backup og meta

โรต้า (rotavirus) อาการ และการรักษา

โรต้า (rotavirus) อาการ และการรักษา

โรต้า (rotavirus) หรือไวรัสโรตา เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน การติดเชื้อไวรัสโรตามักไม่เป็นอันตรายสำหรับผู้ใหญ่ แต่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กได้ หากพ่อแม่สังเกตพบว่าลูกมีอาการท้องเสียนานกว่า 24 ชั่วโมง มีไข้สูง และอาเจียนบ่อยครั้ง ควรรีบพาไปรักษาในทันที

โรต้า (rotavirus) คืออะไร

โรต้า (rotavirus) หรือไวรัสโรตา เป็นเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งโดยปกติจะมีอาการเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อภายในสองวัน อาการที่พบเห็นได้บ่อยในระยะแรก คือ อาเจียน ตามด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นเวลาสามถึงเจ็ดวัน  นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดนี้ยังทำให้เกิดอาการปวดท้องด้วย

ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีถ้าหากติดเชื้อไวรัสไวรัสโรตา ก็อาจจะไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นเลย หรืออาจมีแค่อาการเบา ๆ เท่านั้น แต่สำหรับเด็กอายุน้อย การติดเชื้อไวรัสโรตาอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เชื้อไวรัสโรตาสามารถติดต่อได้ผ่านทางการนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางปาก เช่น การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรตาแล้วนำมือนั้นเข้าปาก การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรตา

อาการของการติดเชื้อโรต้า (rotavirus)

อาการและสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไวรัสโรตา

  • ท้องเสียหรือขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ
  • อาเจียน
  • มีไข้
  • ปวดท้อง
  • อาการท้องเสียรุนแรง
  • ภาวะขาดน้ำ
  • มีภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล
  • มีภาวะเลือดเป็นกรด

เด็ก ๆ โดยเฉพาะในเด็กทารกจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายยังอ่อนแออยู่ หากพบว่าลูกน้อยมีอาการของโรคนี้เกิดขึ้น ก็ควรพาไปโรงพยาบาลทันที เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ เด็กที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เนื่องจากเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิด ไขกระดูกผิดปกติ หรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายด้วย เมื่อมีการติดเชื้อนี้ในร่างกาย เชื้อไวรัสโรตาจะทำให้เกิดภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงและยาวนาน อวัยวะต่าง ๆ จะทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับและไต

การรักษาการติดเชื้อโรต้า (rotavirus)

ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ควรใช้ยารักษาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโรตาหรือไม่ เนื่องจากไม่มีการรักษา สำหรับการติดเชื้อไวรัสโรตาโดยเฉพาะ ยิ่งไปกว่านั้นยาปฎิชีวนะและยาต้านไว้รัสก็อาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาการติดเชื้อไวรัสโรตา โดยปกติแล้วโรคไวรัสโรตาจะหายไปเองภายในสามถึงเจ็ดวัน

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรตาก็คือ การฉีดวัคซีนไวรัสโรตา การฉีดวัคซีนครั้งแรกก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อนี้ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 สัปดาห์ได้แล้ว นอกจากนี้ เด็กก็ควรได้รับวัคซีนก่อนที่จะมีอายุครบ 8 เดือนด้วย

ถ้าหากติดเชื้อไวรัสโรตา ควรดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอาการท้องเสีย โดยสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอาจควรรับประทานยาผงเกลือแร่ร่วมด้วย เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ควรหาซื้อยาแก้ท้องเสียมารับประทานเอง หากพบว่ามีอาการของการติดเชื้อไวรัสโรตา ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างเหมาะสมให้เร็วที่สุด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rotavirus Infections. https://medlineplus.gov/rotavirusinfections.html. Accessed 13 Feb 2017

Rotarix. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-150652/rotarix-oral/details. Accessed 13 Jan 2018

Rotavirus. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rotavirus/symptoms-causes/syc-20351300. Accessed October 26, 2021.

Rotavirus. https://www.webmd.com/children/guide/what-is-rotavirus. Accessed October 26, 2021.

Rotavirus vaccine overview. https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/rotavirus-vaccine/. Accessed October 26, 2021.

Rotavirus. https://www.cdc.gov/rotavirus/index.html. Accessed October 26, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2021

เขียนโดย ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์


เขียนโดย

ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · Hello Health Group


แก้ไขล่าสุด 26/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา