พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 มีการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหารพลิกตัว พูดคำง่าย ๆ ซึ่งถือเป็นช่วงการเรียนรู้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเล่น หรือพูดคุยกับลูก เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และเลียนแบบ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายของลูกให้แข็งแรง ก็เป็นอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19
ลูกน้อยจะเติบโตและมีพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 อย่างไร
แม้ว่าการร้องไห้ยังคงเป็นรูปแบบการสื่อสารของทารก แต่ลูกน้อยอาจเริ่มพัฒนาอารมณ์ขันขึ้นมาบ้าง โดยอาจเริ่มหัวเราะเมื่อรู้สึกประหลาดใจ เช่น เวลาเห็นคุณพ่อคุณแม่โผล่ออกมาจากใต้ผ้าห่ม หรือของเล่นเด้งขึ้นมาจากกล่อง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจส่งเสริมการหัวเราะ เสียงคิกคัก และรอยยิ้มของลูกน้อยด้วยการทำหน้าตลก ๆ ให้ดู ลูกน้อยยังชอบได้ยินเสียงโน่นเสียงนี่ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการสร้างเสียงขึ้นมาเลย แค่กระเดาะลิ้น ผิวปาก หรือทำเสียงร้องของสัตว์ ลูกน้อยก็สนุกแล้ว นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการ ดังนี้
- ควบคุมลำตัวให้ตรงได้ในขณะนั่ง
- พลิกตัวไปในทิศทางหนึ่ง
- ให้ความสนใจต่อเสียง โดยเฉพาะเสียงของคุณแม่
- พูดคำง่าย ๆ บางคำได้
- กระโดดโลดเต้นได้แล้ว
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยหัวเราะ ด้วยการหัวเราะไปกับลูกหรือทำหน้าตลก ๆ ให้ดู นอกจากนี้ ลูกน้อยยังชอบฟังเสียงโน่นนี่ด้วย เพียงแค่กระเดาะลิ้น ผิวปาก หรือทำเสียงร้องของสัตว์ ก็ทำให้ลูกน้อยสนุกสนานได้แล้ว ลองให้ลูกน้อยเขย่าของเล่นที่มีเสียง เพราะลูกน้อยอาจแสดงออกถึงความสนใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็น และควรให้ลูกน้อยได้สำรวจและเล่นกับสิ่งที่แตกต่างกัน แล้วจะเห็นว่าลูกน้อยเล่นเกมส์อย่างตั้งใจ และแสดงความอยากรู้อยากเห็นกับของเล่นต่าง ๆ
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
คุณหมอแต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพลูกน้อยต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป คุณหมอหรือพยาบาลอาจทำการตรวจร่างกายตามรายการต่อไปนี้
- ฉีดวัคซีนให้เป็นครั้งที่ 2 ถ้าทารกมีสุขภาพดี คุณหมอก็อาจไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่นอีกแล้ว
- คุณพ่อคุณแม่ควรบอกคุณหมอถ้ามีปฎิกิริยาใด ๆ เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อน
สิ่งที่ควรรู้
ในช่วงวัยนี้อาจมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจ ดังนี้
- โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส
โรคนี้มักมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด เชื้อไวรัสอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในหู โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นโรคหอบหืดหรือโรคทางระบบหายใจอย่างอื่นได้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบส่วนใหญ่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่าย แต่โรคนี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ในช่วงแรก ๆ ลูกน้อยอาจไม่แสดงอาการอะไร แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันก็อาจมีอาการรุนแรงขึ้น และทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกอาจติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ รูจมูกขยาย กล้ามเนื้อท้องบีบตัว หายใจฟืดฟาด หายใจถี่มากกว่า 60 ครั้ง/นาที ริมฝีปากและเล็บเขียว และมีปัญหาในการป้อนอาหาร
ถ้าลูกน้อยเป็นโรคนี้ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจสอบการหายใจ คุณหมออาจสั่งยาขยายหลอดลม เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกขึ้น ยาปฏิชีวนะอาจไม่ช่วยรักษาโรคติดเชื้อทางระบบหายได้ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลอาการของลูกน้อยได้ ด้วยการให้ดื่มน้ำอย่างพอเพียง และอยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่ เพื่อป้องกันอาการหายใจติดขัด
คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ยาหยอดหรือยาพ่นจมูก เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกขึ้น ยาพวกนี้อาจช่วยลดเสมหะและน้ำมูกได้ เพื่อช่วยป้องกันอาการหายใจไม่ออก ในขณะเดียวกันอาจยกศีรษะลูกน้อยให้สูงเวลานอน รวมถึงอาจใช้พาราเซตามอลในการลดไข้ตามที่คุณหมอแนะนำ สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคปอด หรือเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ควรได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสพวกนี้
- เสียงฟู่ของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ หากมีปัญหาอะไรขึ้นมาก็อาจเป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะกับทารก แต่อาการเสียงฟู่ของหัวใจมักไม่รุนแรง และอาจหายเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เมื่อคุณหมอบอกว่าลูกน้อนมีเสียงฟู่ของหัวใจ หมายความว่า หัวใจสร้างเสียงที่ผิดปกติ เมื่อมีเลือดสูบฉีดไปที่หัวใจ คุณหมออาจระบุสาเหตุของเสียงผิดปกติดังกล่าวให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้
โดยส่วนใหญ่แล้วเสียงฟู่ของหัวใจนั้นเกิดจากหัวใจมีรูปร่างที่ผิดปกติ เนื่องจากยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เสียงนี้อาจไม่เป็นอันตราย และอาจใช้หูฟังในการวินิจฉัยโรค คุณหมออาจไม่ต้องทำการทดสอบหรือให้การรักษาอย่างอื่น เมื่อมีหัวใจพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว อาการเสียงฟู่ของหัวใจก็อาจหายไปได้เอง
หากคุณพ่อคุณแม่ยังรู้สึกเป็นกังวลควรสอบถามคุณหมอ เพื่อจะได้รู้สถานะที่แท้จริง รวมถึงรู้ว่าจะมีผลกระทบต่อลูกน้อยในปัจจุบัน หรือในอนาคตหรือเปล่า
สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19
การนวดร่างกาย
การนวดไม่ใช่สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การนวดกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับทารก โดยการนวดอาจช่วยให้ลูกน้อยโตเร็ว นอนหลับสบาย หายใจได้สะดวก และตื่นตัว
ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากเรียนรู้วิธีการนวดลูกน้อย อาจซื้อหนังสือ ดูวิดีโอ หรือเข้าคอร์สเรียนกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียนรู้วิธีนวดที่ถูกต้อง หรืออาจทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เลือกเวลาที่สะดวก
- เลือกเวลาที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย
- สร้างพื้นที่ที่สะดวกสบาย
- ใช้น้ำมันหล่อลื่น
- ดูการตอบสนองของลูกน้อยเป็นหลัก โดยลูกจะบอกว่าชอบหรือไม่ชอบ และคุณพ่อคุณแม่จะรู้เองว่าควรจะนวดยังไง และควรหยุดเมื่อไร จากการตอบสนองของลูกน้อย
- ทดสอบการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปแล้ว ลูกน้อยจะชอบการลูบไล้เบา ๆ
- วางมือไว้บนศีรษะแต่ละข้างอย่างเบามือเป็นเวลา 2-3 วินาที แล้วลากผ่านใบหน้าเรื่อยไปตามร่างกายจนถึงนิ้วเท้า
- ใช้นิ้วนวดแนวเป็นวงกลมบริเวณศีรษะ ใช้มือกดเบาๆ บริเวณหน้าผาก แล้วลากออกไปทางด้านข้าง
- ลูบไล้บริเวณหน้าอก จากด้านในออกไปทางด้านนอก
- ใช้มือลูกท้องขึ้นลงเบา ๆ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งนวดเป็นแนววงกลมบริเวณขอบเอว จากนั้นใช้นิ้วมือไต่ไปตามหน้าท้องของลูกน้อย
- ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างคลึงแขนขาของลูกน้อยเบา ๆ ลูบแขนขา และนวดบริเวณนิ้วของลูกน้อย
- ยกขาขึ้นลง นวด และลูบไล้บริเวณนิ้วเท้า
- จับลูกน้อยนอนคว่ำ แล้วนวดบริเวณหลังจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง และจากด้านบนไปยังด้านล่าง
- ในระหว่างที่นวดอยู่นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพูดหรือร้องเพลงให้ลูกน้อยฟัง