backup og meta

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ไข้ในเด็ก เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบอกได้ว่าร่างกายของเด็กกำลังทำปฏิกิริยาต่อต้านการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส โดย วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ เช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด อีสุกอีใส หัด กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น หูอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไข้อีดำอีแดง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะการอักเสบ เช่น โรคคาวาซากิ หูอักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ

เนื่องจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนช่วยตอบสนองต่อการอักเสบ การติดเชื้อ และสร้างแอนติบอดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงส่งผลให้ร่างกายเด็กมีอุณหภูมิสูง หรือเป็นไข้ได้

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก

วิธีลดไข้สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ มีดังนี้

  • วัดไข้สม่ำเสมอ
  • ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดตัว โดยเฉพาะบริเวณหลังคอ ใต้วงแขน ท้อง และขาหนีบ หรืออาบน้ำด้วยอุณหภูมิห้อง
  • เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่น
  • ให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม
  • ให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เลือกยาลดไข้ให้เหมาะสม เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน ยาไอบูโพรเฟน

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเด็กเป็นไข้

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ เมื่อเด็กเป็นไข้ ได้แก่

  • อาบน้ำให้เด็ก หรือเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำเย็นจัด
  • ไม่ควรให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีรับประทานยาแอสไพริน
  • ไม่ควรให้เด็กรับประทานยาไอบูโพรเฟนร่วมกับพาราเซตามอล เว้นแต่คุณหมอจะอนุญาต
  • ไม่ควรให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 เดือนรับประทานยาพาราเซตามอล
  • ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟนแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน และมีน้ำหนักต่ำกว่า 5 กิโลกรัม
  • สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟน

อาการไข้ในเด็กระดับรุนแรง ที่ควรเข้าพบคุณหมอ

หากไข้ยังไม่ลดลง หรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวัน และมีอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บคอ ปวดหู อาเจียน ท้องร่วง ผื่นขึ้น ร่วมด้วย ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่อาการชักจากไข้สูงที่ส่งผลให้ร่างกายของเด็กขาดออกซิเจน ตัวเขียว ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง พัฒนาการด้านการเรียนรู้ล่าช้า และอาจเสี่ยงเป็นโรคลมชักได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fever in Children. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=fever-in-children-90-P02512. Accessed September 15, 2021

What to Do When Your Kid Has a Fever. https://www.webmd.com/children/guide/treat-fever-young-children. Accessed September 15, 2021

High temperature (fever) in children. https://www.nhs.uk/conditions/fever-in-children/. Accessed September 15, 2021

Fever treatment: Quick guide to treating a fever. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/in-depth/fever/art-20050997. Accessed September 15, 2021

What to know about a fever in toddlers. https://www.medicalnewstoday.com/articles/fever-in-toddlers . Accessed September 15, 2021

ภาวะชักจากไข้. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=880. Accessed September 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/04/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 21/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา