ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน (Pigeon Toes) เป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงอายุ 10 ปี มีสาเหตุเกิดจากการขดตัวอยู่ในครรภ์มารดาซึ่งอาจมีพื้นที่คับแคบจนทำให้เกิดการหักปลายเท้าเข้า หรืออาจเกิดจากการบิดตัวของกระดูกในวัยหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทางและอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยนับแต่แรกเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน คืออะไร
ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารก จนถึง 10 ขวบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่อยู่ในมดลูกซึ่งมีพื้นที่คับแคบ จึงทำให้เด็กเกิดการหักปลายเท้าเข้า หรือเกิดจากการบิดตัวของบริเวณกระดูกหน้าแข้งในช่วงวัยกำลังหัดเดินจนทำให้ทรงตัวไม่อยู่ และล้มง่ายในขณะยืน หรือเดิน
นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากการที่ครอบครัวเคยมีประวัติของภาวะเท้าบิดเข้าด้านในมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็สามารถเป็นไปได้ว่าเด็กนั้นจะถูกส่งต่อของภาวะดังกล่าวมาจากทางพันธุกรรมถึงพัฒนาการสุขภาพกระดูก และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของรูปลักษณ์เท้าและขาได้
อาการของ ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน
อาการที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคนมักแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่สามารถสังเกตได้จากรูปเท้าที่บิดเบี้ยวเข้าหากันจากการสัมผัสบริเวณผิวหน้าท้อง แต่หากคุณแม่มีข้อกังวล และไม่แน่ใจ ก็อาจสามารถเข้ารับการอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ตามการนัดหมายจากแพทย์เพิ่มเติมได้
อีกทั้งกรณีที่ทารกเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยกำลังหัดเดิน คุณแม่อาจตรวจสอบลักษณะของเท้า หรือหน้าแข้งขณะเดิน โดยมักจะมีลักษณะเท้าทั้งสองข้างที่บิดเข้าหากัน และมักจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-6 ขวบ
การรักษาภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน
ภาวะเท้าบิดเข้าด้านในอาจหายไปเองได้ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่หากมีลักษณะที่บิดเข้าด้านในมากจนเห็นได้ชัด หรือทรงตัวไม่อยู่ขณะเดินบ่อยครั้ง ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเร็วที่สุด โดยคุณหมออาจเริ่มทำการวินิจฉัยเบื้องต้นถึงกระดูกของเด็กด้วยการเอ็กซ์เรย์ (X-ray) แบบ Fluoroscopy ที่สามารถเผยให้เห็นภาพกระดูกขณะที่ลูกเคลื่อนไหว
จากนั้นจึงประเมินหาวิธีที่รักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มักอาจเลือกใช้เป็นการผ่าตัด ในช่วงอายุที่เหมาะสมตามคุณหมอกำหนด เนื่องจากการผ่าตัดเป็นการจัดกระดูกหน้าแข้งที่ถูกบิดให้กลับเข้าคงตำแหน่ง และอาจต้องมีการปฏิบัติควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดร่วม เพื่อช่วยฟื้นฟูรูปแบบการเดิน หรือการเคลื่อนไหวเข้าสู่ภาวะปกติได้รวดเร็วขึ้น
[embed-health-tool-vaccination-tool]