการฝึกภาษาและการสื่อสารกับผู้อื่น ช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ สนทนากับผู้อื่น ที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • การบำบัดด้านการศึกษา เป็นการเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วัยเรียน เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรม การเข้าสังคม และการสื่อสารกับคนอื่นได้ดีมากขึ้น มุ่งเน้นให้เด็กเข้าระบบการศึกษาปกติได้
  • ครอบครัวบำบัด คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการบำบัด เพื่อนำทักษะที่คุณหมอแนะนำไปฝึกให้ลูกเมื่ออยู่ที่บ้าน เป็นการเพิ่มทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสาร และการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวอาจมีความวิตกกังวล ความเครียดในการดูแลเด็กที่เป็นออทิสติก วิธีครอบครัวบำบัดนี้จะทำให้ทุกคนในครอบครัวเข้าใจวิธีการดูแล และลดความเครียดในครอบครัวได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลเด็ก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Autism Spectrum Disorder?. https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/facts.html. Accessed April 25, 2022

Autism spectrum disorder. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/autism-spectrum-disorder/symptoms-causes/syc-20352928. Accessed April 25, 2022

What Are the Types of Autism Spectrum Disorders?. https://www.webmd.com/brain/autism/autism-spectrum-disorders. Accessed April 25, 2022

Autism Spectrum Disorder. https://medlineplus.gov/autismspectrumdisorder.html. Accessed April 25, 2022

What is autism? https://www.nhs.uk/conditions/autism/what-is-autism/. Accessed April 25, 2022

พีดีดี เอ็นโอเอส PDD NOS (Pervasive Developmental Disorder, Not Otherwise Specified). https://th.rajanukul.go.th/preview-5039.html. Accessed April 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การเลี้ยงลูก ให้สุขทั้งกายและใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

เด็กนอนกัดฟัน สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา