backup og meta

ยาแก้ไอเด็ก มีกี่ประเภท และวิธีการป้องกันอาการไอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/10/2022

    ยาแก้ไอเด็ก มีกี่ประเภท และวิธีการป้องกันอาการไอ

    อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ โรคหอบหืด การแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วย ยาแก้ไอเด็ก ที่ออกฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ แก้คัดจมูก แก้แพ้ ระงับอาการไอ แก้ปวด และลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กไอน้อยลง ช่วยให้ชุ่มคอ และหายใจได้สะดวกขึ้น

    สาเหตุอาการไอของเด็ก

    อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • มลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ ฝุ่น ที่อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองจนทำให้เด็กไอ
  • การติดเชื้อ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคซาง เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง โดยอาจมีความรุนแรงในระดับน้อยไปจนถึงปานกลาง
  • โรคหอบหืด เป็นสาเหตุของอาการไอที่พบบ่อยในเด็ก ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นในตอนกลางคืน
  • ไซนัสอักเสบหรืออาการแพ้ อาจเกิดจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เด็กมีผื่นขึ้น เจ็บคอ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันคอ และไอเรื้อรัง
  • กรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ทำให้เด็กมีอาการแสบหน้าอก มีเสมหะ ไอหรืออาเจียน
  • ประเภทของ ยาแก้ไอเด็ก

    ยาแก้ไอเด็ก ที่อาจช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น มีดังนี้

    • ยาแก้คัดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น เช่น ยาหดหลอดเลือด (Decongestants) เซทิริซีน (Cetirizine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ลอราทาดีน (Loratadine)
    • ยาแก้แพ้ ช่วยลดอาการอักเสบในทางเดินหายใจและลดน้ำมูก เช่นเซทิริซีน (Cetirizine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ลอราทาดีน (Loratadine) คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
    • ยาละลายเสมหะ ช่วยละลายเมือกในปอดและขับเสมหะ เช่น คาร์โบซีสเทอีน (Carbocysteine) แอมบรอกซอล (Ambroxol) บรอมเฮกซีน (Bromhexine) อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)
    • ยาระงับอาการไอ ช่วยลดความถี่ของการไอ เช่น เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
    • ยาแก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดเมื่อย มีไข้ เช่น พาราเซตามอล

    อย่างไรก็ตาม ก่อนซื้อยาแก้ไอเด็กควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนเสมอ และควรอ่านฉลากยาอย่างละเอียด เนื่องจากยาแก้ไอบางชนิด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) โคเดอีน (Codeine) อาจไม่เหมาะกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    การบรรเทาอาการไอของเด็ก

    นอกจากการกินยาแก้ไอเด็กเพื่อช่วยบรรเทาและรักษาอาการไอแล้ว การดูแลสุขภาพเด็กเพื่อช่วยบรรเทาอาการไออาจทำได้ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น ควรให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้นประมาณ 2.5 ลิตร/วัน นอกจากนี้ ควรให้เด็กจิบน้ำอุ่น ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคอและละลายเสมหะ
  • พักผ่อน ควรให้เด็กนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองและสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน สารเคมี ควันบุหรี่ ที่เด็กอาจสูดดมและทำให้เกิดความระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ
  • เปิดเครื่องทำความชื้น การเพิ่มความชื้นภายในบ้านจะช่วยให้เด็กหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการไอได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม เหมาะกับสถานที่ที่อากาศแห้งมาก ๆ 
  • ล้างจมูก อาจใช้สเปรย์สำหรับล้างจมูกหรือน้ำเกลือ โดยการหยอดน้ำเกลือลงไปในจมูกของเด็ก หลังจากนั้นใช้หลอดฉีดยาหรืออุปกรณ์ดูดเสมหะ ดูดเอาน้ำมูกหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ ออก จะช่วยให้เด็กหายใจสะดวกมากขึ้นและช่วยลดอาการไอได้
  • ดื่มน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น โดยการใช้น้ำผึ้งครึ่งถึง 1 ช้อนชาผสมกับน้ำอุ่น ให้เด็กดื่มประมาณ 4 ครั้ง/วัน จะช่วยให้ชุ่มคอและช่วยลดอาการไอ ทั้งนี้ น้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นควรใช้กับเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปี
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา