backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 หรือประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มที่จะสามารถยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยการยึดเกาะสิ่งรอบตัว และการมีพัฒนาการด้านการพูดเล็กน้อย เริ่มเปร่งเสียงอ้อแอ้ได้เป็นคำ ๆ ที่ไม่มีความหมาย ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพฟันของลูก โดยการแปรงฟันและทำความสะอาดคราบเศษอาหารที่ติดอยู่ในช่องปากให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากและฟันในทารก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 27

  • ยืนได้ด้วยการจับยึดกับคนหรือของอื่นๆ
  • แสดงอาการขัดขืนเมื่อพยายามจะแย่งของเล่นของเขา
  • พยายามหยิบจับของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง
  • ส่งของจากมือหนึ่งข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง
  • ควานหาของที่ทำตก
  • ใช้นิ้วมือหยิบของเล็กๆ ขึ้นมาได้ และกำไว้ในมือ ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก
  • พูดอ้อแอ้ด้วยการผสมสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกัน
  • อยากจะกินอาหารแบบที่ใช้มือหยิบกินได้
  • กินแครกเกอร์หรืออาหารอื่น ๆ ที่ใช้มือถือไว้ได้ด้วยตัวเอง

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ลูกน้อยอาจบอกว่าเขาพร้อมจะลองใช้มือหยิบอาหารขึ้นมากิน ด้วยการแย่งช้อนหรือคว้าอาหารในจาน อาจจะลองแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น วางในถาดอาหารสำหรับเด็กหรือในจานที่ตกไม่แตก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักอาหาร ทางที่ดีควรป้อนอาหารในขณะที่เขานั่งตัวตรงบนเก้าอี้หรือที่นั่งสำหรับเด็ก

ลูกน้อยอาจเจริญอาหารมากแต่ยังไม่มีฟันเคี้ยว ฉะนั้นจึงควรเริ่มจากอาหารที่ใช้เหงือกเคี้ยวได้ หรือละลายได้ง่ายในปาก พอลูกน้อยโตขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

ควรหาหนังสือให้ลูกน้อยอ่าน เพื่อฝึกทักษะทางด้านภาษาของเด็ก และช่วยให้เขารักการอ่านมากขึ้น ลูกอาจไม่มีความอดทนพอจะนั่งฟังอ่านหนังสือให้เขาฟัง แต่อย่าเพิ่งเลิกทำง่ายๆ ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไร การอ่านจะช่วยให้เขาได้มีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษที่ดี

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ

  • ฉีดวัคซีนให้เป็นครั้งที่สาม ในกรณีที่ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคหรืออยู่สภาวะที่ห้ามฉีดวัคซีน ควรปรึกษาหมอในเรื่องปฎิกิริยาตอบสนองของที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยก่อนฉีดวัคซีน
  • ซักถามคุณหมอในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น การฉีดวัคซีนครั้งที่สามนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรบ้าง? และควรรับมืออย่างไร? ลูกมีการตอบสนองอย่างไร? ตอนนี้ลูกควรรับประทานอาหารแบบใด?

สิ่งที่ควรรู้

เมื่อต้องไปห้องฉุกเฉิน

การไปห้องฉุกเฉินอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่ควรเตรียมตัวเผื่อเอาไว้ในกรณีที่มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้น สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กต้องไปห้องฉุกเฉินก็คือ มีอาการแพ้อย่างหนัก ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการหอบหืด นอกจากนี้ตอนที่ลูกมีความอยากรู้อยากเห็น ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ลูกอาจจะกลืนหรือสูดเอาบางสิ่งบางอย่างเข้าไป หรือหกล้มจนเกิดอาการบาดเจ็บจนต้องเย็บแผล

ถ้าลูกมีอาการหายใจลำบากไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรโทรหาหน่วยฉุกเฉินก่อนที่อาการรุนแรงนั้นจะรุนแรงมากกว่าเดิม ที่สำคัญ ควรหาข้อมูลโรงพยาบาลใกล้บ้านไว้บ้าง ว่าโรงพยาบาลไหนใกล้บ้านที่สุดเผื่อเกิดเห็นฉุกเฉิน รวมทั้งเส้นทางในการไปยังโรงพยาบาลแห่งนั้นด้วย พนักงานที่นั่นอาจให้กรอกเอกสาร ฉะนั้นจึงควรเตรียมข้อมูลประกันสุขภาพ รวมทั้งชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และชื่อคุณหมอที่ดูแลสุขภาพให้ลูกน้อยเป็นประจำด้วย

จงทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่ามีอาการสงบ และสามารถจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ตาม ลูกน้อยต้องการการปลอบโยนและการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อที่เขาจะได้ไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เตรียมกระเป๋าใส่ผ้าอ้อม เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน หนังสือหรือของเล่นที่ลูกชอบ รวมทั้งอาหารสำหรับหนึ่งถึงสองมื้อ ระหว่างที่ทำการรักษาก็ถามคุณหมอว่าให้ลูกรับประทานอาหารได้หรือไม่

ให้ลูกหันมาดื่มนมวัว

ไม่ควรให้ลูกดื่มนมวัวจนกว่าจะมีอายุได้หนึ่งขวบ ถ้าเป็นไปได้ควรให้ลูกดื่มนมแม่ไปในหนึ่งปีแรก หรือหลังจากนั้นด้วย หากแม่และเด็กต้องการเช่นนั้น ตอนที่ให้นมลูกไม่ได้แล้ว เปลี่ยนมาชงนมผงที่เสริมธาตุเหล็กให้ลูกดื่มแทน ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจว่าจะใช้นมผงประเภทมาชงให้ลูกดื่ม เพื่อทดแทนนมแม่

เมื่อลูกหันมาดื่มนมวัวได้หนึ่งปี ก็ต้องแน่ใจว่านมที่ให้ลูกดื่มนั้นเป็นนมที่มีไขมันครบส่วน นมพร่องมันเนย แทนที่จะเป็นนมแบบไม่มีไขมันหรือมีไขมันต่ำ นมที่มีไขมันครบส่วนนั้นเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่สองขวบขึ้นไป ถึงแม้คุณหมอบางคนจะอนุญาตให้ใช้นมที่มีไขมัน 2% กับเด็กที่มีอายุ 18 เดือนขึ้นไปได้ก็ตาม

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

การแปรงฟันให้ลูกน้อย

มีเหตุผลมากมายที่ทำให้ต้องดูแลสุขภาพฟันของลูก อย่างแรกเลยคือ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นภายหลัง ฟันผุหรือฟันร่วงจะทำรูปปากเปลี่ยนไปอย่างถาวร ยิ่งไปกว่านั้นเด็กยังต้องการฟันน้ำนมไว้กัดและเคี้ยวอาหารอีกหลายปี ก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น สุขภาพฟันที่ไม่ดีส่งผลต่อการรับประทานอาหารของเด็ก นอกจากนี้สุขภาพฟันยังมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านการพูดและบุคลิกภาพด้วย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในตอนที่ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นจึงควรรีบสร้างนิสัยในการแปรงฟันให้ลูก การดูแลฟันที่ดีนั้นเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาจใช้ผ้าก๊อซ ผ้าขนหนูสะอาดๆ ปลอกยางสวมนิ้วแบบใช้แล้วทิ้ง หรือแปรงสีฟันที่มีขนยาวและอ่อนนุ่ม แปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนแปรงไม่เกินสามแถว และควรทำให้อุปกรณ์ทำความสะอาดฟันพวกนั้นเปียกน้ำก่อน และใช้เช็ดทำความสะอาดหรือแปรงฟันหลังทานอาหารและก่อนเข้านอน โดยควรทำด้วยความเบามือ และอย่าลืมเช็ดทำความสะอาดลิ้นด้วย เพราะลิ้นเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค ยังไม่ต้องใช้ยาสีฟัน แต่อาจใช้เพื่อเพิ่มรสชาติได้นิดหน่อย ถ้าลูกน้อยรู้สึกสนุกกับการแปรงฟัน

นอกจากการดูแลสุขภาพฟันแล้ว อาหารต่างๆ ก็ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กด้วย คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูก และต้องดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอ ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ฟลูออรีน แร่ธาตุ และวิตามินอื่นๆ โดยเฉพาะวิตามินซีซึ่งช่วยรักษาสุขภาพเหงือก ที่สำคัญไม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงไม่ว่าจะเป็น ขนมปังกรอบ หรืออาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติ อย่างเช่น ผลไม้แห้ง เพราะจะทำให้เกิดคราบเหนียวๆ ติดอยู่บนผิวฟัน

อาหารเหล่านี้เป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นจากฟันผุ และอาการเลือดออกตามไรฟัน คุณแม่ควรกำหนดให้ลูกรับประทานของหวานได้ไม่เกินหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันแม้ลูกจะมีสุขภาพดีก็ตาม เพราะยิ่งรับประทานน้ำตาลมากเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงที่จะฟันผุมากขึ้นเท่านั้น ควรให้ลูกรับประทานของหวานในมื้อหลัก แทนที่จะให้รับประทานในระหว่างมื้ออาหาร  และอย่าลืมแปรงฟันให้ลูกหลังรับประทานของหวานเสร็จแล้วด้วย

หากคุณพ่อ คุณแม่จะพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันใรครั้งแรก ควรพาลูกไปในช่วงกลางเดือนที่ 6 และเดือนที่ 12 หากลูกเสี่ยงที่จะมีฟันผุ อย่างเช่น เด็กที่ติดนิสัยการดูดขวดนมหรือน้ำผลไม้ และเด็กที่ดูดขวดนมบ่อยๆ ตรวจเช็คฟันของลูกน้อยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์ ถ้าลูกน้อยมีฟันห่าง ฟันจะกลับมาชิดกันเหมือนเดิมได้ ถ้าอยู่ในการดูแลของทันตแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Murkoff, Heidi. What to Expect, The First Year. New York: Workman Publishing Company, 2009. Print. Page 345-369

27 Week Old Baby Development. https://www.parents.com/baby/development/27-week-old-baby-development/

Your baby’s developmental milestones at 6 months. https://www.unicef.org/parenting/child-development/your-babys-developmental-milestones-6-months#:~:text=At%206%20months%2C%20your%20baby,yourself)%20for%20a%20mobile%20child!. Accessed June 9, 2022.

Important Milestones: Your Baby By Six Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-6mo.html. Accessed June 9, 2022.

Your baby’s growth and development – 6 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-6-months-old. Accessed June 9, 2022.

Baby Development: Your 6-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-6-month-old. Accessed June 9, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/06/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา