backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 หรือประมาณ 10 เดือน ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถนั่งได้เองแล้ว และสามารถเดินได้เล็กน้อยโดยพยายามเกาะสิ่งของรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ แต่ควรระมัดระวังสิ่งของเล็ก ๆ ที่เด็กอาจนำเข้าปากและไปติดคอได้

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ลูกน้อยในช่วงวัยนี้สามารถนั่งได้อย่างมั่นใจ และสามารถเดินได้โดยการเกาะฟอร์นิเจอร์ และอาจจะยืนแบบปล่อยมือได้บ้าง ในระยะสั้น ๆ และยืนได้ นอกจากนี้ยังอาจพยายามหอบของเล่นในระหว่างที่ยืนขึ้นด้วย

    หากลูกยังไม่เดินในช่วงนี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เด็กส่วนใหญ่จะเดินก้าวแรกประมาณอายุ 12 เดือน ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะต้องรอถึง 18 เดือน

    พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 42

  • นั่งได้เองโดยการใช้หน้าท้อง
  • ตบมือ หรือโบกมือ
  • หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของอันตรายไว้ให้ห่างจากมือเด็ก
  • เดินโดยเกาะกับฟอร์นิเจอร์
  • เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ไม่เชื่อฟังเสมอไป
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการสำลัก เช่น แครอทดิบ องุ่นทั้งลูก ควรทำผักให้สุกก่อนแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนยแข็งหรือผลไม้แห้ง ก็ควรต้องปลอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงควรโทรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีข้อกังวลใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปได้

    สิ่งที่ควรรู้

    แมลงกัดต่อย

    ควรสังเกตอาการแมลงกัดต่อยกับเด็กในช่วงวัยนี้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในวัยนี้ได้ ถึงแม้กับผู้ใหญ่จะไม่ได้มีอันตรายอะไรก็ตาม

    การกัดต่อยของแมลงนั้นเป็นอะไรที่น่ารำคาญแต่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต นอกเสียจากว่าลูกมีอาการแพ้ต่อพิษของแมลง ซึ่งในกรณีนี้ก็ควรปฎิบัติต่อลูกน้อยดังนี้

    • นำเหล็กในออกด้วยการใช้ใบมีดขูดออก ไม่ควรใช้แหนบดึงออก
    • ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด
    • บรรเทาอาการเจ็บด้วยการประคบน้ำแข็ง 15 นาที หรือใช้เบคกิ้งโซดาผสมกับน้ำ ควรปรึกษากับหมอก่อนให้ลูกน้อยกินยาแก้ปวด
    • โทรหาหมอถ้าเด็กมีอาการท้องเสีย มีไข้ อาเจียน หรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง และควรจะรีบพาไปปรึกษาแพทย์หากบริเวณรอบ ๆ รอยกัดนั้นทำท่าจะว่าจะติดเชื้อ เช่น มีอาการแดง เจ็บ หรือบวมมากขึ้น

    อาการช็อคเนื่องจากแพ้รุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความอ่อนไหวต่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้เป็นพิเศษ อาการช็อคนี้อาจทำให้เกิดความดันต่ำ คัน บวม และหายใจลำบาก อาการช็อคจากการถูกแมลงต่อยมักจะพบได้น้อย ซึ่งจะเกิดขึ้นก็เมื่อเด็กมีอาการแพ้ ซึ่งจะไม่มีทางรู้จนกว่าลูกจะถูกแมลงต่อย และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงต้องระมัดระวังเอาไว้

    ถ้าลูกมีอาการแพ้ อาจจะมีอาการดังนี้

    • มีปัญหาในการหายใจ หรือหายใจมีเสียงดัง
    • เวียนหัว ปวดท้อง อาเจียน
    • หน้าแดง
    • มีผื่นขึ้น
    • มีอาการบวมที่ลิ้น มือ และหน้า
    • ลูกอาจจะอยู่ในอาการช็อค ถ้าดูเหมือนงง ๆ และง่วงนอน

    ถ้าลูกน้อยมีอาการแพ้เกิดขึ้น ก็ควรโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน วางให้นอนราบลง ปลอบโยน และใช้ผ้าห่มคลุมตัวเอาไว้

    วิธีป้องกันแมลงกัดต่อย

    ไม่สามารถที่จะกำจัดแมลงที่กัดและต่อยได้ทุกชนิด และแน่นอนว่าคงไม่อยากให้ลูกน้อยอยู่แต่ในบ้านอยู่ตลอดเวลา หากต้องออกไปเล่นข้างนอกในที่ที่มีแมลงมาก อาจใช้สเปรย์ไล่แมลงสำหรับเด็ก และให้ลูกน้อยสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงสีขาวหรือสีอ่อน ๆ ซึ่งจะดึงดูดแมลงได้น้อยลง และทำให้ง่ายต่อการมองเห็นแมลง ควรระมัดระวังเวลาไปกินอะไรนอกบ้านด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีแมลงเยอะ ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอม อย่างเช่นครีมหรือสบู่

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    การม้วนผมและดึงผม

    อาจจะมีข้อกังวลหลายอย่างใน พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 รวมทั้งการม้วนผมและดึงผมของลูกน้อยด้วย

    การลูบผมหรือการดึงผมนั้นเป็นผลพวงมาจาก 2 สาเหตุต่อไปนี้ หนึ่งคือพยายามจะสร้างความรู้สึกผ่อนคลายที่เคยได้รับ เมื่อครั้งที่ยังเป็นทารกน้อยและได้รับการป้อนนมอยู่ เมื่อได้ลูบไล้เต้านมหรือแก้มของแม่ หรือดึงผมของตัวเอง สองต้องการความรู้สึกผ่อนคลายเมื่อมีความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เหนื่อยมาก ๆ หรืออารมณ์ไม่ดี

    การม้วนผม ลูบผม หรือดึงผมเป็นครั้งคราวนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เด็กบางคนก็ยังติดนิสัย การม้วนผม ดึงผมเป็นครั้งคราวไม่ส่งผลกระทบถึงความเจ็บป่วย แต่การทึ้งผมอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นผมหลุดร่วงนั้น เป็นสิ่งที่ต้องยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้น แน่นอนว่าควรจะทำให้หยุด เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยได้

    • ให้ความสนใจลูกน้อยและสร้างความผ่อนคลายให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่รู้สึกเครียด
    • ตัดผมให้สั้น เพื่อที่จะได้หยิบจับเส้นผมไม่ถนัด
    • ใช้อย่างอื่นเพื่อดึงดูดความสนใจ และให้หันเหไปสนใจอย่างอื่นแทน

    ถ้าปฎิบัติตามวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ก็ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา