backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 หรือประมาณ 11 ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการสอนให้ลูกช่วยเหลือหรือทำงานเล็ก ๆ บางอย่าง เช่น ช่วยหยิบของ ช่วยเก็บของ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งที่ใช้คำรุนแรง แต่ควรใช้เป็นวิธีการขอร้อง เพื่อให้เด็กรู้สึกดีและอยากทำตามมากกว่า

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 47

  • หยิบจับสิ่งของเล็ก  ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น  ๆ ได้ จึงควรเก็บข้าวของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก
  • สามารถยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ
  • พูดคำว่า “มาม๊า” โดยรู้ความหมาย
  • พูดคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” ได้

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

เนื่องจากตอนนี้ลูกน้อยเริ่มรับรู้สิ่งรอบตัวได้แล้ว จึงเป็นช่วงที่เหมาะจะเริ่มสอนลูกให้ช่วยทำโน่นทำนี่ และควรย้ำคำว่า “ได้โปรด” และ “ขอบ” แม่อาจหาวิธีเปลี่ยนการทำความสะอาดธรรมดาให้กลายเป็นเกมส์แสนสนุก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะยังไม่เข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็ไม่ถือว่าเร็วเกินไปที่จะเริ่มสอนลูก แม่อาจเริ่มจาก การแบ่งภารกิจออกเป็นงานเล็ก  ๆ ซึ่งแม่ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดขณะที่ลูกทำความสะอาด

อาจสอนให้ลูกรู้จักสิ่งของแต่ละชนิดว่าอะไรคืออะไรไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น หมั่นพูดคุยกับลูกพร้อมบอกว่าอะไรเป็นอะไร เช่น ในขณะขึ้นบันได ก็ชวนลูกนับว่าบันไดมีกี่ขั้น บอกสีและชื่อของผลไม้และพืชผักในซุปเปอร์มาร์เก็ต อ่านหนังสือภาพให้ลูกฟัง แล้วให้ลูกชี้รูปสิ่งของที่มีความคุ้นเคย ให้ลูกน้อยได้ออกความเห็นบ้าง เช่น วันนี้อยากใส่ถุงเท้าสีอะไร

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณหมอส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้มในระหว่างที่ไปพบหมอ เด็กที่กลัวคนแปลกหน้าอาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความกังวลใด  ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้ ควรใช้วิธีโทรปรึกษาหมอแทน

สิ่งที่ควรรู้

การอมนิ้วหัวแม่มือ

การอมนิ้วหัวแม่มือเป็นกลไกตามธรรมชาติที่เด็กใช้ปลอบโยนตัวเอง ซึ่งติดตัวลูกน้อยมาตั้งแต่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอะไร ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่า การอมนิ้วหัวแม่มือในเด็กนั้นไม่เป็นอันตราย บางคนยังบอกด้วยซ้ำไปว่า เด็กสามารถอมนิ้วหัวแม่มือได้จนถึงอายุ 2 ขวบ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของฟัน หรือในเด็กบางรายก็อาจอมนิ้วหัวแม่มือหรือดูดนิ้วจนถึงอายุ 4-5 ขวบ เมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นมาให้เห็นแล้ว

จุกนมปลอม

จุกนมปลอมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เด็กใช้ปลอบโยนตัวเอง แต่จุกนมปลอมนั้นมักไม่ค่อยมีความจำเป็นอะไร ลูกอาจเรียนรู้ว่าจะต้องพึ่งหากลูกทำจุกนมปลอมหล่นหาย เด็กส่วนมากจะเลิกดูดจุกนมปลอมก่อนที่มันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพฟัน เด็กบางคนอาจชอบอมนิ้วหัวแม่มือมากกว่า ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมให้ลูกอมนิ้วหัวแม่มือ

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ต้องกังวลในเรื่องใด

พัฒนาการในช่วงสัปดาห์ 47 อาจมีข้อกังวลมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการเปลือยกายของพ่อแม่

ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าการเปลือยกายของพ่อแม่ จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อย จนกว่าจะถึงวัยก่อนเข้าเรียน แน่นอนว่าเด็กในวัยไม่ถึงขวบนั้น ยังเด็กเกินไปที่จะถูกกระตุ้น เมื่อเห็นพ่อแม่ไม่ใส่เสื้อผ้า นอกจากนี้ ลูกก็ยังเด็กเกินกว่าจะจดจำได้ว่าเคยเห็นอะไรบ้าง แต่ถ้าลูกน้อยมีอายุตั้งแต่ 3-4 ขวบเป็นต้นไป ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็เชื่อว่าคงไม่ใช่เรื่องดี ที่เด็กจะเห็นพ่อหรือแม่ ที่มีเพศตรงข้ามไม่สวมใส่เสื้อผ้าทั้งตัว

หากลูกน้อยมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เห็น และอยากจะสัมผัสขนบริเวณอวัยวะเพศ หรือดึงหัวนม สามารถหยุดลูกได้ทันทีหากสิ่งนั้นทำให้รำคาญใจ แต่อย่าแสดงออกจนเกินความพอดี ความสนใจของลับในร่างกายนั้น ไม่ได้แตกต่างจากความสนใจในส่วนอื่น  ๆ ของร่างกาย เช่น จมูก หู ถึงแม้ว่าเด็กจะดูสนใจกับอวัยวะเพศมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ถูกปกปิดไว้ตลอด “นั่นคือของแม่” เป็นการโต้ตอบที่จะช่วยให้ลูกเริ่มเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับของสงวนในร่างกาย และจะช่วยให้ลูกปกปิดส่วนสงวนของตนเองในภายหลัง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Baby Development: Your 11-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-11-month-old#:~:text=At%2011%20months%2C%20your%20baby,toes%20or%20on%20one%20leg.. Accessed June 10, 2022.

11-12 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/11-12-months. Accessed June 10, 2022.

10-11 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/10-11-months. Accessed June 10, 2022.

Your baby’s growth and development – 11 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-11-months-old. Accessed June 10, 2022.

Infant development: Milestones from 10 to 12 months. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-development/art-20047380. Accessed June 10, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาการและการรักษา

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก็สำคัญสำหรับเด็ก ๆ เหมือนกันนะ!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 14/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา