ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ มาดูกันว่าตัวเล็กในสัปดาห์ที่ 10 นี้ เขาจะมีพัฒนาการไปขนาดไหน
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10
ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 อย่างไร
ถ้าลูกน้อยของคุณนอนในเวลากลางคืนเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง ก็นับเป็นความโชคดีของคุณมาก เนื่องจากเด็กอายุ 10 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นกลางดึก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้นอนข้ามคืนในระยะนี้ เขาก็จะมีช่วงการนอนหลับและตื่นที่ยาวนานกว่า ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแอบไปงีบหลับเพื่อเอาแรงได้
ลูกน้อยอาจมีช่วงเวลานอนประมาณ 2-4 ครั้ง และตื่นมากกว่า 10 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สิ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ ไม่ว่าลูกของคุณจะเป็นนกฮูกกลางคืน หรือเป็นนกน้อยในยามเช้า นิสัยการนอนก็จะเป็นแบบนี้ไปตลอดช่วงวัยเยาว์
ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยของคุณอาจจะ
- ใช้เสียงในรูปแบบต่างๆ แทนที่จะร้องไห้อย่างเดียว
- สามารถยกหัวขึ้นได้ถึง 45 องศาในขณะที่นอนอยู่
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรในช่วง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10
วิธีการสื่อสารกับลูกน้อยนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน และเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย คุณก็ควรลองทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะทำในเดือนนี้หรือในเดือนถัดไป
- ชี้แจงการกระทำ อย่าเคลื่อนไหวโดยไม่บอกลูกก่อน เล่าให้ลูกน้อยฟังถึงกระบวนการต่างๆอย่างในตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม ก็พูดในทำนองว่า “ตอนนี้แม่กำลังใส่ผ้าอ้อมให้ลูกอยู่นะและกำลังติดกระดุมเสื้อให้ลูกด้วย” ในขณะอาบน้ำ คุณเล่าอะไรเกี่ยวับสบู่และการชำระล้าง รวมทั้งแชมพูสระผมที่ช่วยทำให้เส้นผมของเขาสะอาดและเป็นเงางาม การบอกเล่าอะไรแบบนี้ จะเป็นการฝึกให้เขาฟังในสิ่งที่คุณกำลังพูด นั้นจะช่วยให้เขารับรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว
- ถามโน่นนี่ ถามลูกน้อยถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วกระตุ้นให้เขาแสดงปฎิกิริยาโต้ตอบ วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้เขาได้
- สร้างโอกาสให้เขา การศึกษาวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ทารกที่มีพ่อแม่คอยพูดด้วยนั้น จะพูดได้เร็วกว่าเด็กทั่วไป ฉะนั้นพยามทำให้เขาส่งเสียงอ้อแอ้กับคุณ
- ถามคำถามง่ายๆ เวลาที่คุยกับลูกน้อย
- ปรับน้ำเสียงให้ฟังดูน่าสนใจ เวลาที่พูดคุยกับลูกน้อย
- ในลูกมีส่วนร่วม ในขณะที่ลูกน้อยกำลังเติบโตอยู่นี้ ก็ควรให้เขามีส่วนร่วมในทุกๆ สิ่ง แต่ควรเป็นอะไรที่เหมาะกับเด็กด้วย
- การเลียนแบบ ชื่นชมลูกน้อยของคุณซะหน่อยนะ ถ้าเขาทำอะไรเลียนแบบคุณได้
- อ่านบทกวี หรือคำกลอน
- อ่านออกเสียง ให้ลูกน้อยของคุณฟัง
- คอยดูสัญญาณจากลูกน้อยด้วย เมื่อเขาหมดความสนใจในสิ่งที่คุณพูด เขาก็มักจะหลับตาหรือหันหน้าหนี เริ่มร้องไห้ หรือแสดงอาการหงุดหงิด ซึ่งคุณควรจะหยุดพูดได้แล้ว
สุขภาพ ความปลอดภัยและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10
ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร
คุณหมออาจอาจทำการประเมิน หรือใช้วิธีตรวจสอบที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกคุณ แต่คุณสามารถมีส่วนร่วมและปรึกษาหารือกับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้
- บอกให้คุณหมอรู้ถึงเรื่องของคุณและลูกน้อย รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว การรับประทานอาหาร การนอน พัฒนาการของเด็ก นอกจากนี้ก็ควรถามถึงวิธีการดูแลลูกน้อย ถ้าคุณตั้งใจจะกลับไปทำงาน
- ถามคุณหมอถ้าคุณมีความกังวลในเรื่อง การป้อนนมจากอกมารดาในขณะที่ต้องกลับไปทำงาน และมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ หรือพฤติกรรมของลูกน้อย
สิ่งที่ควรรู้
- กรดไหลย้อนคืออะไร
อาการของโรคกรดไหลย้อนจะเกิดขึ้นเมื่ออาหารและน้ำย่อยเคลื่อนจากกระเพาะอาหารกลับมาที่หลอดอาหาร เด็กจะพ่นนมหรืออาเจียนออกมาหลังทานอาหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
งานศึกษาวิจัยระบุว่า เด็กจำนวนร้อยละ 50 จะอาเจียนออกทุกวัน สถานการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ และไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ แต่ถ้าลูกน้อยอาเจียนเป็นนมออกมาจำนวนมากในวันเดียว หรืออาเจียนหลายครั้งต่อวัน ลูกของคุณก็อาจจะเป็นโรคกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อน เป็นอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ จากการรับประทานอาหาร ในกรณีที่ร้ายแรงนั้น เด็กจะไอและน้ำหนักไม่ขึ้นเท่าที่ควร
- ทำไมเด็กถึงเป็นกรดไหลย้อน
สาเหตุหลัก เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารของเด็กยังไม่แข็งแรง เด็กส่วนใหญ่จะเกิดมาพร้อมกับกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารส่วนล่างที่ค่อนข้างเหลว ทำให้อาหารไม่สามารถคงอยู่ในกระเพาะได้ ถ้าลูกน้อยกลืนเอาอากาศหรือรับประทานอาหารมากเกินไป เขาก็อาจจะมีอาการของโรคไหลย้อนได้
- จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร
ลูกของคุณจะได้รับการตรวจเพิ่มเติม ด้วยชุดตรวจสอบความเป็นกรดด่าง เครื่องมือนี้จะถูกสอดลงไปในหลอดอาหารของเด็ก เพื่อวัดระดับกรดไหลย้อน นอนจากนี้ยังมีวิธีตรวจแบบอื่นๆ อีก เช่น การเอ็กซเรย์ และการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร โดยสอดกล้องที่ติดอยู่กับท่อลงไปตามหลอดอาหารของเด็ก เพื่อตรวจวิเคราะห์และเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ
- การรักษาโรคกรดไหลย้อน
โดยส่วนใหญ่แล้ว เด็กจะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีอายุได้ 1 ขวบ ตอนนั้นกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาการมีความแข็งแรงขึ้นแล้ว หากลูกน้อยของคุณดื่มนมผง แพทย์อาจแนะนำให้ดื่มนมถั่วเหลืองสลับกัน เนื่องจากจะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่า
คุณควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ และป้อนนมให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้นมเข้าไปอยู่ในกระเพาะมากเกินไป งานวิจัยบางชิ้นแนะนำให้เติมธัญพืชข้าวลงไปในนมมารดาด้วย หรือนมผงที่จะทำให้น้ำนมข้นขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้นได้
นอกจากนี้คุณแม่อาจอุ้มให้เด็กนั่งตัวตรงในระหว่างหรือหลังทานอาหาร และยกศีรษะของเด็กให้ตั้งขึ้นประมาณ 30 องศา เพื่อป้องกันนมไหลย้อน วิธีนี้สามารถจะช่วยให้อาการกรดไหลย้อนบรรเทาลงได้ แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยลดกรดในกระเพาะ หรือยาบล็อกกรดให้เด็กได้ดื่มทุกวัน ยาเหล่านี้คล้ายกับยาของผู้ใหญ่ที่ใช้แก้ปัญหากรดไหลย้อน (คุณไม่ควรให้เด็กกินยาใดๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัย ควรสอบถามแพทย์อย่างละเอียดก่อนป้อนยาให้เด็ก เพื่อป้องกันอาการแพ้และผลข้างเคียงจากการใช้ยา)
- การกลิ้งและพลิกตัว
ลูกของคุณกำลังเรียนรู้ที่จะกลิ้งและพลิกตัว ในช่วงวัยนี้เขาสามารถพลิกจากการนอนตะแคงด้านหนึ่งไปเป็นนอนหงายได้ หรือจากนอนหงายไปเป็นนอนตะแคง แต่ต้องมีอายุมากกว่า 1 เดือน ถึงจะสามารถกลิ้งตัวครบรอบได้ เนื่องจากต้องการกล้ามเนื้อคอและแขนที่แข็งแรงกว่านี้
เมื่อลูกของคุณนั้นมีความคล่องแคล่วมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าคุณต้องใช้มือหนึ่งจับตัวลูกเอาไว้ในขณะเปลี่ยนผ้าอ้อม จึงไม่ควรปล่อยให้เด็กนอนบนเตียงสูงๆ และที่ใดที่ห่างจากพื้นดิน โดยไม่จับตาเอาไว้ตลอดเวลา เพราะตอนนี้เด็กสามารถเคลื่อนไหว และมีโอกาสจะตกลงมาได้ง่าย
สิ่งที่ต้องเป็นกังวล
ควรกังวลในเรื่องใด
- น้ำลายยืด
ต่อมน้ำลายของเด็ก เริ่มทำงานตั้งแต่ตอนที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาแล้ว แต่อาจสังเกตเห็นว่าเริ่มมีน้ำลายยืดในช่วงเวลานี้ เพราะเป็นช่วงที่ทารกชอบจับทุกสิ่งทุกอย่างเข้าปาก ฉะนั้นจึงมีน้ำลายไหลออกมาในปริมาณมาก
แต่การที่เด็กมีน้ำลายยืดนั้นไม่ได้หมายความว่า เขากำลังจะมีฟันขึ้น ฟันของเขาจะยังไม่ขึ้นในตอนนี้ คุณยังต้องรออย่างน้อยอีกสองสัปดาห์ ถึงจะมีฟันซี่แรกโผล่ขึ้นมา ซึ่งมักจะขึ้นในช่วงอายุ 4 ถึง 7 เดือน หากเด็กเติบโตเร็วก็จะมีฟันล่างขึ้น 1 หรือ 2 ซี่ เมื่อเด็กอายุได้ 3 เดือน (แต่ก็มีเหมือนกันนะที่เด็กเกิดมาแล้วมีฟันเลย แต่ก็พบได้น้อยมาก)
ผู้ปกครองหลายคน มักจะให้เด็กสวมใส่ผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อป้องกันน้ำลายเปรอะเปื้อน แต่คุณต้องไม่ลืมที่จะเอาออกในเวลาที่เด็กหลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้ากันเปื้อนรัดคอเด็ก โชคดีที่น้ำลายยืด ใส่ของเล่นหรือสิ่งของใดๆ ที่มีส่วนผสมของโปรตีน สามารถช่วยป้องกันโรคได้ ฉะนั้นเด็กจึงสามารถเล่นหรือจับวัตถุใดๆ ก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ลูกป่วย
- ทำเสียงงึมงำ
ในช่วงแรกเสียงงึมงำของลูกน้อยอาจจะเกิดขึ้นแบบสะเปะสะปะ จากนั้นถึงจะเริ่มสังเกตเห็นว่า เสียงเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อในเวลาที่เขากินอิ่ม เห็นตัวเองในกระจก หรือแม้แต่เวลาที่เขาของเล่น เช่น พวกตุ๊กตุ่นตุ๊กตาห้อยอยู่ตรงเปลนอน การฝึกการออกเสียงจะง่ายขึ้น ถ้าคุณและลูกน้อย มีความรู้สึกตื่นเต้น
ในกระบวนการนี้ลูกของคุณจะลองผิดลองถูก และค้นพบการผสมผสานระหว่างลำคอ ลิ้น และปาก ในการสร้างเสียงต่างๆ ขึ้นมา เสียงงึมงำเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น เพราะหลังจากนี้ไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน เด็กก็จะเริ่มหัวเราะเสียงดัง (โดยปกติก็ประมาณ 3 ขวบครึ่ง) หรือเริ่มกรี๊ดกร๊าด (เมื่อเด็กอายุได้ 4 ขวบครึ่ง) และทำเสียงอื่นๆ ด้วย
ลูกของคุณอาจออกเสียงพยัญชนะต่างๆ ในช่วงอายุที่ต่างกัน เด็กบางคนสามารถออกเสียงพยัญชนะเมื่ออายุได้แค่ 3 ขวบเท่านั้น และเด็กคนอื่นๆ อาจต้องรอจนกระทั่งอายุ 5 หรือ 6 ขวบ เมื่อเด็กเริ่มทดลองออกเสียงพยัญชนะ เขาก็อาจออกเสียงหลายๆ เสียงพร้อมกัน พอถึงสัปดาห์ต่อไปเด็กอาจเปลี่ยนโทนเสียงใหม่ มักจะลืมคอร์ดเดิม ความจริงแล้วเด็กไม่ได้ลืม แต่มีสมาธิค่อนข้างจำกัด จึงมักจะทำสิ่งใดให้ดีได้ทีละอย่างเท่านั้น แล้วทารกจะพัฒนาต่อไปอย่างไร ในสัปดาห์หน้า