backup og meta

ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่คุณต้องเฝ้าระวัง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่คุณต้องเฝ้าระวัง

    ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดบางคน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในหลายด้านเมื่อเติบโตขึ้น เพื่อให้คุณสามารถรับมือและเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินในทารกมากขึ้น ลองอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

    การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดจริงประมาณ 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อีกนัยหนึ่งการคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว

    ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด คืออะไร

    ปัญหาการได้ยิน เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด ส่วนในทารกที่คลอดก่อนกำหนดแน่นอนว่าอวัยวะอาจยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์จากในครรภ์จึงอาจส่งผลทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินได้ ในบางกรณีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจสูญเสียการได้ยินในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับการคลอดก่อนกำหนดด้วย

    เด็กที่สูญเสียการได้ยินและไม่ได้รับการรักษาหรือทำการรักษาล่าช้า อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษา การพูด และการสื่อสารกับผู้อื่นเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อการเข้าสังคมในอนาคตได้

    ตรวจการได้ยินในทารก

    ทารกทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับการทดสอบการได้ยินหลังจากอายุได้ 34 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะวินิจฉัยว่าทารกสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว โดยจะใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์พิเศษวางบนศีรษะของทารก และดูการตอบสนองจากเส้นประสาทการได้ยินของทารก หรือเรียกว่า การตอบสมองของก้านสมองอัตโนมัติ (Automated Auditory Brainstem Response : AABR)

    เพื่อตรวจสอบการได้ยินของทารกคุณอาจสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นได้

    ช่วง 4-10 สัปดาห์

    ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน

    • กระตุกหรือกระพริบตา
    • เสียงจะรบกวนการนอนหลับของทารก
    • หยุดกินนมเมื่อได้ยินเสียง
    • มองไปตามเสียง
    • ร้องไห้

    ช่วง 3-4 เดือน

    ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน

    • กระพริบตาหรือร้องไห้
    • หยุดร้องไห้เมื่อได้ยินเสียง
    • เสียงรบกวนการนอน
    • ยิ้มเวลาพูด
    • อาจแสดงอาการชอบเสียงดนตรี
    • หยุดเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินเสียง

    ช่วง 5-7 เดือน

    ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน

  • หันไปทางเสียงคนพูด
  • ร้องไห้
  • แสดงอาการชื่นชอบเพลง
  • พูดพล่าม หรือเลียนแบบการพูด
  • ช่วง 9-12 เดือน

    ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน

    • ตอบสนองเมื่อมีคนเรียกชื่อ
    • เข้าใจคำบางคำ
    • ฟังเมื่อมีคนพูด
    • ชอบเลียนแบบเสียง พูดพล่าม
    • พยายามพูดคุย

    เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างพฤติกรรมที่ทารกอาจตอบสนองต่อเสียง เพื่อเป็นการทดสอบการได้ยินในทารก หากลูกน้อยสูญเสียการได้ยิน การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะส่งผลดีต่อภาษา การเรียนรู้ และพัฒนาการทางสังคมในอานคตของเด็ก

    การรักษาปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด

    เมื่อได้รับการตรวจคัดกรองแล้วพบว่าทารกมีปัญหาทางการได้ยิน แพทย์อาจเสนอแนวทางรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังเด็ก ใช้ประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟังชนิดฝังในกระดูก

    • ประสาทหูเทียม เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นประสาทหูโดยตรง เพื่อทดแทนการทำงานของหูชั้นในที่เสียหาย แต่ไม่ได้เป็นการรักษาการสูญเสียการได้ยิน แต่เป็นตัวช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินกลับมาได้ยินเสียงผ่านอุปกรณ์
    • เครื่องช่วยฟังชนิดฝังในกระดูก เป็นการผ่าตัดโดยฝังอุปกรณ์เข้าไปในกระดูก ซึ่งเป็นการนำการสั่นสะเทือนของเสียงไปยังหูชั้นใน

    หากลูกของคุณมี ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด ควรรีบพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจและทำการรักษาในขั้นต่อไปได้อย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา