backup og meta

กลากน้ำนม อาการ สาเหตุ และการรักษา

กลากน้ำนม อาการ สาเหตุ และการรักษา

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ที่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

กลากน้ำนม คืออะไร

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด

กลากน้ำนมพบได้บ่อยเพียงใด 

กลากน้ำนมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี 

อาการ

อาการของกลากน้ำนม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากน้ำนม มีจะมีผิวสีชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง และตกสะเก็ด มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม รอยจะจางหายไปได้เองในระยะเวลาไม่กี่เดือน แต่ในบางรายอาจมีอาการเป็นปี และยิ่งเห็นชัดขึ้นในช่วงฤดูร้อน การทาครีมกันแดดจะช่วยบรรเทาให้รอยดูจางลงได้ 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล

สาเหตุ

สาเหตุของกลากน้ำนม

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคกลากน้ำนม แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ชนิดผิวหนังอักเสบ โดยอาจมีผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองไวกว่าปกติ 

ปัจจัยเสี่ยงของกลากน้ำนม

  • เด็กที่อายุระหว่าง 6-12 ปี
  • เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง 
  • เด็กที่อาบน้ำร้อนบ่อย ๆ หรือโดนแดดโดยไม่ทาครีมกันแดด

การวินิจฉัยกลากน้ำนม

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกลากน้ำนม

ในเบื้องต้นคุณหทออาจสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ตรวจสอบดูความผิดปกติของผิวหนัง เนื่องจากโรคกลาก และโรคเกลื้อนมีอาการที่ใกล้เคียงกับโรคผิวหนังอื่น ๆ คุณหมอจึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ดังต่อไปนี้

  • การตรวจด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต  (Wood Lamp Examination) เพื่อหาความแตกต่างของสีผิว
  • การตรวจหาเชื้อราโดยวิธีโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide Preparation หรือ KOH) คือ การขูดผิวหนังด้วยแสง เพื่อตรวจหาเชื้อราที่ผิวหนัง

การรักษากลากน้ำนม

กลากน้ำนมสามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการรักษา ส่วนใหญ่คุณหมออาจมุ่งเน้นที่การดูแลตนเอง รวมถึงแนะนำให้ทามอยส์เจอไรเซอร์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นและลดความแสบร้อนโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า 

การปรับไลฟ์สไตล์และดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกลากน้ำนม

การปรับไลฟ์สไตล์และดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกลากน้ำนม มีดังต่อไปนี้

  • ทาครีมบำรุงผิวที่ปราศจากน้ำหอม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง เช่น วาสลีน
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำสม่ำเสมอ ในเด็กควรทาครีมกันแดดสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
  • ทาครีมกลุ่มไฮโดรคอร์ติโซนชนิดทาผิวหนัง (Topical Hydrocortisone) เป็นระยะเวลา 3-7 วัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pityriasis Alba. https://www.dermatologyadvisor.com/home/decision-support-in-medicine/dermatology/pityriasis-alba/. Accessed July 27, 2023.

Pityriasis Alba. https://www.skinsight.com/skin-conditions/child/pityriasis-alba#:~:text=If%20you%20suspect%20that%20your,fragrance%2Dfree%20ointments%20and%20creams. Accessed July 27, 2023.

PITYRIASIS ALBA. https://www.aocd.org/page/PityriasisAlba. Accessed July 27, 2023.

PITYRIASIS ALBA. https://www.bad.org.uk/shared/get-file.ashx?id=3711&itemtype=document. Accessed July 27, 2023.

What Is Pityriasis Alba?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/skin-pityriasis-alba. Accessed July 27, 2023.

Pityriasis Alba. https://www.mottchildren.org/health-library/abp4927. Accessed July 27, 2023.

Pityriasis alba. https://www.pcds.org.uk/clinical-guidance/pityriasis-alba. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

กลากที่หนังศีรษะ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

โรคกลากน้ำนม สาเหตุคืออะไร และรักษาได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา