backup og meta

ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีดูแลเมื่อเด็กท้องเสีย

ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีดูแลเมื่อเด็กท้องเสีย

การรักษาหลักสำหรับเด็กที่มีอาการท้องเสียมักเน้นรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากการถ่ายอุจจาระ ด้วยการดื่มสารน้ำและเกลือแร่ทดแทน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อ ยาแก้ท้องเสียเด็ก มาใช้เองโดยเฉพาะในเด็กเล็กมาก ดังนั้น จึงควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น เพื่อให้คุณหมอจ่ายยา

[embed-health-tool-vaccination-tool]

อาการท้องเสียในเด็ก เกิดจากอะไร

อาการท้องเสียในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้องการกำจัดเชื้อโรคที่เป็นอันตรายออก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ปวดท้องอุจจาระ มีไข้ อุจจาระเป็นเลือด ภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ผิวแห้งและเย็น โดยอาการท้องเสียในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือปรสิต เช่น โรต้าไวรัส (Rotavirus) ซาลโมเนลลา (Salmonella) ไกอาเดีย แลมเบลีย (Giardia Lamblia)
  • ปัญหาระบบย่อยอาหาร เช่น แพ้อาหาร อาหารเป็นพิษ
  • ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ
  • โรคที่เกี่ยวกับลำไส้และระบบย่อยอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาการลำไส้แปรปรวน
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดี

ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง

เด็กที่มีอาการท้องเสียส่วนใหญ่มักรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยการรักษาอาการท้องเสียในเด็กจะเน้นการรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำจากการถ่ายอุจจาระ พร้อมกับอาจให้จุลินทรีย์ที่ดี (Probiotics) เพื่อบำรุงลำไส้  โดยยาแก้ท้องเสียเด็กมีดังนี้

  • ผงเกลือแร่ (Oral Rehydration Salt หรือ ORS) ปริมาณ 50-100 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สำหรับทารกที่กินนมแม่ แนะนำให้กินนมแม่บ่อยขึ้น จากนั้นป้อนเกลือแร่ปริมาณ 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยให้กินทุก 4 ชั่วโมง เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • ยาผงถ่าน ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้องและอุจจาระเหลว โดยให้กิน 2 เม็ดทันทีที่มีอาการ และกินซ้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  • ยาโลเพอราไมด์ (Loperamide) เป็นกลุ่มยาต้านอาการท้องเสีย มักใช้ในกรณีที่เกลือแร่และยาผงถ่ายใช้ไม่ได้ผล โดยกิน 2 เม็ดเมื่อมีอาการ จากนั้นกินซ้ำครั้งละ 1 เม็ดเมื่อมีอากการอุจจาระเหลว แต่ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ด/วัน และหากไม่จำเป็นไม่แนะนำให้รับประทาน

นอกจากนี้ ยังมียารักษาอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยการจ่ายยาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ ดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ  ซึ่งคุณหมออาจจ่ายยาโดยพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น ติดเชื้ออหิวาต์ ติดเชื้อบิด ติดเชื้อพยาธิบางชนิด
  • ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide ) เป็นยาทาเพื่อช่วยป้องกันการระคายเคืองผิวรอบทวารหนักที่เกิดจากการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาแก้ท้องเสียเด็กควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับยาเสมอ ไม่ควรซื้อยามาใช้เองโดยเฉพาะในเด็กเล็กมาก เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยาที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก

วิธีดูแลเมื่อเด็กท้องเสีย

วิธีอื่น ๆ ที่สามารถช่วยดูแลเด็กเมื่อมีอาการท้องเสีย อาจมีดังนี้

  • ให้เด็กกินของเหลวมากขึ้น เช่น นมแม่ น้ำเปล่า เกลือแร่ น้ำซุป เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการถ่ายอุจจาระ
  • ให้อาหารอ่อนกับเด็ก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ปลานึ่ง ซุป และหลีกเลี่ยงของทอด ของมัน อาหารสเผ็ด จนกว่าอาการท้องเสียจะดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ต เพื่อป้องกันอาการท้องเสียกำเริบและรุนแรงขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ท้องเสีย ถ่ายเหลว ใช้ยาอะไรได้บ้าง. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ท้องเสีย-ถ่ายเหลว-ใช้ยาอ/.  Accessed January 25, 2023

การใช้ยาแก้ท้องเสียให้ถูกวิธี. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/การใช้ยาแก้ท้องเสียให้/. Accessed January 25, 2023

Diarrhea Treatment in Children. https://www.webmd.com/first-aid/diarrhea-treatment-in-children. Accessed January 25, 2023

Diarrhea. https://www.nationwidechildrens.org/conditions/diarrhea#:~:text=With%20moderate%20to%20severe%20diarrhea,most%20pharmacies%20without%20a%20prescription. Accessed January 25, 2023

Diarrhea in Children. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/diarrhea-in-children. Accessed January 25, 2023

Diarrhea in Children: Causes and Treatments. https://www.webmd.com/children/guide/diarrhea-treatment. Accessed January 25, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มนมตอนเช้า มีประโยชน์ต่อสุขภาพเด็กอย่างไรบ้าง

ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่พบบ่อย ควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา