backup og meta

จัด ฟัน เด็ก ดีอย่างไร อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้

จัด ฟัน เด็ก ดีอย่างไร อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้

จัด ฟัน เด็ก เป็นวิธีการรักษาปัญหาทันตกรรม เช่น ฟันผุ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาความสวยงามของรอยยิ้มและใบหน้า ซึ่งการจัดฟันอาจช่วยให้เด็ก ดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต โดยเด็กจะเริ่มจัดฟันได้เมื่ออายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่

[embed-health-tool-vaccination-tool]

จัด ฟัน เด็ก ทำได้เมื่ออายุเท่าไหร่

จัดฟันเด็กสามารถทำได้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ โดยคุณหมออาจแนะนำให้จัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย หากพบว่าการเรียงตัวของฟันผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากกรามของเด็กยังคงมีความยืดหยุ่นมากและตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จึงช่วยให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น และอาจช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟัน

สำหรับระยะเวลาในการจัดฟันของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัญหาของฟันและการวินิจฉัยของคุณหมอ ซึ่งเวลาเฉลี่ยในการจัดฟันอาจใช้เวลาประมาณ 2 ปี หากเด็กเข้ามาพบคุณหมอเพื่อปรับเครื่องมือตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ

หลังจากจัดฟันเสร็จเรียบร้อย เด็กจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นลวดโลหะหรือชิ้นส่วนพลาสติกพิเศษลักษณะคล้ายฟันยางอยู่ตลอด เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม

จัดฟันเด็ก ควรทำเมื่อมีปัญหาอะไร

การจัดฟันเด็กอาจเริ่มทำได้หากพบว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น การสบฟันผิดปกติ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ฟันล่างยื่นทับฟันบน ฟันหน้าไม่สบกัน ฟันบางซี่ไม่งอกออกมาจากเหงือกเต็มที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกัดหรือการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ฟันผุเนื่องจากฟันซ้อนทับกันจนไม่สามารถทำความสะอาดได้

การจัด ฟัน เด็ก นอกจากจะเป็นวิธีการรักษาตำแหน่งของฟันที่ผิดปกติได้แล้ว ยังอาจช่วยเสริมความมั่นใจได้อีกด้วย เนื่องจากการจัดฟันอาจช่วยปรับกรามและรูปหน้าให้สมมาตรมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยเสริมรอยยิ้มให้สวยงามอีกด้วย

การดูแลฟันในระหว่างและหลังจัดฟันเด็ก

การจัดฟันอาจทำให้อาหารติดตามซอกอุปกรณ์จัดฟันได้ง่าย จึงจำเป็นต้องรักษาความสะอาดเป็นประจำทุกวันอย่างเหมาะสม โดยอาจทำได้ดังนี้

  • แปรงฟันเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง/วัน เช้าและเย็น และอาจแปรงฟันหลังรับประทานอาหารด้วยเพื่อขจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกอุปกรณ์จัดฟัน
  • ใช้แปรงซอกฟันและไหมขัดฟันเพิ่มเติมทุกครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าถึง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงและมีความเหนียวมาก เช่น ลูกอม น้ำอัดลม หมากฝรั่ง เนื่องจากน้ำตาลเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียในช่องปากที่อาจทำให้เกิดปัญหาฟันผุ
  • หากใส่รีเทนเนอร์ควรถอดออกทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันอุปกรณ์แตกหัก
  • ควรทำความสะอาดรีเทนเนอร์เป็นประจำทุกวัน ด้วยการแช่ด้วยน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอมประมาณ 10-15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนใส่อีกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Braces. https://www.webmd.com/oral-health/braces-and-retainers#1. Accessed September 14, 2022

Are you too old for braces?. https://www.health.harvard.edu/healthbeat/are-you-too-old-for-braces. Accessed September 14, 2022

Braces. https://kidshealth.org/en/parents/braces.html. Accessed September 14, 2022

What Is an Orthodontist?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-an-orthodontist. Accessed September 14, 2022

Overview-Orthodontics. https://www.nhs.uk/conditions/orthodontics/. Accessed September 14, 2022

Understanding Your Treatment Options. https://www3.aaoinfo.org/orthodontic-treatment-options/. Accessed September 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/10/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา