backup og meta

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง
วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจพบได้บ่อยในเด็ก เด็กจึงควรได้รับ วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน (Measles Mumps and  Rubella vaccine: MMR vaccine) 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ โดย วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อย คือ เป็นไข้ มีผื่น และอาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน 

ลูกน้อยต้องได้รับการฉีด วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมันเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4-6 ปี เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ 3 โรค ซึ่งได้แก่ โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยแต่ละโรคมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ 

  • โรคคางทูม (Mumps) เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม สาเหตุเกิดจากการสัมผัสโดยตรงทางระบบการหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • โรคหัด (Measles)  เกิดจจากเชื้อไวรัสหัด  สาเหตุเกิดจากละอองการหายใจ การจาม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้และไข้ออกผื่น อาการไอ
  • โรคหัดเยอรมัน (German Measles) เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน สาเหตุเกิดจากการหายใจ การจาม และการสัมผัสโดยตรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีอาการไข้ออกผื่น

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียงอาจมีดังต่อไปนี้
  • เป็นไข้
  • มีผดผื่น
  • ปวดบริเวณที่ฉีดยา หรือปวดแขนข้างที่ฉีดยา
  • มีอาการปวดข้อต่อ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้มาแล้ว

ในกรณีหายาก บางคนอาจมีอาการเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

บุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน

บุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน มีดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุ 12-15 เดือน (ต้องได้รับการฉีดเข็มแรก)
  • เด็กอายุ 4-6 ขวบ (ต้องได้รับการฉีดเข็มที่สอง)
  • ผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปหากไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน 

บุคคลที่ควรงดการฉีดวัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน

บุคคลที่ควรงดการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน มีดังต่อไปนี้ 

  • มีประวัติแพ้อย่างรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนป้องกัน คางทูม หัด หัดเยอรมัน
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS) ติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV)
  • รับประทานยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
  • ได้รับวัคซีนอื่น ๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2020/mumps-measles-rubella. Accessed March 10, 2020

รู้ไหม? วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน…สำคัญกว่าที่คิด!. https://www.phyathai.com/article_detail/3155/th/. Accessed March 10, 2020

Measles, Mumps, Rubella (MMR) Vaccine. https://www.cdc.gov/vaccinesafety/vaccines/mmr-vaccine.html. Accessed October 24, 2022.

MMR (measles, mumps and rubella) vaccine. https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/mmr-vaccine/. Accessed October 24, 2022.

Your Child’s Immunizations: Measles, Mumps & Rubella Vaccine (MMR). https://kidshealth.org/en/parents/mmr-vaccine.html. Accessed October 24, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/10/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา