backup og meta

ลูกเป็นผื่น ผิวสาก ๆ อาการและวิธีดูแลที่ควรรู้

ลูกเป็นผื่น ผิวสาก ๆ อาการและวิธีดูแลที่ควรรู้

ผิวหนังของลูกนั้นมีความบอบบางและจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อ ลูกเป็นผื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาลักษณะอาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น มีไข้ แผลพุพอง แผลจุดเล็ก ๆ เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น และจะได้สามารถทำการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้สามารถสังเกตพบอาการที่ผิดปกติ และพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที

อาการที่อาจพบเมื่อ ลูกเป็นผื่น

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อลูกเป็นผื่น อาจมีดังนี้

ผื่นขณะมีไข้

มีไข้และมีจุดสีแดงที่แก้ม ลักษณะอาการเช่นนี้ลูกอาจเป็นหวัดและ เป็นผื่น ลุกลามไปทั่วร่างกาย โดยปกติจะหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์

แผลพุพองที่มือ เท้า และปาก

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในวัยเด็ก ทำให้เกิดแผลพุพองที่มือและเท้า รวมไปถึงทำให้เกิดแผลที่ลิ้นด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เด็กมีไข้ และในบางรายอาจเป็นหวัด 

ผื่นจากไข้อีดำอีแดง

ไข้อีดำอีแดง ทำให้เกิด เป็นผื่น แดงสีชมพูทั่วร่างกาย ลักษณะคล้ายผิวไหม้ โดยจะเริ่มต้นอาการจากลิ้นบวม เจ็บคอ ปวดศีรษะ และมีไข้ ไข้อีดำอีแดงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

จุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพอง

อาการจุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพองที่เกิดขึ้นตามตัว อาจเกิดขึ้นจากโรคอีสุกอีใส ทำให้เกิดรอยแดง จุดสีแดงบนใบหน้า แขน และลำตัว ซึ่งมีอาการคัน เด็กบางคนอาจเผลอเกาจนทำให้เป็นแผล

ผื่นจากอากาศร้อน

ความร้อนและเหงื่ออาจทำให้เกิดรอยแดงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ผด หรือผดผื่น ในบางรายนอกจาก เป็นผื่น ก็อาจมีอาการคันร่วมด้วย

ลูกเป็นผื่น ควรดูแลอย่างไร

  • ทำความสะอาดผิวด้วยสบู่อ่อน ๆ ระวังอย่าให้มีการถูบริเวณผิวหนังแรงจนเกินไป
  • ล้างออกด้วยน้ำอุ่น ลูบผิวเบา ๆ ให้แห้ง ไม่ควรถู
  • ไม่ควรนำผ้ามาปิดหรือคลุมผิวหนังบริเวณที่ เป็นผื่น เพราะอาจทำให้อับชื้นได้
  • ใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียก เช็ดบริเวณที่ เป็นผื่น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และอาการคัน
  • ตัดเล็บเพื่อช่วยป้องกันการเกา ใส่ถุงมือให้กับลูกเวลานอนตอนกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกา

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปพบกับคุณหมอ

หากลูกเป็นผื่น และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบกับคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาต่อไป

  • อายุน้อยกว่า 6 เดือน และมีไข้พร้อมกับมีผื่น
  • มีผื่นที่เป็นหนอง หรือปรากฎเป็นสีแดงบวม ซึ่งอาจมีการติดเชื้อได้
  • เป็นผื่น ในบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม
  • มีผื่นที่รุนแรงมากบริเวณรอยย่นของผิว
  • มีผื่นและอาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2 วัน
  • เป็นผื่น ที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
  • มีจุดแดงเล็ก ๆ บนผิวหนังและไม่จางหายเวลาที่กดลงไปที่จุดนั้น
  • ไม่สบายและรับประทานอาหารน้อย
  • มีอาการลมพิษ
  • มีรอยฟกช้ำไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rashes in babies and children. https://www.nhs.uk/conditions/rashes-babies-and-children/. Accessed December 27, 2017

Rashes (Children). https://www.webmd.com/first-aid/rashes-children. Accessed December 27, 2017

Skin rashes in babies. https://www.nidirect.gov.uk/conditions/skin-rashes-babies. Accessed December 27, 2017

Roseola Infantum. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448190/. Accessed February 25, 2022.

Symptoms and Diagnosis of Hand, Foot, and Mouth Disease. https://www.cdc.gov/hand-foot-mouth/about/signs-symptoms.html. Accessed February 25, 2022.

Roseola Infantum. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448190/. Accessed February 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/10/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ การรักษา

สาเหตุที่พบบ่อยของโรคผิวหนังอักเสบ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 15/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา