backup og meta

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

    วัคซีนเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โปลิโอ อีกทั้งยังอาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิดได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็ก และบันทึกการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งเอาไว้ เพื่อป้องกันการลืมและช่วยแจ้งเตือนกำหนดการฉีดวัคซีนในครั้งถัดไป ทำให้ไม่พลาดกำหนดการฉีดวัคซีนที่สำคัญของเด็ก

    วัคซีนเด็ก ทำไมถึงควรฉีดตามตารางการฉีดวัคซีน

    การฉีดวัคซีนเด็กตามตารางการฉีดวัคซีน ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่คนรอบข้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้

    นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ จะได้ไม่ฉุกละหุก หรือพลาดการรับวัคซีนไป โดยอาจใช้การจดบันทึกประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ระบุ วัน เวลา และสถานที่รับวัคซีน หรือใช้เครื่องมือช่วยเตือนความจำอย่าง ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ในเว็บไซต์ Hello คุณหมอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ และทำให้ติดตามการนัดหมายถัดไปของคุณหมอได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังใช้ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    วิธีการใช้เครื่องมือตารางเวลาการฉีดวัคซีน

    วิธีการใช้เครื่องมือจัดตารางการฉีดวัคซีนของ Hello คุณหมอ มีดังนี้

    1. เข้าไปที่เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพบนเว็บไซต์ Hello คุณหมอ จากนั้นกดเลือก ตารางการฉีดวัคซีนของลูก
    2. ป้อนข้อมูลของลูก เช่น เพศ วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น และกดดูตาราง เพื่อตรวจสอบรายการวัคซีนที่เด็กควรได้รับตามช่วงอายุ

    เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามตารางการฉีดวัคซีนเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างบัญชีสำหรับ Hello คุณหมอ รวมถึงสมัครรับการแจ้งเตือนตามช่องทางที่ถนัด เช่น อีเมล SMS ปฏิทิน Google เพื่อรับการแจ้งเตือนจาก Hello คุณหมอ เมื่อใกล้ถึงเวลาที่ควรพาเด็กไปรับวัคซีน

    ตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

    กระทรวงสาธารณสุข แห่งประเทศไทย ได้กำหนดตารางการฉีดวัคซีนเด็ก ฉบับล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 โดยแบ่งตามช่วงอายุที่เหมาะสม ดังนี้

    • ทารกแรกเกิด ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB1) โดยเร็วที่สุดหรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด และควรฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ก่อนออกจากโรงพยาบาล (มักฉีดตอนอายุ 1-3 วัน)
    • เด็กอายุ 1 เดือน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีเข็มที่ 2 (HB2) โดยเฉพาะเด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มีพาหะไวรัสตับอักเสบบี
    • เด็กอายุ 2 เดือน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด ครั้งที่ 1 (OPV1) และควรได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี (ในกรณีที่ยังไม่ได้รับเมื่ออายุ 1 เดือน) และฮิบครั้งที่ 1 (DTP-HB-HIB1)
    • เด็กอายุ 4 เดือน ควรได้รับการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบีและฮิบ ครั้งที่ 2 (DTP-HIB2) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด ครั้งที่ 2 (OPV2) 1 ครั้ง พร้อมกับรูปแบบฉีด 1 เข็มพร้อมกัน
    • เด็กอายุ 6 เดือน ควรได้รับการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน และฮิบ ครั้งที่ 3 (DTP-HB-HIB3) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด ครั้งที่ 3 (OPV3) หรือวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด
    • เด็กอายุ 9 เดือน ถึง 1 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ครั้งที่ 1 (MMR1) และควรได้รับการวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีครั้งที่ 1 (JE1) (ข้อมูลปรับปรุงล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2565)
    • เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน ควรได้รับการวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน ครั้งที่ 4 (DTP4) หรือร่วมกับวัคซีนฮิบ HIB4 และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด ครั้งที่ 4 (OPV4) หรือวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด
    • เด็กอายุ 2 ปี ถึง 2 ปี 6 เดือน ควรได้รับการวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีครั้งที่ 2 (JE2) และวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ครั้งที่ 2 (MMR2)
    • เด็กอายุ 4 ปี ถึง 6 ปี ควรได้รับการวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน ครั้งที่ 5 (DTP5) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด ครั้งที่ 5 (OPV5) หรือวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด
    • เด็กอายุ 7 ปี หรืออยู่ในช่วงปฐมศึกษาปีที่ 1 ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน (MR) วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) , โรคไข้สมองอักเสบเจอีที่ (LAJE3) , วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนโรคคอตีบและบาดทะยัก (dT) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีดและชนิดหยอด สามารถเข้ารับการรับวัคซีนได้เฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
    • เด็กอายุ 11 ปี หรืออยู่ในช่วงปฐมศึกษาปีที่ 5 ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยควรฉีด 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน

    วัคซีนทางเลือกสำหรับเด็กที่ควรได้รับเพิ่มเติม มีดังนี้

    • วัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจเริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป โดยวัคซีนที่เหมาะสำหรับเด็กช่วงอายุตั้ง 5-17 ปี ควรได้รับวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech) สำหรับเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป ควรได้รับฉีดวัคซีนไฟเซอร์ หรือวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) สำหรับเด็ก ซึ่งควรฉีดให้ครบ 2 โดส แต่ละโดสจะฉีดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ที่ สำหรับทารกแรกเกิดหรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะอาจจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาชัดเจนมากเพียงพอถึงผลข้างเคียง
    • วัคซีนไวรัสโรต้า ควรได้รับตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ไม่เกิน 15 สัปดาห์
    • วัคซีนฮิบ ควรได้รับตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยฉีด 1-3 เข็ม ห่างกันทุก ๆ 2 เดือน จนถึงอายุ 1 ปี ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจต้องฉีดนานถึง 2 ปี
    • วัคซีนอีสุกอีใส ควรได้รับการฉีดเข็มแรกตั้งแต่อายุ 12-18 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 4-6 ปี สำหรับเด็กที่อายุ 13 ปีขึ้นไป ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 4 สัปดาห์
    • วัคซีนตับอักเสบเอ สามารถฉีดได้เมื่อเด็กมีอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยควรฉีด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 6-12 เดือน
    • วัคซีนนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae หรือวัคซีน PCV, IPD) สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยในขวบปีแรก ได้รับ 3 เข็ม และที่อายุ 12-15 เดือนกระตุ้นอีก 1 เข็ม กรณีเพ่งรับที่อายุ 2-5 ปีปีขึ้นไป ควรฉีดให้ครบ 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 5 ปี ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนแต่ละช่วงอายุก่อนฉีด
    • วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น เริ่มฉีดได้เมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เพียง 1 ครั้ง
    • พิษสุนัขบ้า โดยส่วนใหญ่มักจะเข้ารับการฉีดวัคซีนนี้ทันทีเมื่อเด็กถูกสัตว์กัด ทั้งนี้ หากฉีดเพื่อป้องกัน หรือฉีดก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure) แนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์ก่อนรับวัคซีน
    • วัคซีนไข้เลือดออก ฉีดได้เมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป (3 เข็ม) แนะนำปรึกษากุมารแพทย์ก่อน เพื่อพิจารณาตรวจภูมิไข้เลือดออกก่อนฉีด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา