backup og meta

6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2023

    6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

    คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจกำลังศึกษา ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสม เพื่อให้ดีต่อร่างกายของเด็กและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น เนื่องจากการอุ้มมีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและสมองของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็กอีกด้วย

    ประโยชน์ของการอุ้มเด็ก

    การอุ้มเด็กมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และระบบประสาทของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็ก และยังช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้ท่าอุ้มเด็กที่เหมาะสมยังมีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ อีก เช่น

    • ช่วยควบคุมอุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเจริญเติบโตทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก
    • ช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กพัฒนาในรูปทรงที่ดี ไม่คดงอเมื่อโตขึ้น เพราะการอุ้มเด็กในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กที่ยังอ่อนอยู่ตั้งตรงในตำแหน่งที่ดี แต่หากอุ้มในท่าที่เด็กจะต้องเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง อาจเสี่ยงที่เด็กจะมีกระดูกสันหลังคดงอได้
    • ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงในเด็กได้ เพราะเด็กจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกอุ้ม
    • อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการเข้าสังคม เพราะในระหว่างอุ้มเด็กจะได้ยินเสียงอย่างใกล้ชิด และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้ง่ายขึ้น

    6 ท่า อุ้ม เด็ก มีอะไรบ้าง

    ท่าอุ้มเด็กต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กปลอดภัยอีกด้วย

    ท่าที่ 1 ท่าอุ้มรับทารกแรกเกิด

    ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง

    1. ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของทารกแรกเกิดไว้ และอีกมือหนึ่งอยู่ใต้ก้นของทารก งอเข่าเล็กน้อยระหว่างยกตัวทารกเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง
    2. เมื่อยกตัวทารกขึ้นมาแล้วให้อุ้มทารกไว้แนบอก จากนั้นเลื่อนมือที่อยู่ด้านล่างของทารกขึ้นมารองรับคอของทารก
    3. ค่อย ๆ เคลื่อนศีรษะของทารกไปที่ข้อพับแขน โดยยังคงประคองคอของทารกไว้ แล้วย้ายมืออีกข้างมาไว้ใต้ก้นทารก

    ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง

    ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง

    1. คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าไปด้านข้างหรือหันออกห่างจากตัวแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่
    2. ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง 2 ข้างของแม่
    3. วางแขนเด็กไว้ใต้วงแขนของแม่
    4. แขนของแม่วางพาดหลังเด็กไว้ หากจะลุกเดินให้ใช้แขนทั้งสองข้างประคองก้นของเด็กจะช่วยให้เด็กอยู่นิ่งมากขึ้น

    ท่าที่ 3 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง

    ท่าที่ 3 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่งท่าที่ 3 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง

    1. คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าเข้าอกแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่
    2. ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง 2 ข้างของแม่
    3. วางแขนเด็กไว้ใต้วงแขนของแม่
    4. แขนของแม่วางพาดหลังเด็กไว้ หากจะลุกเดินให้ใช้แขนทั้ง 2 ข้างประคองก้นของเด็กจะช่วยให้เด็กอยู่นิ่งมากขึ้น

    ท่าที่ 4 ท่าอุ้มช่วยพยุงให้ขาเด็กอยู่นิ่ง

    ท่าที่ 4 ท่าอุ้มช่วยพยุงให้ขาเด็กอยู่นิ่ง

  • ให้ลูกนั่งบนตักโดยหันตัวไปด้านข้าง
  • โอบแขนรอบตัวเด็ก โดยให้แขนเด็กด้านในชิดลำตัวแม่และใช้มือจับแขนเด็กที่อยู่ฝั่งด้านนอก
  • วางขาเด็กให้พาดยาวระหว่างตัวแม่ จะช่วยให้ขาเด็กอยู่นิ่ง
  • ท่าที่ 5 ท่าอุ้มช่วยให้ศีรษะเด็กอยู่นิ่ง

    ท่าที่ 5 ท่าอุ้มช่วยให้ศีรษะเด็กอยู่นิ่ง

    1. ให้เด็กนั่งบนตักหันหน้าเข้าหาแม่ โดยให้ศีรษะซบไหล่ของแม่
    2. ให้แขนเด็กอยู่รอบเอวแม่ จากนั้นวางมือบนหลังคอของเด็กเพื่อให้คอเด็กอยู่นิ่ง

    ท่าที่ 6 ท่าอุ้มฉีดวัคซีน

    อุ้มเด็กเล็กฉีดวัคซีนที่ขา

    อุ้มเด็กเล็กฉีดวัคซีนที่ขา

  • อุ้มเด็กไว้บนตัก วางแขนของเด็กไว้ใต้รักแร้ของคุณแม่และออกแรงกดเบา ๆ เพื่อโอบกอดให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
  • ใช้มือที่โอบตัวเด็กจับแขนของเด็กไว้ให้มั่นคง
  • ยึดเท้าของเด็กให้แน่นระหว่างต้นขาหรือใช้มืออีกข้างจับให้แน่น
  • อุ้มเด็กโตฉีดวัคซีนที่แขน

    อุ้มเด็กโตฉีดวัคซีนที่แขน

    1. อุ้มเด็กไว้บนตักหรือให้เด็กยืนข้างหน้าขณะที่คุณแม่นั่ง
    2. โอบกอดด้วยแขนและอาจใช้ขาของคุณแม่ยึดขาทั้ง 2 ข้างของเด็กไว้ในระหว่างการฉีดวัคซีนด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา