backup og meta

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด

หัวนมแตก หรือเจ็บหัวนม ระหว่างการให้นมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แต่มักจะหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจแก้ไขด้วยการจัดท่าทางการให้นมที่เหมาะสม แต่หากหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมมากผิดปกติ จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมา

สาเหตุที่ทำให้ หัวนมแตก

ในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมแม่นั้น ท่าทางการอมคาบหัวนมของเด็กทารก หรือการวางท่าทางการให้นมที่ไม่เหมาะสม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หัวนมแตก

ในกรณีที่หัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมไม่มากนัก ผู้เป็นแม่อาจลองจัดท่าทางในการให้นมใหม่ แต่หากลองเปลี่ยนท่าให้นมใหม่แล้ว อาการหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมยังไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำวิธีการให้นมที่ถูกต้อง และหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ผู้หญิงที่พ้นช่วงให้นมบุตรแล้ว แต่ยังมีอาการหัวนมแตก ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

การรักษา อาการหัวนมแตก  

หัวนมแตกอาจมีวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตนเอง ดังนี้

ระหว่างการให้นม

  • ปรับเปลี่ยนท่าทาง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้เป็นแม่ อุ้มทารกเข้าเต้าข้างใดข้างหนึ่งโดยให้ปากของลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนม เหงือกล่างของทารกควรห่างจากฐานของหัวนมขณะที่เด็กอ้าปาก และเมื่อเด็กอ้าปากแล้ว ควรกอดกระชับให้แน่นเข้าอก เพื่อช่วยบังคับให้หัวนมอยู่ในปากของทารกอีกทางหนึ่ง
  • หาท่าทางการให้นมในรูปแบบอื่น ๆ ลองเปลี่ยนท่าการให้นม เพื่อหาท่าที่คุณแม่และลูกรู้สึกสบายที่สุด หากอยู่ในท่าทางที่ดีแล้ว ลูกจะอมคาบหัวนมได้ง่าย และไม่ทำให้เจ็บหัวนม  หากเจ็บหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปให้นมอีกข้างที่เจ็บน้อยกว่า ทารกส่วนใหญ่จะดูดนมเต้าแรกแรงกว่า ในขณะที่เมื่อเปลี่ยนเต้าจะผ่อนอาการดูดเบาลง เนื่องจากรู้สึกหิวน้อยลง
  • บรรเทาอาการเจ็บก่อนการให้นม หากเจ็บหัวนมมาก ควรประคบเย็น เพื่อทำให้รู้สึกชา เพราะการอมคาบนมครั้งแรก มักจะทำให้เจ็บที่สุด

หลังการให้นม 

  • รับประทานยา ในกรณีที่มีอาการหัวนมแตก และอาการเจ็บหัวนมไม่หายไป ควรรับประทานทานยารักษาอาการ และยาแก้ปวด โดยควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • ทำความสะอาดหัวนมให้ดี หลังจากการให้นมทุกครั้ง ควรใช้น้ำอุ่นค่อย ๆ ล้างบริเวณหัวนม เพื่อป้องกัน อาการหัวนมแตก หากเกิดอาการหรือมีเลือดออก ควรใช้น้ำเกลือหรือน้ำสะอาดล้างหลังการให้นม ค่อย ๆ ทำความสะอาดหัวนมและเต้านม ด้วยสบู่อ่อน ๆ ไม่ผสมน้ำหอม เพื่อทำความสะอาดแผล และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ใช้ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะจุด ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทาบริเวณที่เป็นแผล โดยต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

ในกรณีที่เจ็บหัวนมมากขณะให้นม อาจหยุดให้นมระยะหนึ่งจนกระทั่งอาการดีขึ้น อาจใช้วิธีปั๊มนม และเก็บน้ำนมไว้ในตู้เย็น และให้ทารกดูดจากขวดเพื่อยับยั้งอาการเจ็บ ในกรณีที่อาการรุนแรง เจ็บจนทนไม่ไหว มีเลือดซึมหรือมีหนอง เป็นไข้ ควรรีบพบคุณหมอโดยเร็ว เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อที่หัวนมจนกลายเป็นภาวะเต้านมอักเสบได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sore or cracked nipples when breastfeeding. https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/breastfeeding-problems/sore-nipples/. Accessed February 18, 2022.

Breastfeeding: How to Care for Your Nipples. https://www.webmd.com/baby/breastfeeding-how-to-care-for-your-nipples. Accessed February 18, 2022.

Cracked or bleeding nipples. http://www.babycenter.com/0_cracked-or-bleeding-nipples_8493.bc. Accessed February 18, 2022.

Healing Tips for Nipple Cracks or Abrasions. http://kellymom.com/bf/concerns/mother/nipplehealing/. Accessed January 23, 2017.

Breastfeeding with Sore Nipples. https://www.llli.org/breastfeeding-info/breastfeeding-sore-nipples/. Accessed February 18, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/02/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา