backup og meta

พัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

พัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง เด็ก1ขวบ จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย สมอง การเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูก เพื่อจะได้ดูแลลูกและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ อาจแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอายุ 7-9 เดือน และทารกอายุ 10-12 เดือน โดยแต่ละช่วงอายุอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงอายุอาจมีดังนี้

  • พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 0-3 เดือน

ในช่วงแรกทารกอาจมีการพัฒนาด้านร่างกายและสมองที่กำลังเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่พบเห็น มีการตอบสนองต่อการสัมผัส และอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ส่งยิ้ม กวาดมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เริ่มขยับเพื่อจับวัตถุต่าง ๆ ที่หยิบยื่นใส่มือ คอจะเริ่มแข็งแรงขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องอุ้มประคองคอและศีรษะเสมอ

  • พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 4-6 เดือน

เมื่อทารกมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ช่วงวัย 4-6 เดือน ลูกจะเริ่มคว้าสิ่งของต่าง ๆ ที่พบเห็น รวมไปถึงเริ่มส่งเสียง หรือหัวเราะออกมา พร้อมกับเริ่มพลิกตัวไปมา อยากนั่ง เพื่อเตรียมร่างกายในการเคลื่อนไหว ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากก็ตาม

  • พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 7-9 เดือน

ทารกวัยในช่วงอายุ 7-9 เดือน อาจเริ่มอยากเคลื่อนไหวตัวเองมากขึ้น นั่งได้มั่นคงขึ้น พลิกคว่ำหรือเริ่มใช้แรงไถตัวไปมากับพื้น จนไปถึงขั้นคลานเตาะแตะ เพื่อให้ตัวเองเคลื่อนที่ได้ แต่นอกจากจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวแล้ว ลูกอาจเริ่มพูดได้เป็นคำ เช่น  พ่อ แม่ ป๊า ม๊า แต่การส่งเสียงอาจยังไม่ชัดเจนนัก ที่สำคัญ ทารกวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ถึงการใช้ภาษามืออีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการปรบมือ บ๊ายบาย ตามการฝึกสอนของคุณพ่อคุณแม่

  • พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 10-12 เดือน

เมื่อใกล้ข้ามผ่านช่วงขวบปีแรก ลูกจะมีพัฒนาการด้านการทรงตัวเพื่อยืนและเริ่มหัดเดิน รวมถึงอาจมีการเรียนรู้ในการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เช่น การจับช้อนรับประทานอาหารเองได้มั่นคงมากขึ้น มากไปกว่านั้นอาจเริ่มมีการซึมซับจากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำแล้วนำมาเลียนแบบอย่างการคุยโทรศัพท์ คำพูดการสื่อสารบางคำ

พัฒนาการแต่ละช่วงของทารกที่กล่าวในข้างต้นอาจไม่แน่นอนเสมอไป ทารกอาจมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วกว่าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงลูกของคุณพ่อคุณแม่แต่ละคน ดังนั้น หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมอาจเข้าพบคุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ เพื่อพูดคุยถึงการเพิ่มพัฒนาการและการฝึกทักษะให้กับลูก

เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงดูอย่างไร

เพื่อให้ลูกเผชิญกับสภาวะแวดล้อมในเชิงบวกตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจนำวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติกับลูก ดังนี้

  • พูดคุยกับลูกให้มากขึ้น เป็นประจำทุกวัน ทั้งในช่วงขวบปีแรกและช่วงอายุอื่น ๆ
  • อ่านหนังสือ เล่านิทาน เปิดเพลงที่เกี่ยวข้องกับด้านภาษาให้ลูกฟัง
  • ให้ความสนใจกับลูกให้มาก ๆ
  • หมั่นให้ความอบอุ่นอย่างการกอด และอุ้ม เพราะลูกอาจรู้สึกได้ถึงความรักและความปลอดภัย

เคล็ดลับอื่น ๆ ในการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ

เนื่องจากร่างกายของทารกในช่วงขวบปีแรกยังไม่แข็งแรงมากพอ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องทะนุถนอมลูกให้มาก  โดยไม่ควรอุ้มลูกแล้วโยน หรือเขย่าร่างกายของทารกแรง ๆ เพราะอาจทำให้กระทบกระเทือนต่อสมองได้ รวมถึงควรระวังไม่ให้ลูกนอนคว่ำหน้า เพราะอาจทำให้ลูกหายใจไม่ออก และต้องระมัดระวังเรื่องการหยิบจับสิ่งของเข้าปาก เพื่อป้องกันการรับสารเคมี สิ่งสกปรกหรือทางเดินหายใจอุดกั้น สำลัก จนส่งผลให้เสียชีวิตกะทันหัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infants (0-1 year of age). https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/positiveparenting/infants.html. Accessed July 14, 2021

Baby’s First Year: How Infants Develop. https://www.webmd.com/parenting/baby/features/stages-of-development#2. Accessed July 14, 2021

Infant development: Birth to 3 months. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-development/art-20048012. Accessed July 14, 2021

Month to Month Development Milestones. https://www.onhealth.com/content/1/monthly_baby_milestones. Accessed July 14, 2021

Milestones for a 1-Year-Old. https://www.uofmhealth.org/health-library/ue5755. Accessed July 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก สังเกตอย่างไร

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ สร้างได้ด้วยการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา