backup og meta

การเลี้ยงลูกสองภาษา กับความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    การเลี้ยงลูกสองภาษา กับความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น

    การเลี้ยงลูกสองภาษา อาจเป็นวิธีที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูก เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่การเรียนรู้ภาษาที่ 3 ไปพร้อมกัน แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจยังมีความกังวลและอาจเข้าใจผิดในบางเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกสองภาษา ไม่ว่าจะเป็นกลัวลูกสับสน อาจทำให้ลูกพูดช้า เป็นต้น ดังนั้น การเข้าใจถึงการเลี้ยงลูกสองภาษาที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

    ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกสองภาษา

    ความเข้าใจผิดที่ 1 : อาจทำให้เกิดความสับสน

    คุณพ่อคุณแม่บางคนคิดว่าถ้าเลี้ยงลูกสองภาษาในเวลาเดียวกัน อาจทำให้ลูกสับสนและไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั้ง 2 ได้ อย่างไรก็ตาม ลูกอาจแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาต่างกันอย่างชัดเจนได้ตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่สำหรับภาษาที่คล้ายกัน เช่น ภาษาอังกฤษกับภาษาดัตช์ อาจทำให้มีปัญหาในการบอกความแตกต่างระหว่าง 2 ภาษา เนื่องจากเป็นภาษาที่คล้ายกัน แต่เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือนอาจจะแยกความแตกต่างของภาษาที่คล้ายกันได้

    ความเข้าใจผิดที่ 2 : อาจทำให้ลูกพูดได้ช้า

    การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจใช้เวลานานกว่านิดหน่อยก่อนจะเริ่มพูด เมื่อเทียบกับการเลี้ยงดูด้วยภาษาเดียว อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการพูดนั้นเป็นเรื่องชั่วคราว เนื่องจาก การเลี้ยงลูกสองภาษาไม่ได้เป็นสาเหตุให้ลูกพูดหรือรู้ภาษาได้ล่าช้ากว่าการเลี้ยงลูกด้วยภาษาเดียว

    ความเข้าใจผิดที่ 3 : อาจทำให้ลูกใช้ภาษาปนกัน

    การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจทำให้ใช้ภาษาปนกัน เนื่องจากการรู้คำศัพท์ในภาษาที่ 2 น้อยกว่าภาษาแรก อาจทำให้เด็กนำคำศัพท์จากภาษาที่ตนเองถนัดกว่ามาปนกับภาษาที่ 2 อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาปนกันเป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อลูกรู้คำศัพท์ทั้ง 2 ภาษามากขึ้นก็จะไม่พูดปนกัน นอกจากนี้ ผู้ที่เรียนสองภาษาไม่ว่าจะวัยไหนก็อาจมีการใช้ภาษาปนกัน เนื่องจาก บางครั้งผู้ที่เรียนภาษาที่ 2 อาจไม่รู้คำศัพท์บางคำศัพท์

    ความเข้าใจผิดที่ 4 : อาจช้าเกินไปที่จะเลี้ยงลูกสองภาษา

    การเลี้ยงลูกสองภาษานั้นไม่สายเกินไปที่ เนื่องจาก เวลาที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาอาจเป็นช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ และเวลาที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาที่ 2 คือ เมื่อลูกอายุระหว่าง 4-7 ปี เนื่องจาก ลูกจะสร้างระบบภาษาที่สองควบคู่ไปกับภาษาแรก และเรียนรู้ที่จะพูดทั้ง 2 ภาษาเหมือนภาษาแม่ แม้ลูกจะมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้วก็ยังสายเกินไป เนื่องจาก การเรียนรู้ภาษาตั้งแต่อายุ 7 ปีไปจนถึงช่วงวัยแรกรุ่นนั้น ภาษาใหม่ที่ได้เรียนรู้อาจได้รับการเก็บไว้ในพื้นที่อีกส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น พวกเขาจะแปลภาษา หรือใช้ภาษาแม่เพื่อเรียนรู้ภาษาใหม่

    ความเข้าใจผิดที่ 5 : ลูกอาจพูดสองภาษาโดยไม่ต้องพยายาม

    การเลี้ยงลูกสองภาษานั้นไม่สามารถสอนได้จากการนั่งดูโทรทัศน์และฟังเสียงภาษานั้นเพียงอย่างเดียว แต่การเรียนรู้ ฝึกฝน รวมถึงสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยที่อาจทำให้ลูกพูดภาษาที่ 2 ได้ การเลี้ยงลูกสองภาษาจึงไม่ใช่แค่การให้นั่งฟังหรือดูภาษาที่ 2 แต่ควรให้ลูกเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาอย่างสม่ำเสมอ

    ความเข้าใจผิดที่ 6 : ลูกไม่สามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้ หากคุณพ่อหรือคุณแม่พูดภาษาที่สองแค่คนเดียว

    การที่คุณพ่อคุณแม่พูดภาษาที่ 2 อาจช่วยให้ลูกเรียนภาษาที่ 2 ได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า การที่คุณพ่อหรือคุณแม่พูดภาษาที่ 2 เพียงคนเดียวจะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ พวกเขาสามารถเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ด้วยการฝึกใช้ภาษาอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าในครอบครัวจะมีผู้ปกครองที่ใช้ภาษาที่ 2 เพียงคนเดียว

    ความเข้าใจผิดที่ 7 : อาจเป็นปัญหาเวลาลูกไปโรงเรียน

    คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่าลูกจะอ่านหรือเขียนได้ช้าซึ่งอาจส่งผลต่อการเรียน อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจเกิดความล่าช้าในการอ่าน แต่จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจทำให้ลูกอาจมีความจำ ความเข้าใจด้านการอ่าน และการคำนวณเลขคณิตที่ดีกว่าเด็กที่เรียนภาษาเดียว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา