backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 หรือประมาณ 10 เดือน เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกโดยใช้ประโยคแบบเดียวกับที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ และเน้นพูดเป็นประโยค แทนการออกเสียงเป็นคำ ๆ เพื่อฝึกให้ลูกสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังควรคอยสังเกตลักษณะการนอนหลับของลูก เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ลูกน้อยกำลังเริ่มเข้าใจคำศัพท์ง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ แล้ว จึงควรจะพูดคุยกับลูกอยู่เรื่อย ๆ เริ่มสอนรูปแบบการพูดที่ดีให้ โดยพูดคำที่พูดให้เป็นภาษาของผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพูดขึ้นมาว่า “นา-นา” ก็แก้การออกเสียงของให้ถูกต้องโดยพูดว่า “หนูต้องการขวดนมใช่มั้ยลูก?” ในช่วงวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบเด็ก ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องสนุก แต่การได้ยินเสียงที่ถูกต้องนั้น จะดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยมากกว่า

    ถึงแม้ว่าจะฟังดูเป็นภาษาของเด็กไปหน่อย แต่การสนทนากับลูกน้อยนั้น จะช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาให้ได้ เมื่อพูดอะไรขึ้นมาลอยๆ ก็ควรโต้ตอบกลับไปว่า “อ๋อ จริงเหรอ?” “น่าสนใจจริง ๆ” แล้วอาจจะยิ้มและพูดเจื้อยแจ้วต่อไป

    พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 41

    • ยืนโดยการเกาะแขนขาคนอื่น หรือเกาะกับสิ่งของต่าง ๆ
    • ยืนขึ้นด้วยการดึงตัวเองขึ้นจากท่านั่ง
    • ทักท้วงถ้าหยิบของเล่นของออกไป
    • พูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แบบไม่ได้มีความหมายอะไร
    • เล่นจ๊ะเอ๋
    • มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับ

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    การสื่อสารกับลูกคือวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกชื่อสิ่งของที่ชี้ หรืออาจจะชี้สิ่งของต่างๆ แล้วบอกไปด้วยว่าสิ่งนี้คืออะไร เพื่อช่วยให้เรียนรู้ชื่อของสิ่งของต่างๆ

    ให้ลูกเล่นเกมโดยการอธิบายสิ่งที่กำลังทำอยู่ เมื่อจับให้นั่งในรถเข็น ก็ให้พูดว่า “ลงไปอยู่ในรถเข็นสีฟ้านะคะ แล้วที่สำคัญก็ต้องคาดเข็มขัดด้วย และจัดท่านังให้สบาย เอาล่ะ! เราไปสวนสาธารณะกันได้แล้ว” เมื่อจะทำอะไรหรือพาไปไหนก็อธิบายหรือพูดตลอดเพื่อให้รู้ว่า กำลังทำอะไรและเรากำลังจะไปไหนกัน ขณะพาไปยังสามารถฮัมเพลงกล่อมเด็ก สาธิตท่าทางต่างๆ พร้อมคำพูด  เช่นพูดคำว่า “บ๊าย-บาย” แล้วก็โบกมือ การเล่นเกมส์แบบนี้จะช่วยให้เรียนรู้คำและวลีที่สำคัญๆ ได้เพิ่มขึ้น

    ในช่วงวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบเด็กๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องสนุก แต่การได้ยินเสียงที่ถูกต้องนั้น จะดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยมากกว่า

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงควรโทรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีข้อกังวลใดๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปได้

    สิ่งที่ควรรู้

    ควรจะสังเกตภาวะหยุดหายใจในขณะหลับในช่วงอายุนี้ ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับเป็นความผิดปกติในการนอนหลับ ซึ่งเด็กจะหยุดหายใจชั่วคราว และหยุดหายใจอยู่เรื่อยๆ ในขณะนอนหลับ

    สาเหตุอาจเกิดการมีสิ่งของอะไรเข้าปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือทำให้หายใจได้ไม่เป็นปกติ เด็กอาจจะมีต่อมอะดีนอยส์และต่อมทอนซิลโต ไม่สบายบ่อยๆ เป็นภูมิแพ้ มีภาวะคางสั้น เพดานปากแหว่ง หรือระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และเด็กที่เป็นโรคอัมพาตทางสมอง และดาวน์ซินโดรม มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหานี้มากกว่าเด็กทั่วไป ในระหว่างหลับ เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะกรนเสียงดัง หายใจหอบ หรือไอ นอกจานี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หรือทิ้งช่วงในการหายใจนาน เด็กอาจดูเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีเหงื่อออกมากผิดปกติ เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมักจะตื่นกลางดึกบ่อยๆ และดูเหมือนนอนไม่พอในช่วงกลางวัน

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษา ก็อาจนำไปสู่ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด และมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องพูดคุยกับหมอ ถ้าทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยส์คือตัวการของปัญหา หมอก็อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด หมออาจแนะนำให้ทำการตรวจสอบการนอนหลับที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยให้วินิจฉัยโรคและเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ต้องกังวลในเรื่องใด

    ในสัปดาห์ที่ 41 นี้ ลูกจะมีนิสัยบางอย่าง รวมทั้งการเอาหัวโขกกับสิ่งต่างๆ โยกตัว และกลิ้งตัว ดูเหมือนว่าลูกน้อยจะค้นพบจังหวะของตัวเอง ไม่สามารถบังคับให้เด็กเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ถ้ายังไม่พร้อม แต่เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยให้ทั้งและลูกอยู่กับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ แล้วในที่สุดก็จะเลิกไปเอง

    • นอนกอดลูกให้มากเป็นพิเศษ และโยกตัวไปมา
    • หากิจกรรมเข้าจังหวะที่เหมาะกับเด็ก อย่างเช่น การเล่นโยกตัวกับลูกน้อยบนเก้าอี้โยก หรือสาธิตให้เห็นว่าจะโยกเก้าอี้โยกของเด็กด้วยตัวเองยังไง ให้เล่นเครื่องดนตรีที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้ หรือเกมส์อื่นๆ ที่เล่นกับมือและนิ้วได้
    • ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างเต็มที่ในตอนกลางวัน
    • สร้างความรู้สึกผ่อนคลายในช่วงก่อนนอนเป็นประจำ ด้วยการกอด นวดเบาๆ และการโยกตัว
    • ถ้าลูกชอบโยกตัวและเอาหัวโขกตอนอยู่บนเตียงเด็ก ก็ควรลดความอันตรายลง ด้วยการตั้งเปลนอนไว้บนพรมหนาๆ และเอาล้อเลื่อนออก เพื่อที่จะได้ไม่กระเด้งกระดอนไปทั่วห้อง ตั้งเตียงให้ห่างจากกำแพง หรือฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และถ้าถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรให้นอนนอกเตียงเด็ก ต้องตรวจสอบเตียงเด็กเป็นระยะๆ เพื่อดูว่ามีน็อตตัวไหนหลวมบ้างหรือเปล่า

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา