backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 หรือทารก 2 เดือน ในช่วงนี้ทารกอาจจะยังคงบอบบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลทารก 5 สัปดาห์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ภายในสัปดาห์แรกของเดือนแรกนี้ ลูกของคุณอาจยกหัวได้เล็กน้อยในขณะที่กำลังนอนคว่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเพ่งมองใบหน้าของผู้อื่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะใบหน้าคุณ ผู้ที่คอยดูแลเขามาเสมอ ในช่วงนี้ลูกของคุณอาจพูดอะไรที่มีเสียงอ้อแอ้ๆ เพื่อแสดงความรู้สึกออกมา เด็กบางคนอาจหวีดร้องหรือหัวเราะได้แล้ว

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ทำเสียงอ้อแอ้หรือพูดคุยโต้ตอบลูกน้อยเป็นประจำ จะทำให้เขาพออกพอใจกับความสนใจของคุณในระยะนี้ คุณควรพูดคุยกับเขาโดยตรง นอกจากนี้ก็ควรใช้ภาษาของเด็กในการพูดคุยหรือสอนการใช้ภาษาให้เขา การสื่อสารกับลูกน้อยแบบนี้จะช่วยเพิ่มความใกล้ชิด และความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    คุณหมออาจอาจทำการตรวจสอบต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของลูกคุณว่าตอนนั้นเป็นยังไง ถ้าคุณมีนัดไปพบคุณหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้

    • สอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณและคนในครอบครัวควรทำเมื่ออยู่ที่บ้าน และการรับประทานอาหาร การนอน และพัฒนาการโดยทั่วไปของลูกน้อย
    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเส้นรอบวงศีรษะ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คลอด
    • ทดสอบความสามารถทางการได้ยิน และการมองเห็นของเด็ก

    สิ่งที่ควรรู้

    • การคายอาหาร

    ในช่วงเดือนแรกนี้เด็กทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเป็นบางครั้ง เด็กบางคนก็แหวะทุกครั้งที่ป้อน บางครั้งเด็กแหวะนมเพราะกินเข้าไปมากเกิน ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้แบบเวิร์คๆ แต่อาจลองลดการกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างกินนมดู

    ถึงแม้การแหวะนมจะเป็นเรื่องปกติและไม่มีอะไรน่าห่วง แต่การแหวะนมบางประเภทก็ส่อว่ามีปัญหาได้เหมือนกัน คุณแม่ควรโทรไปปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกน้อยแหวะนมพร้อมมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือสำลักหรือไอเป็นเวลานานๆ หรืออาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียว

    อาการแพ้นมมักพบได้บ่อยในเด็กทารก ซึ่งในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง ก็มักจะอาเจียนออกมาบ่อยๆ รวมทั้งถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ และอาจจะมีเลือดปนออกมาด้วยก็ได้ นอกจากนี้เด็กที่แพ้นมยังมีอาการของผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ลมพิษ อาการหายใจติดขัด และมีน้ำมูก ก่อนที่จะรักษาลูกน้อยด้วยวิธีการใดๆ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอก่อน เพื่อการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำ 

  • การขับถ่ายอุจจาระ
  • โดยปกติแล้วทารกที่ยังไม่หย่านมแม่มักจะมีอุจจาระนิ่ม และบางครั้งก็อุจจาระเหลว แต่อาการท้องเสียที่อุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีกลิ่นเหม็น และอาจมีเมือกปนออกมาด้วย มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการมีไข้และน้ำหนักลด พบได้น้อยในเด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว แต่เด็กในกลุ่มนี้จะฟื้นตัวจากอาการท้องเสีย ได้เร็วกว่าเด็กที่ดื่มนมจากขวด

    เด็กที่ดื่มนมจากขวดบางคนจะเว้นช่วงในการขับถ่าย 3-4 วัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอุจจาระของเด็กมีรูปร่างประหลาด หรือเป็นก้อน กลมๆแข็งๆหรือทำให้รู้สึกเจ็บปวดจนเลือดออก เนื่องจากเกิดแผลหรือฝีบริเวณทวารหนัก ลูกของคุณก็อาจมีอาการท้องผูก ซึ่งถ้าคุณสงสัยว่าลูกมีอาการท้องผูก ก็ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที ปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอพร้อมทั้งให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยเยียวยาให้มีอาการดีขึ้น

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ควรกังวลในเรื่องใด

    ในสัปดาห์แรกของเดือนแรกนี้ มีเรื่องมากมายที่คุณควรจะรู้เอาไว้ อย่างแรกเลยก็ต้องรู้ว่าลูกน้อยของคุณได้รับน้ำนมและสารอาหารอย่างพอเพียงหรือเปล่า โดยสังเกตุได้จากอาการพวกนี้

    • ผ้าอ้อมเปียก เมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมก่อนการป้อนอาหารทุกครั้ง
    • ปัสสาวะไม่มีสี
    • คุณได้ยินเสียงงับอากาศ และเสียงกลืนนมลงท้อง
    • ลูกน้อยดูมีความสุข และพึงพอใจหลังป้อนนม
    • คุณรู้สึกนมคัด เมื่อมีน้ำนมผลิตขึ้น
    • คุณสังเกตว่า มีน้ำนมรั่วไหล
    • คุณไม่มีประจำเดือนในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด 

    ในการช่วยให้ลูกของคุณนอนหลับสบาย ก็ควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

    • เตรียมพื้นที่ให้ลูกน้อย สามารถนอนหลับได้อย่างสบาย
    • ตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
    • สร้างความรู้สึกสงบให้กับลูกน้อย
    • ให้ลูกน้อยได้นอนหลับอย่างเพียงพอในระหว่างวัน
    • ห้องนอนของลูกน้อยควรมีแสงตะวันส่องให้เห็น

    แล้วทารกจะพัฒนาต่อไปอย่างไรนะ ในสัปดาห์หน้า

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา