backup og meta

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นหมายถึงการที่คุณแม่คลอดลูกในช่วงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ โดยอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะ และการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อให้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงป้องกัน ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ทารก คลอดก่อนกำหนด บางปัจจัย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจสามารถทำการหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ คลอดก่อนกำหนด เช่น ลดระดับความเครียด การหยุดสูบบุหรี่ และการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ แต่สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพต่าง ๆ อาจค่อนข้างหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น

  • การติดเชื้อบางชนิด บริเวณช่องคลอด
  • ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • อุบัติเหตุ
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยอาจมาจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรมส่วนตัว ก่อนการตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ยังสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการมองเห็น การรับรู้การเข้าใจ ปัญหาการได้ยิน คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอทั้งช่วงการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด เหล่านี้

ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรสังเกต

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เผชิญกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพที่จำเป็นต้อง คลอดก่อนกำหนด ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบบางอย่างกับลูกน้อยทั้งในระดับต่ำ จนถึงขั้นรุนแรง ได้ดังนี้

ลักษณะของทารก คลอดก่อนกำหนด ที่พบเจอได้บ่อย

  • ร่างกายเล็กกว่าปกติ ตามอายุครรภ์ที่ คลอดก่อนกำหนด
  • ผิวหนังบางใส จนมองเห็นเส้นเลือด
  • มีเส้นผม หรือขนเล็กน้อย
  • ศีรษะใหญ่กว่าร่างกายในทารกบางราย
  • อาจผอมซูบ ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากยังไม่มีไขมันสะสมในร่างกายมากนัก
  • น้ำหนัก ความยาวของลำตัว และเส้นรอบวงรอบศีรษะ ต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับทารกทั่วไป

อาการในทารกคลอดก่อนกำหนดที่ควรระวัง

  • ทารกมีปัญหาเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากยังอาจมีโครงสร้างของวัยวะภายในที่ยังไม่สมบูรณ์
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนแรง
  • มีไข้
  • ซึม ไม่ร้อง ปลุกตื่นยาก
  • รับนมหรือย่อยนมไม่ได้
  • ตัวเหลือง

นอกจากนี้ทารกที่ คลอดก่อนกำหนด อาจมีโรคแทรกซ้อนอย่างโรคโลหิตจาง โรคดีซ่าน ปัญหาระบบทางเดินอาหาร และการติดเชื้อร่วมด้วยได้ เพื่อความปลอดภัยคุณอาจต้องให้ทารกอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสักระยะหนึ่ง จนกว่าจะได้รับการอนุญาตให้พาลูกน้อยกลับไปดูแลที่บ้านได้

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ก่อนพาลูกรักกลับมาดูแลที่บ้าน

คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทุกคนควรศึกษาเกี่ยวกับการดูแลและข้อควรปฏิบัติบางอย่าง ในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับทารก

  • เรียนรู้ข้อมูล และจดบันทึกข้อควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ พร้อมทำการนัดหมายล่วงหน้าในการพาลูกเข้าตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • ติดตั้งเบาะนิรภัยในรถยนต์ส่วนตัว พกเครื่องตรวจภาวะหยุดหายใจ ก่อนมารับลูกที่โรงพยาบาลกลับไปดูแลที่บ้าน และต้องเป็นเช่นนี้เสมอไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใด
  • เรียนรู้การทำ CPR ทารกเบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินขณะดูแลลูกรักที่บ้าน โดยสามารถขอเข้าฝึกปฏิบัติกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

ในส่วนของการให้นมแม่ ทารกที่ คลอดก่อนกำหนด บางส่วนไม่อาจกินจากเต้านมได้ เนื่องจากอาจมีปัญหาในการดูดกลืน คุณแม่จึงควรเรียนรู้ที่จะให้นมผ่านวิธีอื่น เช่น ให้นมผ่านทางสายยางไปยังท้องทารกโดยตรง ซึ่งในส่วนนี้แพทย์จะเป็นคนให้คำแนะนำ และขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการเลี้ยงลูกรักที่บ้าน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

premature birth. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premature-birth/symptoms-causes/syc-20376730. Accessed July 15, 2021

Caring for a Premature Baby: What Parents Need to Know. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/preemie/Pages/Caring-For-A-Premature-Baby.aspx. Accessed July 15, 2021

Premature baby. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/premature-baby. Accessed July 15, 2021

Taking Your Preemie Home. https://kidshealth.org/en/parents/preemie-home.html. Accessed July 15, 2021

Feeding your baby in the NICU. https://www.marchofdimes.org/baby/feeding-your-baby-in-the-nicu.aspx. Accessed July 15, 2021

Your Preemie’s Development: Birth to Age 2. https://www.webmd.com/parenting/baby/preemie-development-birth-age-2#1. Accessed July 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

ไขข้อสงสัย พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา