backup og meta

ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ทำได้อย่างไรบ้าง

ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ทำได้อย่างไรบ้าง

การฝึกให้ลูกเริ่มทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองนั้น เป็นการเสริมทักษะและพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มจากการ ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นกิจกรรมง่าย ๆ จากนั้นจึงเริ่มเปลี่ยนให้ลูกได้ทำสิ่งอื่นด้วยตัวเองต่อไป แต่การที่จะฝึกให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตัวเองนั้นอาจต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งยังอาจต้องคอยให้ความช่วยเหลือจนกว่าลูกจะทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว

4 ข้อควรรู้ในการ ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง

การฝึกให้ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองด้วยกิจวัตรประจำวันแบบง่าย ๆ นับว่าเป็นการเริ่มต้นพัฒนาทักษะอันจำเป็นต่อการเติบโตของเด็กได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังอาจมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง ดังนี้

  • เข้าใจลูก

ลุกก็เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ที่มักมีสไตล์การแต่งตัวเป็นของตัวเอง ดังนั้น ควรเลือกเสื้อผ้าให้ลูกด้วยการถามความสมัครใจ หรือความชอบในการใส่เสื้อผ้าของลูกแทนที่จะเลือกตามความชอบของคุณพ่อคุณแม่เอง โดยอาจจะถามลูกว่า ต้องการใส่เสื้อผ้าแบบไหน อยากใส่ชุดสีอะไร ให้พวกเขาได้ตัดสินใจและเลือกสไตล์ของตัวเอง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจในกับลูกอีกทางหนึ่ง

  • สร้างมาตรฐาน

การให้ลูกได้แต่งกายตามสไตล์ของตัวเองเป็นเรื่องที่ดี แต่ในบางครั้ง ลูกอาจมีความต้องการสวมเสื้อผ้าที่ผิดกฎระเบียบของโรงเรียน หรือมีการแต่งตัวที่ไม่เหมาะสมกับสถานที่ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องการอธิบายให้ลูกเข้าใจในเรื่องของกาลเทศะ หรืออาจแก้ปัญหาด้วยการแยกชุดไว้ว่า ชุดนี้สำหรับแต่งตัวไปเล่น ชุดนี้สำหรับไปโรงเรียน

  • เคารพความเป็นส่วนตัว

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้เข้าใจในสไตล์การแต่งตัวของลูก ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจว่า ลูกไม่ได้สนใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ในการแต่งตัวมากเท่ากับว่า เสื้อผ้าชุดนั้นสวมใส่สบายหรือไม่ ลูกอาจเพียงแค่ต้องการสวมใส่ชุดที่สบายและสะดวกกับการใช้ชีวิตมากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่ช่วยให้ดูดีในสายตาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

  • ปล่อยให้เป็นเรื่องของเด็ก

ในบางครั้ง ลูกอาจมีการผสมผสานเสื้อผ้าแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจดูแปลกตาและไม่ค่อยถูกใจคุณพ่อคุณแม่สักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรห้ามหรือดุด่าพวกเขา ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกเขา เพียงแค่คอยให้คำแนะนำถึงกาลเทศะว่า แต่ละชุดนั้นสามารถแต่งไปที่ไหนได้บ้าง และไม่ควรแต่งไปในสถานที่แบบใด

วิธีฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง

  • เริ่มจากกางเกงยางยืด

กางเกงยางยืดนั้นง่ายต่อการสวมใส่ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจเริ่มฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเองจากเครื่องแต่งกายชนิดนี้ เพื่อให้รู้วิธีสวมเข้าและถอดออก จนกระทั่งชำนาญแล้วจึงเปลี่ยนให้ลูกได้ลองฝึกสวมเสื้อผ้าแบบอื่น ๆ ต่อไป

  • นั่งลงเมื่อแต่งตัว

สอนให้ลูกนั่งลงเวลาแต่งตัว โดยอาจเริ่มจากการใส่กางเกง รองเท้าและถุงเท้า เพื่อให้เด็กลดความกังวลเกี่ยวกับสมดุลของการยืนในขณะที่กำลังแต่งตัว

  • สอดแขนเข้าไปที่แขนเสื้อ

สอนให้ลูกใช้แขนสอดเข้าไปในแขนเสื้อ นี่เป็นวิธีที่ง่ายและอาจช่วยทำให้ลูกมีความมั่นใจขึ้น

  • สอนให้ติดกระดุม

ฝึกให้ลูกได้ลองสวมเสื้อผ้าที่มีกระดุม โดยคอยสังเกตและให้คำแนะนำหากลูกติดกระดุมผิดเม็ดหรือมีการข้ามขั้นตอน

  • เตรียมเสื้อผ้าไว้ให้ลูก

บางครั้งลูกอาจจะสับสนกับเสื้อผ้ามากมายที่อยู่ในตู้เสื้อผ้า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมชุดที่จะให้ลูกเอาไว้ที่เตียงหรือแขวนไว้หน้าตู้เสื้อผ้า เพื่อช่วยให้ลูกสามารถหยิบมาใส่ได้สะดวกขึ้น

  • สอนลูกสวมเสื้อให้ถูกทาง

ลูกอาจยังมีความสับสนเกี่ยวกับรูปทรง ขนาด และทิศทางของเสื้อผ้า คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำแนะนำว่าส่วนนี้ คือ ด้านหน้า และส่วนนี้ คือ ด้านหลัง คอยดูให้ลูกสวมเสื้อผ้าให้ถูกต้อง

  • เริ่มจากการถอดเสื้อ

บางครั้งการถอดเสื้อผ้าอาจทำได้ง่ายกว่าการใส่เสื้อผ้า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ตรงจุดนี้ในการแนะนำลูกว่าตอนถอดทำอย่างนี้ และเวลาใส่ควรเริ่มจากตรงไหน

  • เลือกรองเท้าที่สวมใส่ได้ง่าย

การสวมรองเท้าก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ถอดและสวมได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจสวมรองเท้าไปพร้อม ๆ กับลูก และใช้โอกาสนั้นในการสอนลูกให้สวมรองเท้าด้วยตัวเอง

  • เลือกเสื้อที่ใส่ได้ง่าย

การเริ่มฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเองนั้น อาจเริ่มจากเสื้อที่สามารถสวมใส่ได้ง่าย ๆ แบบที่ยังไม่ต้องมีการติดกระดุม เมื่อลูกเริ่มมีความชำนาญแล้วจึงเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อผ้า

เทคนิคการเลือกเสื้อผ้าให้ลูก

  • จำกัดงบประมาณ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ชื่นชอบการแต่งตัวให้กับลูกนั้น งบประมาณถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะต้องมีการจำกัดงบประมาณในการซื้อไว้บ้าง เพราะโดยมากแล้วเสื้อผ้าของเด็กมักจะออกมาแตกต่างกันตามฤดูกาล อีกทั้งเด็กยังจะต้องเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจทำให้เสื้อผ้าที่ใส่ในวันนี้ไม่สามารถใส่ได้อีกเมื่อโตขึ้น ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินไปกับการซื้อเสื้อผ้าให้กับลูกมากเกินความจำเป็น

  • ทนทาน

เสื้อผ้าที่ดีสำหรับลูกควรจะต้องเป็นเสื้อผ้าที่มีความทนทาน และอาจต้องพร้อมต่อทุกสถานการณ์ เนื่องจาก ลูกมักจะต้องวิ่งเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกันเป็นประจำ การสวมเสื้อผ้าที่ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม ทั้งยังอาจช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเสื้อผ้า หรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ได้อีกด้วย

  • สวมใส่สบาย

นอกจากเสื้อผ้าของลูกจะต้องทนทานต่อการใช้งานแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือ ต้องสวมใส่สบาย เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกอึดอัดจนเกินไป และยังต้องเหมาะสมกับสภาพอากาศด้วย เช่น อากาศร้อนควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนา อากาศหนาวควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อป้องกันความหนาวเย็น

  • ขนาด

หากจะซื้อเสื้อผ้าให้กับลูก ควรคำนึงถึงขนาดตัวของลูกกับเสื้อผ้าที่ซื้อ ไม่ควรคับเกินไป หรือหลวมเกินไป เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก

การเลือกซื้อเสื้อผ้าแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็มีรายละเอียดที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย สะดวกต่อการทำกิจกรรม และยังเป็นการเสริมให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองได้อีกด้วย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Teaching your child how to get dressed. https://raisingchildren.net.au/toddlers/health-daily-care/dressing/how-to-get-dressed. Accessed December 25, 2017

How to Dress Your Kids for the Outdoors. https://www.rei.com/learn/expert-advice/how-to-dress-your-kids-for-the-outdoors.html. Accessed December 25, 2017

Effective Tips to Teach Your Child to Dress Themselves. https://parenting.firstcry.com/articles/effective-tips-to-teach-your-child-to-dress-themselves/. Accessed December 25, 2017

Toddler development: Getting dressed. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/toddler-development-getting-dressed. Accessed May 14, 2022

Developmental Milestones: Dressing Skills. https://www.choc.org/wp/wp-content/uploads/2014/11/Rehab-Developmental-dressing-skills.pdf. Accessed May 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กติดเกม ทำอย่างไร ไม่ให้กระทบสุขภาพและการใช้ชีวิต

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา