backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 28/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ทารกเริ่มมีพัฒนาการในการพูด สามารถออกเสียงคล้ายเสียงพูดเป็นประโยคหรือเป็นวลีได้ และอาจเริ่มเดินได้เล็กน้อย ในช่วงนี้อาจจำเป็นต้องระวังอาการป่วยบางอย่าง เช่น คออักเสบ เท้าแบน การบาดเจ็บจากการหกล้ม อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับวัคซีนให้เหมาะสมกับช่วงอายุอีกด้วย

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย

  • เล่นตบแปะ หรือโบกมือบ๊ายบายได้
  • บ่นพึมพำ หรือทำเสียงคล้ายๆ จะเป็นคำพูด วลี และ ประโยค
  • เดินโดยการเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อยๆ
  • เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังทุกครั้ง
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ลูกยังคงเข้าใจในน้ำเสียงมากกว่าความหมายของคำพูด ลูกสามารถเข้าใจได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่พอใจ ดังนั้น ควรพูดชมลูกเมื่อเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น “หนูทำดีมากเลยนะคะที่หยิบของเล่นที่ตกขึ้นมา” ยิ่งพูดกับลูกมากเท่าไหร่ ลูกก็จะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารได้มากเท่านั้น

    ลูกจะเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” ถึงแม้อาจจะยังไม่เชื่อฟังในตอนนี้ แต่ก็สามารถทำให้ลูกรับรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ เช่น เมื่อพยายามไปจับต้องสิ่งของบางอย่างที่ก่อให้เกิดอันตราย หลังจากที่บอกไปแล้วว่า อย่าจับ ฉะนั้นจะเป็นการดีที่สุดที่จะใช้คำว่า “ไม่” เฉพาะเวลาที่จำเป็น และเมื่อบอกว่าไม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องตามไปอุ้มเขาออกมาจากสิ่งนั้น เพื่อให้ลูกเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่บอกเป็นสิ่งที่ห้ามทำ และควรหากิจกรรมใหม่ให้ทำแทน

    สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก สัปดาห์ที่ 39

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    การตรวจร่างกายทั้งหมด เช่นเดียวกับประเภทของเทคนิคที่ใช้ในการประเมิน และกระบวนการการทำงานจะมีความหลากหลายมากเท่าที่เด็กคนหนึ่งต้องการ แต่โดยปกติจะพบกับกระบวนการเหล่านี้ได้ในช่วงที่ตรวจเช็กร่างกาย

    • การฉีดวัคซีน ถ้ายังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ควรปรึกษาเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก่อนการฉีดวัคซีนเสมอ
    • คุณหมออาจจะตรวจค่าความเข้มข้นของเลือด เพื่อดูว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือเปล่า โดยปกติจะใช้การเจาะจากปลายนิ้ว

    สิ่งที่ควรรู้

    อาการคออักเสบ

    เด็กมักไม่ค่อยจะมีอาการอักเสบบ่อยนัก แต่ยังไงก็ตาม ควรจะสังเกตอาการให้ดี ดังนี้

  • อาการคออักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีอาการบวมแดง และตุ่มขาวที่ต่อมทอนซิล
  • มีอาการเจ็บคอที่เป็นนานกว่า 2 – 3 วัน
  • อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • อาการหนาว อาการบวม และเจ็บต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใต้กรามของลูก
  • ควรปรึกษาคุณหมอ ถ้าสังเกตพบอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือถ้าลูกมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การหายใจ ถ้าลูกมีอาการอักเสบ แพทย์จะรักษาอาการด้วยยาปฏิชีวนะ ต้องให้ลูกกินยาปฎิชีวนะจนหมด ถึงแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นก่อนที่ยาจะหมด ถ้าไม่ทานยาให้หมดอาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้

    โรคเท้าแบน

    อาการเท้าแบนในเด็กนั้นเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน อย่างแรกเลยก็คือ เมื่อเด็กไม่ได้เดินมากนัก กล้ามเนื้อที่เท้าจึงไม่ได้ออกกำลังมากพอในการพัฒนาอุ้งเท้า นอกจากนี้ก็มีไขมันมาเติมเต็มในส่วนอุ้งเท้า ทำให้ยากต่อการมองเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ค่อนข้างจ้ำม่ำ และเมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน เขาก็จะยืนกางขาเพื่อทรงตัวไม่ให้ล้ม ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับอุ้งเท้า และทำให้เกิดโรคเท้าแบน

    อาการเท้าแบนในเด็กส่วนมากจะค่อยๆ หายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว อุ้งเท้าก็จะเข้ารูปตามปกติเอง มีส่วนน้อยมากที่เท้าจะยังคงแบนอยู่

    เดินได้เร็วเกินไป

    การเดินได้เร็วเกินไป คล้ายๆ กับกรณีที่ยืนได้เร็วเกินไป การเดินได้เร็วเกินไปนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดอาการขาโก่ง หรือความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้ว การยืนและเดินได้เร็วนั้นมีประโยชน์มาก เนื่องจากจะทำให้เขาได้ออกกำลังกาย และเพิ่มความแข็งแรงต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเดิน และถ้าลูกน้อยเดินเท้าเปล่า ก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเท้าด้วย ส่วนเด็กที่ไม่อยากเดินในช่วงอายุนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยกระตุ้น หรือช่วยเสริมพัฒนาการได้ แต่ที่สำคัญไม่ควรไปบังคับให้เขาเดิน

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    อาการกลัวคนแปลกหน้า

    ลูกจะแสดงความต้องการที่ชัดเจน ว่าเขาต้องการทั้งพ่อ และแม่ เป็นอย่างมากในช่วงเดือนแรก ๆ เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน โดยทั่วไปก็จะตอบสนองในเชิงบวกกับผู้ใหญ่ ไม่ว่าเด็กจะคุ้นเคยหรือไม่กับผู้ใหญ่ เขาจะจัดคนเหล่านั้นให้อยู่ในกลุ่มคนที่ สามารถตอบสนองความต้องการของเขาได้ อีกทั้งบ่อยครั้งที่เด็กอายุ 8 หรือ 9 เดือน เขาจะเริ่มจำ หรือสังเกตได้ว่าใครเป็นใคร คนนี้คือแม่ คนนี้คือพ่อ ซึ่งผู้ปกครองเหล่านี้คือคนที่ควรจะต้องอยู่ใกล้ๆ เขาเอาไว้ เพราะเด็กนั้นต้องการอยู่ใกล้พ่อแม่ของตนเองเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งญาติ ๆ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็อาจไม่สามารถเข้าใกล้พวกเขาได้ เพราะลูกน้อยมักจะคิดว่าเป็นบุคคลแปลกหน้านั่นเอง

    อาการระแวงคนแปลกหน้าอาจจะหายไปได้เร็ว หรืออาจทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไปซักปีนึง แต่จะมีเด็กประมาณ 2 ใน 10 คน ที่อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือดีขึ้นช้ามากจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ถ้าลูกขมีอาการวิตกกังวลกับคนแปลกหน้า อย่ากดดันให้เด็กนั้นมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เขาจะเริ่มเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์เองในเวลาที่เขาต้องการ ในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ ควรเตือนเพื่อน ๆ และครอบครัวว่าเขากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งการเข้าใกล้มากๆ ในแบบกระทันหัน อาจทำให้เขากลัวได้

    โปรดแนะนำให้คนอื่นๆ ว่าพยายามทำความคุ้นเคยก่อน แล้วค่อยๆ ลองอุ้มหรือกอดเขา เพื่อลดปฏิกิริยาขัดขืนลงทีละน้อย โดยการยิ้มให้เด็ก พูดคุยกับเด็ก เล่นกับเด็กในขณะเด็กนั่งอยู่บนตัก

    อีกกรณีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดไม่มีเวลาจนจำเป็นต้องฝากลูกน้อยไว้กับพี่เลี้ยง ควรตรวจสอบ และประเมินพฤติกรรมของพี่เลี้ยงอย่างละเอียดเสียก่อน เพราะบางครั้งอาจพี่เลี้ยงเด็กนั้นอาจไม่ได้ให้ความรัก หรือความสนใจอย่างที่เขาต้องการ เนื่องจากเด็กบางคนอาจมีอาการคิดถึงคุณแม่ จนทำให้เกิดการร้องไห้งอแงอย่างหนัก ซึ่งอาจยากต่อการให้พี่เลี้ยงมารับมือ ดังนั้นอาจแก้ไขด้วยการให้คุณแม่นั้นต้องกลับมาเลี้ยงเขาเองดังเดิม หรือแบ่งเวลาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทดแทน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 28/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา