ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง การขาดพลังงาน หรือสารอาหารต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกินหรือไม่สมดุล เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอสกสน สาเหตุ และการแทกแซงที่เหมาะสมที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]

สำรวจ ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ

วิตามินบี 12 สำหรับอย่างไรต่อสุขภาพของเด็ก

วิตามินบี 12 มีความสำคัญกับในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็ก เนื่องจากเป็นวิตามินชนิดละลายน้ำที่ทำหน้าที่ในการสร้างและรักษาภาวะในร่างกาย จัดเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อระบบประสาท การสร้างเซลล์เม็ดเลือด การสังเคราะห์พลังงาน และกิจกรรมทางชีวเคมีพื้นฐานอื่น ๆ หากเด็กขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายหลายด้าน [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินบี 12 มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กอย่างไร วิตามินบี 12 ช่วยเสริมการทำงานของไมอีลิน (Myelin) ซึ่งเป็นสารคล้ายไขมันที่ทำหน้าที่เป็นเยื่อหุ้มเซลล์สมอง ช่วยปกป้องระบบประสาท และกระตุ้นการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต และยังเป็นวิตามินที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถรักษาและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ การได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ อาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder) มากขึ้น วิตามินบี 12 ยังเป็นสารอาหารที่สำคัญในกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากขาดวิตามินชนิดนี้ เด็กอาจเป็นโรคโลหิตจางได้ แหล่งของวิตามินบี 12  อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมจะมีปริมาณวิตามินบี 12 สูง แม้ว่าผักชนิดต่าง ๆ จะมีวิตามิน 12 อยู่เช่นกัน แต่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถดูดซึมได้ดีพอ ผลิตภัณฑ์นม […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดวิตามินดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

วิตามินและแร่ธาตุสำคัญมีส่วนช่วยสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก เด็กขาดวิตามินดี ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน รวมไปถึงอาหารเสริมและกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงอยู่เสมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงไม่ควรให้ เด็กขาดวิตามินดี วิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาการของกระดูกและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เสริมสร้างกระดูกและสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีส่วนช่วยในการสร้างและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นการผลิตสารอินซูลิน และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์ หาก เด็กขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ทั้งยังอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของกระดูกล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามพันธุกรรม ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยปกป้องให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน ปริมาณวิตามินดีสำหรับเด็ก สำหรับปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 […]


ภาวะทุพโภชนาการ

โรคอ้วนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคอ้วนในเด็ก คือ ภาวะที่น้ำหนักตัวของเด็กเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์น้ำหนักปกติสำหรับวัยและส่วนสูงตามค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่โรคอ้วนในเด็กจะพัฒนาจนกลายเป็นโรคอ้วน (Obesity) ในผู้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะหรือโรคร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ในภายหลัง และอาจทำให้เด็ก ๆ มีปมด้อยหรือความเปราะบางทางใจ เช่น มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ มีความเครียดสูง จนอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก (Obese Children) มีหลายประการ หนึ่งในสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดจากออกกำลังกาย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออาจเกิดจากปัญหาทางฮอร์โมนจนนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน แต่พบได้ค่อนข้างยาก หากสงสัยว่าลูกเสี่ยงเป็นโรคอ้วนจากปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาทางฮอร์โมน ควรพาไปเข้ารับการตรวจเลือดและตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล แม้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักมักถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็ใช่ว่าเด็กทุกคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคอ้วนจะต้องมีภาวะน้ำหนักเกิน แต่หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอ้วนหรือเป็นคนอ้วน ก็อาจทำให้เด็กเสี่ยงมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนอาจมีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่สมาชิกในครอบครัวมักจะทำเหมือนกัน เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย ทั้งนี้ การกินอาหารและการทำหรือไม่ทำกิจกรรมต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของเด็กอย่างมาก เด็กในปัจจุบันนี้มักไม่สนใจกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกกำลังกาย เช่น วิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เด็ก ๆ มักใช้เวลาดูโทรทัศน์วันละประมาณ 4 ชั่วโมง และใช้เวลากับคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมส์มากขึ้นเรื่อย ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม