backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/11/2023

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)

เวลาที่ไปตรวจร่างกาย หลายคนอาจเคยเห็นแพทย์นำอุปกรณ์หูฟังทางการแพทย์มาลองฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติที่แพทย์อาจพบคืออาการ เสียงฟู่ของหัวใจ สภาวะนี้เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

คำจำกัดความ

เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur) เป็นเสียงที่เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ คล้ายกับเสียงเป่าลม ซึ่งเกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของการไหลของเลือดในหัวใจ หรือบริเวณใกล้เคียง เสียงชนิดนี้สามารถใช้หูฟังของแพทย์ โดยจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติจะมีสองเสียง เช่น ตุบๆ (lubb-dupp) (บางครั้งเรียกว่า “lub-DUP”) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นขณะลิ้นหัวใจปิด

ภาวะเสียงฟู่ของหัวใจอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในเวลาต่อมาเมื่อโตขึ้น ภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เสียงฟู่นี้อาจชี้ให้เห็นปัญหาของหัวใจที่ซ่อนอยู่

เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด

เสียงฟู่ของหัวใจที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายแต่อย่างใด เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดกับเด็กๆ ร้อยละ 40-45 และผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 ในบางครั้งของช่วงชีวิต เสียงฟู่ที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายนี้พบได้บ่อยมากกว่าในผู้หญิงในระหว่างการตั้งครรภ์ เสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) และโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (mitral regurgitation) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของเสียงฟู่ของหัวใจ

หากคุณมีอาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) มีแนวโน้มว่าคุณจะไม่มีสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นใด

อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบผิดปกติอาจไม่ก่อให้เกิดสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นๆ อย่างชัดเจน นอกเหนือจากเสียงผิดปกติที่แพทย์จะได้ยิน เมื่อฟังเสียงหัวใจผ่านหูฟัง แต่ถ้าคุณมีสัญญาณแสดงหรืออาการเหล่านี้ อาจชี้ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่่ยวกับหัวใจ

  • ผิวหนังกลายเป็นสีเขียว โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก
  • มีอาการบวมหรือน้ำหนักขึ้นแบบฉับพลัน
  • หายใจลำบาก
  • ไอเรื้อรัง
  • ตับโตขึ้น
  • เส้นเลือดคอโตขึ้น
  • รับประทานอาหารได้น้อยและร่างกายเติบโตไม่เป็นปกติ (ในทารก)
  • เหงื่อไหลโชกโดยไม่ได้ออกแรงหรือออกแรงเพียงเล็กน้อย
  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หน้ามืดเป็นลม

อาจมีอาการอื่นที่ไม่ได้แสดงไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเสียงฟู่ของหัวใจ

สภาวะที่พบบ่อยอาจทำให้หัวใจคุณเต็นเร็วขึ้นเรื่อยๆ และนำไปสู่ภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ อาจเกิดขึ้นได้ถ้าคุณตั้งครรภ์หรือถ้าคุณมีความผิดปกติดังต่อไปนี้

เสียงฟู่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ โดยปกติ ลิ้นหัวใจจะปิดและเปิดออก เพื่อให้เลือดไหลผ่านห้องหัวใจส่วนบนสองห้อง ที่เรียกว่า atria และสองห้องล่าง คือ ventricles ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจไมตรัลปลิ้น (mitral valve prolapse) ตามปกติ ลิ้นหัวใจไมตรัลจะปิดสนิท เมื่อห้องหัวใจล่างซ้ายหดตัว ลิ้นหัวใจนี้จะหยุดเลือดไม่ให้ไหลกลับสู่หัวใจห้องซ้ายบน ถ้ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของลิ้นหัวใจโป่งออกมาและปิดไม่สนิท จะเกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลปลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงคลิกเมื่อหัวใจเต้น ภาวะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อยและมักไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดเลือดไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจได้ ซึ่งแพทยือาจะเรียกว่าเป็น ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation)
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกหรือไมตรัลตีบ (mitral valave or aortic stenosis) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกหรือไมตรัลอยู่ทางด้านซ้ายของหัวใจ ถ้าลิ้นนี้ตีบลง แพทย์จะเรียกว่าภาวะลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) ซึ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ที่เหลือของร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษา หัวใจอาจเกิดภาวะผิดปกติและนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ บางคนอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด และสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากอายุที่มากขึ้น หรือเพราะแผลเป็นจากการติดเชื้อ เช่น ไข้รูมาติก (Rheumatic fever)
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบและแข็ง (aortic sclerosis and stenosis) หนึ่งในสามของผู้สูงอายุพบว่ามีภาวะเสียงฟู่ในหัวใจ เนื่องมาจากรอยแผล การหนาตัว หรือการแข็งตัวของลิ้นหัวใจเอออร์ติก ซึ่งเรียกว่า ภาวะแข็งตัวของลิ้นหัวใจเอออร์ติก ตามปกติแล้วไม่เป็นอันตราย เนื่องจากลิ้นหัวใจยังสามารถทำงานได้หลายปีหลังจากที่เริ่มเกิดเสียงฟู่ ตามปกติ พบภาวะนี้ได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่ลิ้นหัวใจก็อาจหดตัวได้เมื่อเวลาผ่านไป เรียกว่าภาวะลิ้นหัวใจตีบ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการเจ็บทรวงอก หายใจลำบาก หรืออาจหมดสติได้ บางครั้งจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • โรคลิ้นหัวใจไมตรัลหรือเอออร์ติกรั่ว (Mitral or aortic regurgitation) ในกรณีนี้ ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว หมายถึงเลือดไหลไปผิดทางผ่านลิ้นหัวใจไมตรัลหรือเอออร์ติก และย้อนกลับไปสู่หัวใจ หัวใจคุณจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลักดันเลือดให้ไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจที่เกิดความเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป ภาวะนี้อาจแย่ลงหรือทำให้หัวใจคุณโตขึ้นและนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • ความบกพร่องของหัวใจตั้งแต่กำเนิด ในแต่ละปี ทารกประมาณ 25,000 คนเกิดมาพร้อมกับภาวะหัวใจบกพร่องปัญหาเหล่านี้ได้แก่การเกิดรูในผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดสามารถแก้ไขความผิดปกติเหล่านี้ได้เป็นจำนวนมาก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเสียงฟู่ของหัวใจ

มีปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจมากมาย เช่น

  • ประวัติการเกิดภาวะผิดปกติของหัวใจของคนในครอบครัว ถ้ามีผู้ร่วมสายโลหิตมีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ นั่นจะเพิ่มความเป็นไปได้ที่คุณหรือบุตรของคุณอาจเป็นโรคหัวใจและเกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน
  • โรคประจำตัวบางประการ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Endocarditis) ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary hypertension) คาร์ซินอยด์ซินโดรม (Carcinoid syndrome) โรค Hypereosinophilic syndrome โรคแพ้ภูมิตัวเอง (systemic lupus erythematosus) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ หรือมีประวัติเคยเป็นโรคไข้รูมาติก สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจได้ในภายหลัง

ทารกก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจได้เช่นกัน โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงดังนี้

  • ความเจ็บป่วยในระหว่างการตั้งครรภ์ การเกิดอาการบางอย่างในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือการติดเชื้อหัดเยอรมัน จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกของคุณจะเกิดความผิดปกติของหัวใจและภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ
  • การใช้ยาหรือยาเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ยาบางชนิด แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติดอาจเป็นอันตรายแก่ทารกที่กำลังเติบโต และส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหัวใจได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ

โดยปกติ สามารถตรวจพบภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ เมื่อแพทย์ใช้หูฟังตรวจฟังหัวใจระหว่างการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่าภาวะเสียงฟู่ของหัวใจบ่งบอกถึงภาวะที่เป็นอันตรายหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นเสียงดังขนาดไหน โดยจะมีการจัดลำดับตามสเกลตั้งแต่ 1 ถึง 6 โดยที่ 6 หมายถึงเสียงดังที่สุด
  • เสียงมาจากส่วนไหนของหัวใจ และได้ยินจากบริเวณคอหรือหลัง
  • ระดับเสียงเป็นอย่างไร สูง ปานกลาง หรือต่ำ
  • อะไรที่ส่งผลกับเสียงที่ได้ยิน ถ้าคุณเปลี่ยนท่าทางหรือออกกำลังกายจะมีผลกับเสียงนั้นหรือไม่
  • เกิดเสียงเมื่อใดและนานเพียงใด ถ้าภาวะเสียงฟู่ของหัวใจเกิดขึ้นมื่อหัวใจของคุณเต็มไปด้วยเลือด หรือเสียงฟู่ของหัวใจคลาย (diastolic murmur) หรือตลอดระยะการเต้นของหัวใจ (เสียงฟู่หัวใจแบบต่อเนื่อง) ซึ่งอาจหมายความว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าปัญหาคืออะไร

นอกจากนี้ แพทย์จะหาสัญญาณแสดงและอาการอื่นๆ ของโรคหัวใจ และสอบถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ และสอบถามว่าสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ของคุณมีเสียงฟู่หัวใจหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ หรือไม่

การตรวจเพิ่มเติม

ถ้าแพทย์คิดว่าภาวะเสียงฟู่หัวใจผิดปกติ อาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

  • การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก แสดงให้เห็นภาพของหัวใจ ปอดและหลอดเลือด สามารถแสดงให้เห็นได้ถ้าหัวใจของคุณขยายโตขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงอาการที่ซ่อนอยู่กำลังทำให้เกิดเสียงฟู่หัวใจของคุณ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, ECG) ในการตรวจภายนอกร่างกาย (noninvasive test) นักเทคนิคจะวางเครื่องมือตรวจบนหน้าอกซึ่งจะบันทึกคลื่นชีพจรไฟฟ้าที่ทำให้หัวใจของคุณเต้น การตรวจ ECG จะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้และสามารถช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถตรวจหาจังหวะหัวใจและปัญหาทางโครงสร้างได้
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) การทดสอบประเภทนี้ใช้คลื่นอัลตราซาวด์เพื่อแสดงภาพของการทำงานและโครงสร้างของหัวใจของคุณอย่างละเอียด โดยสามารถระบุลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจที่แข็ง (เกิดแคลเซียมเกาะ) หรือเกิดการรั่ว และยังสามารถตรวจพบความผิดปกติของหัวใจส่วนมากได้ด้วย
  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) ในการตรวจประเภทนี้ จะมีการสอดสายสวนเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดงในขาหรือแขนจนกว่าจะไปถึงหัวใจ โดยสามารถวัดประเมินแรงดันในห้องหัวใจของคุณ และอาจมีการฉีดสีย้อมเข้าไป

สีย้อมนี้สามารถเห็นได้บนฟิล์มเอ็กซ์เรย์ ซึ่งช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถมองเห็นเลือดไหลผ่านหัวใจ เส้นเลือด และลิ้นหัวใจเพื่อตรวจหาความผิดปกติต่างๆ โดยทั่วไปใช้การทดสอบนี้เมื่อการตรวจอื่นๆ ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

การรักษาภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ

ผู้ใหญ่และเด็กจำนวนมากมีเสียงฟู่หัวใจแบบไม่อันตราย ซึ่งไม่ต้องการการรักษา แต่ถ้ามีภาวะอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง ทำให้คุณเกิดเสียงฟู่หัวใจ แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรค

โรคลิ้นหัวใจบางประเภทโดยวิธีดังต่อไปนี้

  • ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรืออาการใจสั่น และความดันเลือดลง
  • ยาขับปัสสาวะเพื่อขจัดเกลือและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้หัวใจของคุณเต้นง่ายขึ้น
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของลิ้นหัวใจบางประเภท

ไม่ใช่เรื่องพบบ่อย แต่บางครั้งแพทย์จะขอให้ผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจก่อนรักษาฟันหรือดำเนินการผ่าตัดบางประเภท

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณสามารถรับมือกับภาวะเสียงฟู่ของหัวใจได้

ในขณะที่คุณไม่สามารถทำอะไรได้มากนักเพื่อป้องกันภาวะเสียงฟู่หัวใจ แต่ก็อาจทำให้เบาใจได้บ้างว่า จริงๆ แล้ว เสียงฟู่หัวใจไม่ใช่โรค และบ่อยครั้งแล้วไม่เป็นอันตราย ในเด็ก เสียงฟู่จะหายไปเองเมื่อโตขึ้น สำหรับผู้ใหญ่ เสียงฟู่อาจหายไปเมื่อโรคที่เป็นสาเหตุเสียงฟู่นั้นหายดี

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/11/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา