backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/01/2023

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 โดยทั่วไป ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นแล้ว และเด็กจะเริ่มคลาน และเอื้อมคว้าสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาพัฒนาเด็ก สัปดาห์ที่ 31 หากพบปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาด้านพัฒนาการใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอทันที

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ลูกน้อยอาจเริ่มมีฟันขึ้นเมื่อมีอายุได้ 3 เดือน หรืออย่างช้าก็ 12 เดือน โดยส่วนใหญ่ฟันซี่แรกของลูกน้อยจะขึ้น 2 ซี่ด้านล่างก่อน แต่หากฟันของลูกน้อยมีช่องว่างระหว่างฟันแต่ละซี่มากเกินไป ช่องดังกล่างอาจหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3 ขวบ

    เมื่อลูกน้อยฟันเริ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยมีน้ำลายไหลมากขึ้น รวมถึงอาจส่งเสียงแปลก ๆ ออกมาด้วย ซึ่งในสัปดาห์ที่ 31 ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการ ดังนี้

  • คืบและคลานได้
  • ส่งวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้
  • ยืนขึ้นในขณะที่ยึดจับคนหรือสิ่งของเอาไว้
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ในช่วงวัยทารก ลูก ๆ ไม่ค่อยเต็มใจที่จะแยกจากคุณพ่อคุณแม่เท่าไร ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอิ่มเอิบใจ แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้เหมือนกัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่ออกจากบ้านแล้วต้องปล่อยลูกน้อยไว้ที่บ้าน ก่อนออกจากบ้านควรเข้าไปโอบกอดลูกน้อยเยอะ ๆ แล้วบอกเขาว่าจะไปที่ไหน รวมถึงควรบอกลูกว่าจะรีบกลับบ้านให้เร็วที่สุด ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่จะกลับมาใน 1 ชั่วโมง ความรักที่คุณพ่อคุณแม่แสดงออกไปจะทำให้ลูกน้อยอบอุ่น อุ่นใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรทำแบบนี้ทุก ๆ ครั้งที่จะออกไปข้างนอกนาน ๆ เพื่อที่ลูกน้อยจะได้เข้าใจและไม่รู้สึกกลัว

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดี คือ เด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าลูก ๆ มีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว ดังนั้น ควรจดบันทึกข้อสงสัยเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก เพื่อนำไปปรึกษากับคุณหมอในครั้งถัดไป และอย่าลังเลที่จะโทรปรึกษาคุณหมอทันที เมื่อมีปัญหา หรือถ้ามีข้อกังวลใด ๆ เป็นพิเศษ ไม่ควรรอจนถึงการนัดครั้งถัดไป

    สิ่งที่ควรรู้

    การงอกของฟัน

    เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายจากฟันที่กำลังงอกขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยเคี้ยวอะไรบางอย่าง เช่น แหวนยาง ผ้าขนหนูเย็น ๆ อาหารเย็น ๆ เพราะความเย็นจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้นได้ เนื่องจากความเย็นจะทำให้เกิดอาการชา จึงช่วยลดความเจ็บปวดได้ชั่วคราว นอกจากนี้ ยังอาจให้ลูกน้อยแทะคุกกี้ที่ไม่มีน้ำตาล เอานิ้วมือถูบริเวณเหงือกที่เจ็บปวด หรือใช้เจลบรรเทาอาการปวดสำหรับเด็กก็ได้

    การสำลัก

    การสำลัก หมายถึง การที่ลูกน้อยกำลังพยายามจะใช้อากาศดันเอาสิ่งกีดขวางในทางเดินหายใจออกไป ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยหายใจลำบาก เปล่งเสียงผิดปกติ มีการขย้อน ไอ หายใจโดยมีเสียงดังฟืดฟาด ผิวหนังอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีเขียวคล้ำ และอาจหมดสติเนื่องจากขาดออกซิเจน

    ถ้าเด็กสามารถไอ ร้องไห้ พูด หรือหายใจได้ปกติ แสดงว่าไม่มีอะไรไปอุดกั้นทางเดินหายใจแล้ว บางครั้งลูกน้อยอาจดันสิ่งอุดตันออกได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรอยู่ในอาการสงบและมีสติ แต่ถ้าลูกน้อยอ้าปากค้าง ผิวเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว ตาและปากเปิดกว้าง หรือหมดสติ ควรโทรหาหน่วยฉุกเฉินทันที และควรรีบจัดการกับลูกน้อยโดยเร็วที่สุด หานเกิดกรณีต่อไปนี้

  • ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบอะไรที่ทำให้ลูกน้อยขาดอากาศหายใจควรใช้นิ้วล้วงออกมา แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เห็นอันตรายจากการสำลัก อย่าใช้นิ้วล้วงเข้าไปในปากของลูกน้อย เพราะอาจยิ่งทำให้สิ่งที่เข้าไปอุดในคอยิ่งเลื่อนเข้าไปลึกยิ่งขึ้น
  • จับลูกน้อยให้ตั้งตัวขึ้นมาอยู่บนแขน แล้วใช้มือพยุงบริเวณคางเอาไว้ จับศีรษะลูกน้อยให้ก้มต่ำลง
  • ตบที่หลังลูกน้อยเบา ๆ  5 ครั้ง อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และอ่อนโยน โดยตบในบริเวณอยู่ที่ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง และควรทำแต่ละขั้นตอนอย่างระมัดระวัง เพราะอวัยวะของลูกน้อยยังมีความเปราะบางอยู่
  • ถ้าลูกน้อยเริ่มมีอาการไอ ก็ปล่อยให้เขาบ้วนสิ่งที่ทำให้เกิดการสำลักออกมา แทนที่จะใช้นิ้วเข้าไปในปาก ถ้าลูกน้อยไม่สามารถไอเพื่อดันวัตถุแปลกปลอมออกมาได้ ก็จับตัวลูกน้อยพลิกกลับมาอย่างระมัดระวัง และใช้ 2 หรือ 4 นิ้วกดบริเวณกระดูกสันอก และตีที่หน้าอก 5 ครั้ง โดยกดให้ลึกประมาณ 1.2-2.5 ซม.
  • ถ้าวัตถุแปลกปลอมยังไม่ยอมหลุดออกมา ควรตรวจสอบว่าเป็นอันตรายหรือไม่ โดยให้ลูกน้อยนอนตัวตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลิ้น และยกคางขึ้นเพื่อดูว่ามีอะไรติดอยู่ในลำคอ ถ้ายังไม่สามารถมองเห็นสิ่งแปลกปลอมควรรีบช่วยให้ลูกน้อยหายใจทันที แต่ถ้าไม่อันตราย ก็ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำ โดยควรพยายามทำอย่างดีที่สุดต่อไป และพยายามขอความช่วยเหลือจากคุณหมอให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ส่วนการป้องกันอาการสำลักนั้น ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย คอยจับตาดูในขณะรับประทานอาหาร อย่าให้ลูกน้อยรับประทานอาหารอย่างรีบ ๆ หรือให้ลูกน้อยกินอาหารในรถ ที่สำคัญควรให้ลูกน้อยนั่งตัวตรงในขณะป้อนอาหารเสมอ อย่าปล่อยให้เล่นสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุอะไรก็ตามที่มีขนาดเล็ก รวมถึงข้าวของที่มีส่วนผสมของแป้ง การเลือกของเล่นที่เหมาะกับลูกน้อยอาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ รวมถึงยังช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย การสำลักเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเข้าคลาสเรียนการปฐมพยาบาลสำหรับเด็กทารก เพื่อที่จะได้ช่วยชีวิตลูกน้อยได้ทันการณ์ ถ้ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น

    ลูกน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 13 มักจะกลืนวัตถุขนาดเล็ก เช่น เหรียญ และมักจะเคลื่อนไปที่กระเพาะโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีน้ำลายไหลยืดจำนวนมาก และไม่สามารถกลืน ไม่มีความอยากอาหาร หรือถ้ารู้สึกเจ็บปวดในบริเวณที่มีอะไรติดอยู่ ควรโทรหาคุณหมอหรือหน่วยฉุกเฉินทันที

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ลูกน้อยมีพรสวรรค์ไหม

    ถ้าอยากรู้ว่าลูกน้อยมีพรสวรรค์หรือเปล่า ควรสังเกตดูสัญญานต่าง ๆ ต่อไปนี้

    • มีพัฒนาการขั้นสูง
    • ความจำดีและช่างสังเกต
    • แสดงความคิดสร้างสรรค์และความคิดริเริ่ม
    • มีอารมณ์ขัน
    • อยากรู้อยากเห็นมาก และให้ความสนใจ
    • สามารถเชื่อมโยงสิ่งของเข้ากับเหตุการณ์ได้
    • มีจินตนาการมากมาย
    • นอนหลับยาก
    • สามารถรับรู้ได้ดีมาก และไวต่อสิ่งกระตุ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา