พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15 หรือประมาณ 4 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกเริ่่มมีความอยากรู้อยากเห็น มองสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และอาจเริ่มสามารถดันตัวเองได้ขณะนอนคว่ำ อีกทั้งยังอาจชอบหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องปัญหาการสำลัก และควรเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่จะให้ลูกน้อยหยิบจับหรือนำเข้าปาก ไม่ควรเลือกของเล่นชิ้นเล็กเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ติดต่อได้
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโตและพฤติกรรม
ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร
ลูกน้อยจะเริ่มหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เขาจะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความอยากรู้อยากเห็น โดยอาจวางกระจกเงาชนิดที่ตกไม่แตกไว้ข้างๆ ลูกน้อย หรือจับเขาไปอยู่หน้ากระจกเวลาที่กำลังแต่งตัวในตอนเช้าๆ เจ้าตัวเล็กจะไม่รู้หรอกว่าภาพในกระจก คือตัวเขาเอง (แต่จะเริ่มรู้เมื่อมีอายุได้สองขวบ) แต่ที่สำคัญคือเขาชอบจ้องมองภาพสะท้อน ของตัวเองและคนอื่นๆ และอาจแสดงความชอบใจออกมาด้วยการยิ้มกว้างโชว์ให้เห็นเหงือก
ในสัปดาห์ที่สามของเดือนที่สามนี้ ลูกน้อยอาจจะ…
- ชันคอแข็งเวลาเวลาที่ลำตัวตั้งตรง
- ใช้มือดันหน้าอกขึ้นได้ เวลาที่นอนคว่ำ
- หยิบจับสิ่งของได้
- ระวังสิ่งของเล็กๆ อย่างเช่น ลูกเกด โดยอย่าวางข้าวของประเภทนี้ ในบริเวณที่เขาเอื้อมหยิบได้เด็ดขาด
- เขาเริ่มตัดสินโน่นนี่กับสิ่งต่างๆ รอบตัว และมองสิ่งต่างๆ รวมทั้งตัวเขาเอง ด้วยสายตาที่ส่อถึงความอยากรู้อยากเห็นเป็นอย่างมาก
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร
ลูกน้อยอาจหยุดดูดนิ้วหัวคุณแม่มือหรือขวดนม เพื่อที่จะฟังเสียง ปล่อยให้ลูกน้อยส่งเสียงอ้อแอ้ไปเรื่อยๆ และก็เล่าเรื่องราวให้เขาฟัง วิธีไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้กับลูกน้อยเท่านั้นนะ แต่ยังช่วยให้ลูกน้อยได้แสดงอารมณ์ออกมาด้วย ลองดูซิว่าลูกน้อยส่งสัญญาณโต้ตอบกลับมาบ้างหรือเปล่า
เวลาที่อยู่กับเพื่อนๆ ก็ควรปล่อยให้ลูกน้อยนั่งอยู่ใกล้ๆ เพื่อที่จะได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูด หรือรู้จักตอบโต้กับคนอื่น ลูกน้อยจะเพลิดเพลินกับการนั่งมองเด็กคนอื่นเล่นโน่นเล่นนี่ หรือมองเด็กที่โตกว่ากำลังหัดเดิน หรือนั่งสังเกตสัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่ต้องคอยดูลูกอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเด็กยังไม่รู้จักป้องกันตัวเองจากสิ่งที่เป็นอันตราย อะไรที่เขาเอื้อมหยิบได้ ก็จะกลายเป็นของเล่นไปหมด
เด็กๆ มักจะถือข้าวของได้เก่ง ฉะนั้นจึงควรหาของเล่นที่ช่วยให้เขาหยิบจับได้สะดวก ซึ่งอาจจะเป็นห่วงพลาสติกหรือห่วงยาง ที่ทำให้ลูกน้อยต้องจับทั้งสองมือ หรือให้เขาเล่นของเล่นที่มีเสียง หรือตุ๊กตา แต่ไม่ควรวางไว้ในบริเวณที่เขาสามารถหยิบขึ้นมาเล่นเองได้
ลูกน้อยจะเริ่มใช้มือทีละข้าง แล้วเปลี่ยนไปใช้มืออีกข้างหนึ่ง แต่ในช่วงเวลานี้ยังตัดสินไม่ได้หรอกว่า ลูกน้อยถนัดซ้ายหรือถนัดขวาจนกว่าเขาจะมีอายุ 2-3 ขวบ
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
ส่วนใหญ่แล้ว คุณหมอจะไม่นัดหรือตรวจสุขภาพให้ลูกน้อยในช่วงเดือนนี้ แต่ก็สามารถปรึกษาหมอได้เสมอ ถ้ามีข้อสงสัยใดๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงการไปพบหมอในครั้งต่อไปได้
สิ่งที่ควรรู้
เชื้อราในช่องปากเกิดจากการติดเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ถ้าเห็นจุดขาวๆ เกิดขึ้นในกระพุงแก้ม ลิ้น และริมฝีปากของลูกน้อย แล้วไม่สามารถเช็ดออกได้ (ที่ดูเหมือนคราบอาเจียน) นี่อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราในช่องปากก็ได้
เชื้อราจะเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ชื้นและอบอุ่น อย่างเช่นในช่องปากของลูกน้อยนั่นแหละ ถ้าให้ลูกน้อยกินนมคุณแม่ หัวนมก็อาจติดเชื้อราได้เหมือนกัน โดยหัวนมอาจมีอาการแห้ง หัน และเจ็บขณะป้อนนมลูก มีแนวโน้มจะติดเชื้อราได้ง่ายถ้ากำลังเครียดหรืออ่อนแออยู่ เชื้อราอาจเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารและไปออกทางทวารหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดผื่นแดงหรือการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดได้
ขอยาต้านเชื้อราจากคุณหมอทั้งสำหรับตัวเองและลูกน้อย ถ้าให้นมลูกเอง ก็ต้องทำการรักษาทั้งตัวเองและลูกน้อย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กันและกัน ซึ่งโดยปกติก็ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในช่วงที่กำลังรักษาอยู่นั้นก็ควรล้างมือบ่อยๆ ฆ่าเชื้อของเล่นและจุกนมปลอมในน้ำเดือดทาครีมฆ่าเชื้อราบริเวณหัวนม โดยใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบ เด็กบางคนที่ติดเชื้อราในช่องปาก จะไม่รู้สึกอยากกินอาหาร เนื่องจากจะเจ็บแก้มและเหงือก
- องคชาติบวม
อาจจะรู้สึกเป็นกังวลมาก ถ้าเห็นอวัยวะเพศของลูกชายบวมเป่ง แต่ที่จริงแล้วลูกน้อยอาจเกิดอาการผื่นผ้าอ้อมก็ได้ ผื่นผ้าอ้อมเป็นอาการปกติซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการบวมที่อวัยวะเพศชายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ควรรักษาอากรผื่นผ้าอ้อมให้ลูกซะ ถ้าเขามีอาการปัสสาวะขัด ก็เยียวยาด้วยการให้ลูกน้อยนอนแช่ในน้ำอุ่น ถ้าใช้ผ้าอ้อมแบบที่เป็นผ้าอยู่ ก็ควรเปลี่ยนไปใช้ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง ถ้าอาการบวมนี้ไม่ดีขึ้นหรือหายไปในสองถึงสามวัน หรือมีปัญหารุนแรงในการปัสสาวะ ก็ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอ
- อาการกระตุก
ถึงแม้ว่าคลอดออกมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ระบบประสาทของลูกน้อยก็ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นสมองของลูกน้อยจึงยังไม่สามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ การที่ร่างกายทำงานไม่ประสานกันนั้น ถือเป็นเรื่องปกติในพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวของเด็กแรกเกิด แต่อีกไม่นานเขาก็จะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ถ้ายังรู้สึกเป็นกังวล ก็ควรพูดคุยกับหมอ เมื่อไปพบหมอในครั้งต่อไป
สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15
- การป้อนนมกลางดึก
จริงๆแล้ว การป้อนนมในช่วงกลางคืนช่วยทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง ถึงแม้ว่าเด็กที่กินนมคุณแม่บางคนจะไม่ต้องการเมื่ออายุได้ประมาณ 2-3 เดือน (บางคนก็เร็วกว่านั้น) แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ยังต้องการการป้อนนมในตอนกลางคืนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กินนมคุณแม่ ยังอาจต้องการการป้อนนมคืนละสองครั้ง
แต่การป้อนนมคืนละสามสี่ครั้งนั้นไม่จำเป็นแล้ว ควรค่อยๆ ลดการป้อนนมลง เพื่อที่จะได้มีเวลานอนได้มากขึ้น แถมยังช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย และนี่คือวิธี
- เพิ่มปริมาณในการป้อนนมแต่ละครั้ง
- ปลุกลูกน้อยให้ตื่นขึ้นมากินนม ก่อนที่ลูกน้อยจะตื่นขึ้นมาด้วยความหิว
- ต้องแน่ใจว่าป้อนนมให้ลูกอย่างพอเพียงในช่วงกลางวัน
- พักการป้อนนมแต่ละครั้งให้นานขึ้น
- ให้ลูกกินนมน้อยลงถ้าอยากจะหยุดการป้อนนม
- ให้ลูกกินนมมากขึ้นถ้าอยากจะให้กินเยอะๆ
- อย่าใส่ผ้าอ้อมให้ลูกในตอนกลางคืน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
- ถ้าอยู่ห้องเดียวกับลูกหรือนอนเตียงเดียวกัน และอยากจะเลิกทำแบบนั้นแล้ว นี่คือเวลาที่เหมาะจะแยกห้องนอนได้แล้ว เนื่องจากการอยู่ใกล้ลูกตลอดอาจทำให้ลูกตื่นบ่อย ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องอุ้มลูกบ่อยๆ