backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW
วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

BLW (Baby Led Weaning) หมายถึง การให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง อาหารที่นำมาให้ลูกฝึกกินควรเป็นอาหารที่ ค่อนข้างแข็งเล็กน้อย และควรผ่านการปรุงสุกเพื่อช่วยให้กินได้ง่าย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่น เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แครอท การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถเริ่มรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมได้ สามารถเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ และเริ่มนั่งตัวตรงได้แล้ว การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW เป็นการเสริมทักษะเพื่อให้ลูกสามารถเริ่มหัดช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจช่วยประหยัดเวลาในการป้อนอาหารได้มากขึ้น

[embed-health-tool-baby-poop-tool]

เมื่อไหร่ลูกจะพร้อมฝึก BLW 

  • ลูกควรมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยที่สามารถนั่งบนเก้าอี้แบบทรงตัวตรง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะต้องกินอาหารได้เองแบบที่ไม่ต้องมีคนคอยช่วย เพียงแค่คอยสังเกตพฤติกรรมเท่านั้น การนั่งเองได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกับการกินแบบBLW เมื่อเด็กสามารถนั่งเองได้ก็จะง่ายต่อการกิน
  • หยิบจับของได้ การกินแบบนี้ส่วนใหญ่เน้นให้เด็ก ๆ กินด้วยตัวเอง คุณพ่อหรือคุณแม่ควรสังเกตจากขั้นพื้นฐานของลูกในเรื่องการเริ่มหยิบจับสิ่งของ
  • เริ่มเคี้ยวอาหารได้ แม้ว่าฟันของเด็ก ๆ จะยังไม่ขึ้นเต็มที่ แต่เขาก็มีเหงือกที่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวบดอาหารได้แล้ว

วิธีการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

  • ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารในทุก ๆ มื้ออาหาร แม้เขาอาจจะไม่ได้กินอาหารในทุก ๆ มื้อ แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างนิสัยที่ดีให้กับเขาได้ และปรับให้เขารู้สึกชินและคุ้นเคย
  • หั่นอาหารเป็นชิ้น ๆ ให้พอเหมาะกับมือเล็ก ๆ ของเขา เพื่อที่จะได้หยิบจับเข้าปากได้อย่างง่าย นอกจากนี้ควรหั่นเป็นรูปทรงที่ง่ายต่อการหยิบจับ เช่น ชิ้นแบบยาว เป็นริ้ว ๆ
  • เตรียมพื้นที่ สำหรับการกิน เพราะอาจจะมีความยุ่งยากในระหว่างที่ลูก ๆ กินอาหาร เพราะอาจเกิดความเลอะเทอะไปทั่วทั้งโต๊ะ พื้นบ้าน หรือแม้แต่ใบหน้า ลำตัวของเขาเอง แต่นั้นเป็นสัญญาณที่ดีว่าเขากำลังสนุกกับการกิน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้เขาด้วยการล้างมือก่อนกินอาหาร หลังอาหาร เป็นการสอนเสริมไปในตัวถึงความสะอาด เพื่อให้เขาจดจำ และทำต่อมาเมื่อเติบโต
  • เลือกอาหารที่เหมาะกับวัยของเด็ก อาจจะเริ่มต้นมื้อแรกของลูก ๆ ด้วยอาหารที่ไม่แข็งจนเกินไป เช่น อะโวคาโดบดหยาบ ๆ ไม่ถึงกับละเอียด มันฝรั่งต้ม หรือผักที่ปรุงสุกอื่น ๆ เช่น แครอท บร็อคโคลี่
  • นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเนื้อสัตว์ที่มีความนิ่มในแต่ละมื้ออาหารลงไปได้ด้วย เช่น เนื้อปลานึ่งสุก ตับ หมูเนื้อ เพื่อให้ลูก ๆ ได้ สารอาหารอย่างครบถ้วน และควรให้แต่พอดีในสัดส่วนที่พอดีกับผัก ผลไม้

ประโยชน์ของการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

การกินแบบนี้จะเป็นการเน้นให้เด็ก ๆ ได้กินด้วยตัวเอง หยิบจับอาหารในจานของตัวเอง อย่างแรกคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเสียเวลาป้อน หรือบังคับให้เด็ก ๆ กินอาหาร เพราะเขาจะเป็นคนเลือกเองว่าอยากกินแบบไหนที่เราได้จัดเตรียม และได้ลองเลือกหยิบจับสิ่งนั้นกิน ถือได้ว่าเป็นการบ่งบอกว่าสิ่งไหนที่ลูกชอบหรือไม่ชอบ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในมื้อต่อไปได้ และมากไปกว่านั้นลูกจะได้การเรียนรู้ด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาทักษะของนิ้ว มือ การเคี้ยว ในระหว่างที่หยิบจับอาหาร

ข้อควรระวังในการให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม นมแม่ก็ยังเป็นอาหารที่มีความสำคัญกับเด็ก ๆ มากที่สุด ด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่มากมาย ดังนั้น เราควรเลือกการกินแบบ BLW เพียงวันละ 1 มื้อ ในแต่ละวัน และไม่ควรให้เด็ก ๆ กินในช่วงที่เขากำลังมีอารมณ์เชิงลบ หรือร้องไห้ งอแงอยู่ เพราะอาจทำให้พวกเขาคัดค้านการฝึกนี้ แถมเสี่ยงที่จะทำให้เขาเกิดการสำลัก

ดินา ดิมาจกิโย (Dina DiMaggio) ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ได้กล่าวในนิตรสารฉบับหนึ่งว่า เด็กเล็กยังคงมีความล่าช้าในพัฒนาการด้านระบบประสาท ควรให้อาหารแบบอ่อนในมื้อแรก ๆ และค่อย ๆ เพิ่มความแข็งขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคุณแม่ที่เตรียมอาหารให้เล็กน้อยนี้ควรจะต้องระวัง หรือตรวจสอบดูความผิดปกติของลูกเรื่องการแพ้อาหารเป็นพิเศษ รวมทั้งอาหารที่อาจส่งผลให้ลูกรักสำลัก ติดคอได้ เช่น ถั่ว องุ่น ลูกเกด ข้าวโพดคั่ว ผักดิบ

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจ หรือมีข้อกังวลเพิ่มเติม เกี่ยวกับอาหารที่ควรฝึกให้ลูกเริ่มกินอาหารด้วยตนเอง หรืออยากได้เทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย สามารถเข้าขอคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือคุณหมอเฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The do and don’t of Baby-Led-Weaning https://www.parents.com/baby/feeding/solid-foods/dos-and-donts-of-baby-led-weaning/ . Accessed October 31, 2018

Baby-led weaning: pros and cons. https://www.nct.org.uk/baby-toddler/feeding/introducing-solids/baby-led-weaning-pros-and-cons. Accessed October 31, 2018

Baby-Led Weaning: What You Need to Know. https://health.clevelandclinic.org/baby-led-weaning/. Accessed February 26, 2022.

What to feed your baby. https://www.nhs.uk/start4life/weaning/what-to-feed-your-baby/around-6-months/. Accessed February 26, 2022.

How Feasible Is Baby-Led Weaning as an Approach to Infant Feeding? A Review of the Evidence. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3509508/. Accessed February 26, 2022.

Baby-led weaning. https://www.health.govt.nz/your-health/pregnancy-and-kids/first-year/6-12-months/feeding-your-baby/baby-led-weaning. Accessed February 26, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/02/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 17/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา