backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ของลูกน้อย

    ถ้าเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา ควรศึกษาข้อมูล  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล และสังเกตพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเติบโตสมวัย

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ตอนนี้ลูกน้อยกำลังสำรวจสิ่งของต่าง ๆ โดยการเขย่า กระแทก โยนทิ้ง และขว้างปา ก่อนจะกลับมาใช้วิธีสำรวจที่แน่นอนที่สุด นั่นก็คือการเคี้ยว ลูกน้อยอาจมีความคิดที่ว่าเขาสามารถจะทำอะไรกับข้าวของพวกนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระแทก กระทุ้ง บีบ บิด เขย่า โยนทิ้ง และเปิดดู

    พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 34

    • ส่งสิ่งของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้าหนึ่ง
    • สำรวจสิ่งต่าง ๆโดยการเขย่า ตี โยนทิ้ง และขว้างปา และเห็นสิ่งของพวกนั้นกระเด้งขึ้นมาอีก
    • ลุกขึ้นยืนโดยยึดจับคนหรืออะไรบางอย่างเอาไว้
    • ขัดขืนถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามที่แย่งของเล่นจากเขา
    • ขยับตัวออกไปเอาของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม
    • เล่นจ๊ะเอ๋
    • ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลาน

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ลูกน้อยมักรู้สึกเพลิดเพลินกับของเล่นที่มีวิธีใช้เป็นการเฉพาะ อย่างเช่น โทรศัพท์ ถ้าเขาไม่สามารถถือไว้ในระดับหูของตัวเองได้ ก็ช่วยเขาถือแล้วแกล้งพูดโทรศัพท์กับเขา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เขาจะเริ่มใช้วัตถุตามการใช้งานจริงได้ เช่น แปรงผมตัวเอง ดื่มน้ำจากถ้วย และส่งเสียงอ้อแอ้กับโทรศัพท์ของเล่น

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็โทรปรึกษาแพทย์ก่อนจะถึงเวลานัด

    สิ่งที่ควรรู้

    สารพิษ

    คุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้ว่าสสารใดที่มีพิษ และควรทำให้บ้านไม่มีอันตรายจากสารพิษด้วย และวิธีต่อไปนี้อาจช่วยได้

    • ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เคมีทุกชนิดในบ้าน
    • เก็บเครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว ยา วิตามิน และอาหารเสริม อุปกรณ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง และของใช้ในครัวเรือน โดยเก็บล็อคกุญแจให้อยู่ห่างจากเด็ก
    • ควรซื้อยาแบบมีฝาปิดที่ป้องกันเด็กเปิดได้ และควรหาเครื่องใช้ในบ้านที่มีสารพิษน้อยที่สุด
    • เก็บสารอันตรายไว้ในภาชนะเดิม เพื่อป้องกันการผสมปนเปกัน
    • เก็บของใช้ในครัวเรือนให้พ้นมือเด็ก

    สารพิษคือสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ในขณะที่การกลืนสารพิษบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องขึ้นชั่วคราว แต่การกลืนข้าวของอย่างอื่น จะทำให้ปอดหรือลำไส้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ แต่มีเพียงไม่กี่รายที่เสียชีวิต หากลูกน้อยได้รับสารพิษ ควรเริ่มปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้

    • ถ้าลูกน้อยไม่สามารถหายใจได้ ก็ควรรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และโทรหาหน่วยฉุกเฉิน
    • โทรหาหน่วยฉุกเฉินทันทีที่ลูกน้อยหมดสติ ง่วงนอนมาก มีรอยผิวไหม้ ปวดคออย่างรุนแรง หรือมีอาการชัก ถึงแม้จะไม่มีอาการดังกล่าว ก็ควรโทรติดต่อหน่วยฉุกเฉิน เพื่อขอคำแนะนำวิธีปฎิบัติกับลูกน้อยอย่างถูกต้อง
    • อย่าพยายามทำให้เด็กอาเจียน หรือให้ยาอะไร คุณควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อน
    • เวลาที่โทรไปขอคำปรึกษานั้น เจ้าหน้าที่อาจซักถาม ชื่อของสารที่ลูกน้อยกลืนเข้าไป ระยะเวลาและปริมาณที่กลืนเข้าไป อายุและน้ำหนักของลูกน้อย อาการที่เกิดขึ้น
    • ถอดเสื้อผ้าออก ล้างผิวทารกด้วยน้ำอุ่น และทำต่อไปอีกอย่างน้อย 15 นาที ถ้ามีรอยไหม้
    • อย่าใช้น้ำมันทารอยไหม้ เพราะอาจจะยิ่งทำให้มีอาการหนักกว่าเดิม
    • ถ้าสารพิษเข้าไปในดวงตาลูกน้อย ก็ควรล้างตาให้ลูกน้อย โดยเทน้ำลงบนหัวตาเป็นเวลา 15 นาที และพยายามทำให้ลูกน้อยกระพริบตา

    เด็กยังไม่คลาน

    อย่าเปรียบเทียบลูกน้อยกับเด็กคนอื่น เมื่อพูดถึงการคลาน ก็ถือเป็นทักษะเฉพาะตัว ที่ไม่สามารถใช้วัดพัฒนาการของเด็กได้ เด็กบางคนคลานตอนอายุ 6 เดือน เด็กบางคนก็จะคลานหลังจากนั้น และมีเด็กบางที่ไม่เคยคลานเลย แต่คุณพ่อ คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปตราบใดที่ยังมองเห็นพัฒนาการด้านอื่นๆ อย่างเช่น การนั่ง ซึ่งเป็นทักษะที่มาก่อนการคลาน เด็กที่ไม่คลานจะเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดในระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าจะรู้วิธียันตัวลุกขึ้นได้ เดินสำรวจ โดยเริ่มจับเก้าอี้เดินเรื่อยไปถึงโซฟา และลงเอยด้วยการเดิน มีเด็กหลายคนที่ไม่เคยคลาน แต่เดินได้เร็วกว่าเด็กที่ชอบคลานทั้งหลาย ที่ต้องคลานสี่ขากันอยู่หลายเดือนเลย

    แม้ในกลุ่มเด็กที่ชอบคลานก็ยังมีสไตล์การคลานที่แตกต่างกันไปอีก ใช้ท้องดันหรือคลายเป็นจังหวะ เด็กหลายคนก็สามารถคลานไปข้างหลังหรือทางด้านข้างได้ เด็กบางคนก็คลานด้วยเข่าข้างเดียว บางคนก็ใช้ก้นกระเถิบเอา และบางคนก็คลานสี่ขา นี่เป็นพัฒนาการในช่วงก่อนที่จะเดิน

    วิธีการที่เด็กเลือกในการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งนั้น มีความสำคัญน้อยกว่าการพยายามที่จะเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง เด็กบางคนไม่คลานเพราะไม่มีโอกาสจะได้คลาน เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในเปล รถเข็นเด็ก เป้อุ้มเด็ก และสนามเด็กเล่น จะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการยกตัวด้วยมือและขาของตัวเอง ฉะนั้นอย่าลืมให้ลูกน้อยได้คลานเล่นอยู่บนพื้นบ้าง และอย่ากังวลกับสิ่งสกปรก เพียงแต่คอยกวาดถูหรือใช้เครื่องดูดฝุ่น เพื่อกำจัดข้าวของชิ้นเล็ก ๆ ที่อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยออกไปก่อน ในการกระตุ้นให้เขาเคลื่อนที่ไปข้างหน้านั้น อาจลองวางของเล่นที่เขาชอบหรือข้าวของที่ดูน่าสนใจ หรือให้เขาเห็นในระยะใกล้ๆ

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ต้องกังวลในเรื่องใด

    คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยเกี่ยวกับการสอนลูกน้อยให้รู้ภาษามือ เด็กที่รู้ภาษามือจะสามารถสื่อสารได้ดีกว่า และเมื่อพูดได้แล้วเขาก็ยังเข้าใจภาษามืออยู่ดี หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เขาเข้าใจภาษามือ อาจเริ่มลองทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้ได้

    • เริ่มแต่เนิ่น ๆ ควรเริ่มทันทีที่เห็นลูกน้อยทำท่าทีอยากจะสื่อสาร ตอนที่เขามีอายุอย่าง 8-9 เดือน แต่ถ้าทำเร็วกว่านั้นก็ไม่เสียหายอะไร ซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะส่งสัญญานกลับมาตอนอายุระหว่าง 10-14 เดือน
    • ใช้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติ คิดค้นภาษามือที่เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย ท่าทางง่าย ๆ ที่ดูพอเหมาะพอเจาะกับคำหรือวลีจะเป็นอะไรที่เวิร์คมาก ยกตัวอย่างเช่น ทำท่ากระพือปีกเมื่อพูดถึง “นก” หรือทำท่าเกาแขนเมื่อพูดถึง “ลิง” ประกบมือพร้อมกับเอียงศีรษะเมื่อพูดถึงคำว่า “นอน” ถูท้องไปมาพูดถึงคำว่า “หิว” ทำมือให้ดูเหมือนถ้วยเมื่อพูดถึงคำว่า “ดื่ม” เอามือแตะจมูกเมื่อพูดถึง “กลิ่น”
    • ให้ลูกน้อยส่งสัญญาณที่เขาต้องการ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาและเรียนรู้ ในสิ่งที่ลูกน้อยต้องการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น หิวข้าว หิวน้ำ และเหนื่อย
    • แสดงท่าทางอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกน้อยเห็นท่าทางเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ลูกจะเข้าใจและเลียนแบบได้อย่างรวดเร็ว
    • พูดและทำท่าทางไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยเรียนรู้ทั้งท่าทางและคำพูด โดยใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน
    • ให้ทั้งครอบครัวใช้ภาษามือ ยิ่งคนในครอบครัวสื่อสารกับลูกน้อยได้มากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะยิ่งมีความสุข ควรให้เขาเรียนรู้ภาษามือที่สำคัญ ๆ ทำตามสัญญานมือที่เด็กส่งมาให้ เด็กหลายคนจะคิดภาษามือขึ้นมาเอง ซึ่งถ้าใช้สัญญานที่เขาคิดขึ้นมานั้น ก็จะมีความหมายต่อลูกน้อยมาก
    • อย่าบีบบังคับให้ส่งสัญญานมือ การส่งสัญญานมือก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ควรพัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นไปตามความพร้อมของเด็ก ประสบการณ์คือบทเรียนที่ดีที่สุด ไม่ใช่คำสั่ง หรือบังคับให้ทำ ถ้าลูกน้อยดูสับสนกับสัญญานมือ ลองเปลี่ยนเป็นท่าทางที่เข้าใจง่ายกว่านี้ แต่หากลูกยังงงหรือไม่มีพัฒนาการที่เหมาะสมด้านนี้อาจยกเลิกการสื่อสารด้วยภาษามือกับลูก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา