backup og meta

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ทารกแรกเกิดมีโครงสร้างร่างกาย กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แข็งแรง การอุ้มทารกจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูก และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกได้รับความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ และช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีมากขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ประโยชน์ของการอุ้มทารก

การอุ้มทารกอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สะดวก ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งผลให้ทารกมีความสุข อารมณ์ดี นอนหลับสนิท อัตราการเต้นหัวใจคงที่ ปรับปรุงการหายใจ และร้องไห้น้อยลง เพราะการอุ้มลูกในอ้อมกอดอาจทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น และรับรู้ได้ถึงความรักของคุณพ่อคุณแม่

งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2529 ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการอุ้มทารกและความถี่ในการร้องไห้ ของทารกอายุ 6 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน โดยให้คุณแม่เพิ่มความถี่ของการอุ้มทารกในช่วงเย็นที่ทารกมักจะร้องไห้บ่อย พบว่า การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกร้องไห้และงอแงน้อยลง 43% ในช่วงอายุ 3 เดือนแรก

ท่าอุ้มทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้

  • ท่าอุ้มประคองศีรษะ เนื่องจากกระโหลกศีรษะของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรอุ้มลูกอย่างระมัดระวัง โดยจับทารกนอนหงาย นำมือช้อนใต้ศีรษะและลำคอเพื่อประคองศีรษะของทารก และนำมืออีกข้างหนึ่งประคองใต้ก้นเมื่อถนัดมือแล้วจึงอุ้มทารกแนบเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก
  • ท่าอุ้มประคองทั้งตัว (The Cradle Hold) คือท่าอุ้มทารกที่ประคองให้ศีรษะทารกอยู่บริเวณข้อพับแขนของคุณพ่อคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง และนำแขนอีกข้างข้างโอบกอดลำตัวทารกโดยให้ช่วงหลังและก้นของทารกอยู่บนแขน เป็นท่าอุ้มที่อาจทำให้พูดคุยสื่อสารกับทารกได้สะดวก และช่วยให้ลูกน้อยมองหน้าคุณพ่อคุณแม่ได้ถนัด อีกทั้งยังช่วยให้ทารกนอนหลับสบาย
  • ท่าอุ้มพาดไหล่ (The Shoulder Hold) เป็นท่าอุ้มท่ารกที่ช่วยทำให้ทารกนอนหลับสบาย โดยเริ่มจากการนำมือประคองศีรษบริเวณ ต้นคอของทารกโดยใช้มือหนึ่งโอบลำตัวด้านหลังทารกไว้ นำมืออีกข้างประคองก้นทารก
  • ท่าอุ้มทารกวางบนตัก (Lap hold) คุณพ่อคุณแม่อุ้มทารกขึ้นวางบนตักหรือชันเข่าขึ้นเล็กน้อย โดยใช้หน้าขาเป็นฐานรองรับตัวของลูกน้อย เท้าของทารกจะอยู่บริเวณข้างเอวของคุณพ่อคุณแม่ เป็นท่าอุ้มที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกต่อการจ้องมองลูก พูดคุย เล่นกับลูกและให้นมจากขวดนม
  • ท่าอุ้มทารกแบบนอนคว่ำ (The Belly Hold) เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีต้นแขนแข็งแรงเพียงพอที่จะประคองลำตัวและศีรษะทารก โดยการช้อนใต้ท้องของทารกให้ลำตัวพาดอยู่บนแขน และศีรษะทารกแนบกับข้อพับ และใช้แขนอีกข้างประคองลำตัว

วิธีอุ้มทารกให้ปลอดภัย

วิธีอุ้มทารกให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรืออุ้มทารก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อโรคและ เจ็บป่วยได้ง่าย
  • การอุ้มทารก ควรประคองศีรษะและ ต้นคอของทารกทุกครั้ง และควรอุ้มทั้ง 2 มือเพราะกระดูกและกล้ามเนื้อของเด็กแรกเกิดอาจยังไม่แข็งแรง
  • ควรอุ้มทารกเมื่ออยู่กับที่และระหว่างการอุ้มทารกไม่ควรทำอย่างอื่นพร้อมกัน เช่น เล่นโทรศัพท์ขณะเดินลงบันได ถือของร้อน ของมีคม ทำอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • ไม่ควรเขย่าหรือโยนทารกขณะอุ้มเพราะอาจกระทบกระเทือนสมอง และเสี่ยงเสียชีวิตกะทันหัน
  • ห่อตัวทารกด้วยผ้าอ้อมหรือ ผ้าขนหนูที่ไม่หนามากเว้นส่วนใบหน้าไว้ให้ทารกหายใจได้สะดวก และไม่ควรรัดแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้ทารกอึดอัด
  • หากคุณพ่อคุณแม่อยากใกล้ชิดกับทารกขณะออกไปเดินเล่น ควรใช้เป้อุ้มเด็กแทนรถเข็นเด็ก และควรเลือกสายรัดที่ปรับได้ และมีเนื้อผ้านุ่มไม่บาดผิวลูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Baby Wearing: What Is It?. https://www.webmd.com/baby/what-is-baby-wearing. Accessed February 28, 2023.

How to hold a newborn: in pictures. https://raisingchildren.net.au/newborns/health-daily-care/holding-newborns/how-to-hold-your-newborn. Accessed February 28, 2023.

Breast-feeding positions. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/multimedia/breast-feeding/sls-20076017?s=2. Accessed February 28, 2023.

Should you swaddle your baby?. https://www.health.harvard.edu/blog/should-you-swaddle-your-baby-201605249730. Accessed February 28, 2023.

How to swaddle a baby. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/multimedia/how-to-swaddle-a-baby/sls-20076006. Accessed February 28, 2023.

Increased Carrying Reduces Infant Crying: A Randomized Controlled Trial

 https://publications.aap.org/pediatrics/article-abstract/77/5/641/53932/Increased-Carrying-Reduces-Infant-Crying-A?redirectedFrom=fulltext. Accessed February 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนของทารก ที่เหมาะสม และวิธีช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา