backup og meta

เด็กอ้วน สาเหตุ ความเสี่ยง และวิธีการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    เด็กอ้วน สาเหตุ ความเสี่ยง และวิธีการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

    เด็กอ้วน เป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของกรมอนามัยเมื่อปี พ.ศ. 2563 พบว่าเด็กไทยที่มีอายุ 6-14 ปี มีแนวโน้มที่จะมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากถึงประมาณ ร้อยละ 12 ซึ่งภาวะอ้วนในเด็กนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอลเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

    เด็กอ้วน เกิดจากอะไร

    พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเด็กมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ ด้วยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หากเด็กอ้วน ควรปรึกษาคุณหมอ หรือดูแลอาหารการกินของเด็ก และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมีน้ำหนักมากเกินไป

    สาเหตุที่ทำให้เด็กอ้วน เกิดจากหลายปัจจัย เช่น

    • ขาดการออกกำลังกาย
    • กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์
    • ปัจจัยทางพันธุกรรม
    • โรคต่างๆ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน

    เด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ ที่เมื่อกินอาหารมากกว่าที่ร่างกายเผาผลาญต่อวัน ก็อาจทำให้มีไขมันสะสม แต่เด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่เด็กอาจต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นตามอายุ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเด็กมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์อ้วน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก และป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน

    เด็กอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร

    เด็กอ้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

    • คอเลสเตอรอลสูง
    • ความดันโลหิตสูง
    • โรคหัวใจ
    • โรคเบาหวาน
    • ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก
    • โรคผิวหนัง เช่น การติดเชื้อรา และสิว

    มากไปกว่านั้น ความอ้วนยังไม่เป็นผลดีต่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะเด็กอ้วนมีแนวโน้มว่าจะอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

    เทคนิคช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ้วน

    • การควบคุมอาหารสำหรับเด็กๆ อาจไม่ต้องถึงขั้นนับแคลอรี แต่ให้คุณพ่อคุณแม่จัดอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูก และควรให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
    • การออกกำลังกายช่วยเผาผลาญแคลอรี่ และทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น รวมถึงกระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงอีกด้วย จึงควรสนับสนุนให้ลูกออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย เช่น เล่นนอกบ้าน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน
    • เพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหาร
    • กินโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่ว
    • ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในอาหารแปรรูป และพวกขนมอบต่าง ๆ
    • ลดอาหารน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม เค้ก ขนมหวาน
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้รสหวาน ควรให้เด็กกินน้ำเปล่า
    • ลดปริมาณโซเดียม หรือเกลือในอาหาร เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ได้รับเกลือมากเกินไป โดยโซเดียมมักพบมากในอาหารแปรรูป หรืออาหารสำเร็จรูป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา