backup og meta

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

    คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน

    ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง

    วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้

    วัคซีนพื้นฐาน

    • วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี รวมทั้งหมด 5 ครั้ง
    • วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอด (OPV) และชนิดฉีด (IPV) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือนและจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน  และ 1 ปี 6 เดือน

    วัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก

    เป็นวัคซีนป้องกันโรค แต่ไม่ได้อยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข (วัคซีนพื้นฐาน) อาจเลือกฉีดหรือไม่ฉีดก็ได้ เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง

  • วัคซีนโรต้า (Rotavirus) เป็นวัคซีนชนิดหยอดสำหรับเด็กอายุ 1 เดือนครึ่งถึงประมาณ 4 เดือน (6-15 สัปดาห์) มักเริ่มหยอดเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
    • วัคซีนโรต้าชนิดโมโนวาเลนต์ (Monovalent) ใช้หยอด 2 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 2 เดือนและ 4 เดือน โดยต้องรับห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน (4 สัปดาห์) และโดสสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน
    • วัคซีนโรต้าชนิดเพนตาวาเลนต์ (Pentavalent) ใช้หยอด 3 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน โดยต้องรับห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน (4 สัปดาห์) และโดสสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน
  • วัคซีนนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) เป็นวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 6 สัปดาห์ถึง 5 ปี หากเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุ 2-6 เดือน ให้ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยแต่ละเข็มควรห่างกัน 1 เดือนถึง 2 เดือน (4-8 สัปดาห์) ในเด็กปกติอาจพิจารณาฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 เข็ม) เมื่อเด็กอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 12-15 เดือน
  • ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนในทารกและเด็กเล็ก อาจมีดังนี้

    • ไข้สูง
    • ร้องไห้งอแง
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดตามข้อ
    • ตัวอ่อนปวกเปียก
    • ไม่อยากกินนม
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนอาจบวมแดงเป็นเวลา 2-3 วัน และจะหายไปเอง

    คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่พาทารก 2 เดือนไปฉีดวัคซีน

    • คุณพ่อคุณแม่ควรพกสมุดวัคซีนของเด็กไปด้วยทุกครั้งเมื่อพาเด็กไปฉีดวัคซีนตามกำหนด เพื่อบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน
    • หากทารกร้องไห้งอแงขณะฉีดวัคซีน ให้หาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ของเล่นชิ้นโปรด ตุ๊กตาที่ชอบ หรือพูดคุยหยอกล้อกับทารก อาจช่วยให้ทารกสนใจสิ่งอื่นจนไม่สนใจกับความเจ็บขณะฉีดวัคซีน
    • ขณะทารกรับการฉีดวัคซีน อาจให้ทารกดื่มนมแต่ระวังเรื่องการสำลัก และควรอุ้มประคองทารกไว้ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกขยับแขนขาจนบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างฉีดวัคซีน และช่วยให้ทารกสงบลงและหายตื่นเต้นกับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย
    • ควรหลีกเลี่ยงการใช้เสียงดังหรือการแสดงท่าทางไม่เป็นมิตรเพราะอาจทำให้ทารกตื่นกลัวได้
    • หลังฉีดวัคซีน คุณพ่อคุณแม่อาจโอบกอดทารกแล้วโยกตัวไปมาเพื่อปลอบประโลมทารกที่รู้สึกไม่สบายตัวจากวัคซีนที่ฉีดหรือหยอดเข้าร่างกาย

    วิธีดูแลทารก 2 เดือนหลังฉีดวัคซีน

    วิธีดูแลทารก 2 เดือนหลังฉีดวัคซีน อาจทำได้ดังนี้

    • หากเด็กมีไข้ ให้สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี เช่น เสื้อผ้าฝ้ายแบบผูกข้างหน้า
    • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาดมาวางบนแขนหรือบริเวณที่ฉีดวัคซีนเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
    • ไม่ควรให้ทารกห่มผ้าหนาเกินไป เพราะอาจทำให้ทารกอึดอัดและร่างกายระบายความร้อนได้ยาก จนอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นได้
    • หมั่นเช็ดตัวให้ทารกเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และให้ดื่มนมบ่อยขึ้น อาการป่วยอาจทุเลาลงและหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมง แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพาทารกไปพบคุณหมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา