backup og meta

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไรหลังคลอดและเมื่อกลับมาอยู่บ้าน

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไรหลังคลอดและเมื่อกลับมาอยู่บ้าน

ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดหลังคลอด โดยส่วนใหญ่ร่างกายของทารกจะขับสารเหลืองออกมาทางของเสีย (ทางอุจจาระและปัสสาวะ) และภาวะตัวเหลืองจะหายไปเองเพียงไม่กี่วันหลังคลอด แต่ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจศึกษาวิธีดูแลทารกตัวเหลืองแบบง่าย ๆ และนำไปปฏิบัติร่วมกับคำแนะนำของคุณหมอ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ลูกตัวเหลือง เกิดจากอะไร

เป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดมักมีผิวสีเหลือง เนื่องจากการทำงานของตับในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด (Hyperbilirubinemia) ได้อย่างสมบูรณ์ จึงส่งผลให้ทารกมีสีผิวสีเหลืองได้นั่นเอง แต่บางกรณีหากพบว่าสีผิวของทารกยังคงมีภาวะตัวเหลืองใน 3 สัปดาห์ ก็อาจเป็นไปได้ว่าทารกอาจเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน

จะทราบได้อย่างไรว่าทารกตัวน้อยเป็นโรคดีซ่านหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก สีผิวของทารกที่มีสีเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และไม่รับประทานอาหาร หรือกินนมได้น้อย ซึ่งหากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ต้องเข้ารับการตรวจจากคุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ในทันที เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง

วิธีดูแลลูกตัวเหลืองที่บ้านแบบง่าย ๆ

หลังคลอด หากคุณหมออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกรักกลับบ้านได้ โดยที่ทารกยังคงมีสีผิวสีเหลือง การดูแลลูกรักที่เหมาะสมที่สุด และเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือปฏิบัติดังนี้

  • ดูแลให้ทารกกินนมแม่ 8-12 ครั้งต่อวัน (คือ ให้นมทุก 2-3 ชม.) ในช่วง 3 วันแรกเกิด
  • กรณีที่ทารกกินนมผงควรให้นมสูตรธรรมดา 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร ทุก 2-3 ชั่วโมงในสัปดาห์แรก
  • สังเกตอาการและสีผิวอย่างใกล้ชิด พร้อมจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำไปแจ้งให้คุณหมอทราบ
  • สังเกตสีอุจจาระ หากเป็นสีเหลืองแปลว่าร่างกายขับสารเหลืองออกมาได้ดี

อาการลูกตัวเหลืองแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

โดยปกติทารกที่มีผิวสีเหลือง จะค่อย ๆ เลือนหายเป็นสีผิวปกติได้เองในช่วง 3-7 วัน หลังจากคลอด เมื่อกลับบ้าน หากภายใน 1-2 วันแรกหลังกลับจากโรงพยาบาลพบว่าทารกมีอาการ ดังต่อไปนี้ ผู้ปกครองอาจต้องพาทารกเข้าพบคุณหมออีกครั้งให้เร็วที่สุด และแจ้งอาการให้คุณหมอทราบเบื้องต้นก่อนเริ่มการวินิจฉัย

  • ทารกร้องไห้เสียงดังอย่างรุนแรง และต่อเนื่องอย่างยาวนาน ปลอบไม่หยุด
  • ศีรษะทารก คอ และส้นเท้ามีการงอไปด้านหลัง โค้งเสมือนคันธนู
  • ร่างกายทารกเกร็งแข็ง
  • ดวงตาทารกเคลื่อนที่ไปมาแบบแปลก ๆ
  • สีผิวทารกมีสีเหลืองเข้มขึ้น ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นลำตัว หน้าอก ขา แขน ดวงตา
  • ดูดนมน้อยลง (ไม่อยากอาหาร) 
  • หลับนานกว่าปกติ
  • ตัวอ่อน หรือซึม


การที่ลูกตัวเหลืองย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงแรกเกิด แต่หากมีอาการข้างต้นร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยกำลังเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่ต้องให้คุณหมอเร่งรักษาด้วยเทคนิคที่เหมาะสม เช่น การบำบัดด้วยแสง การถ่ายเลือด การให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Jaundice in Newborns. https://kidshealth.org/en/parents/jaundice.html. Accessed October 25, 2022.

Jaundice and Kernicterus Information for Families. https://www.cdc.gov/ncbddd/jaundice/families.html. Accessed October 25, 2022.

Infant jaundice. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infant-jaundice/symptoms-causes/syc-20373865. Accessed October 25, 2022.

Newborn jaundice. https://www.nhs.uk/conditions/jaundice-newborn/. Accessed October 25, 2022.

What Is Newborn Jaundice?. https://www.webmd.com/parenting/baby/digestive-diseases-jaundice#1. Accessed October 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โภชนาการสำหรับทารก ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา